ประเทศพม่าเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่นเดียวกับเมือง เชียงตุง ในรัฐฉาน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้คนจากหลายเชื้อชาติ ประชากรในเมืองเชียงตุง ประกอบไปด้วยผู้คนจากหลากหลายชาติพันธ์ โดยกลุ่มที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่าชาวไทขืน หรือที่คนไทยเรียกกันว่าชาวไทเขิน ไทเป็นชาติพันธ์ชาวไต หรือว่าชาวไทกลุ่มหนึ่งซึ่งตั้งรกรากอยู่ที่ริมแม่น้ำขืนในเมืองเชียงตุง โดยคำว่า “ขืน” มีความหมายเดียวกันกับคำว่า “ฝืน” เนื่องจากแม่น้ำแห่งนี้ไหลจากทิศใต้ไปทิศเหนือ แตกต่างจากแม่น้ำส่วนใหญ่ที่ไหลจากเหนือลงใต้ ส่วนสาเหตุที่ชาวไทยเรียกชาวไทขืน ว่า ชาวไทเขินนั้น เชื่อว่าน่าจะมาจากคำว่าเครื่องเขิน ซึ่งเป็นภาชนะประเภทสานที่เป็นของขึ้นชื่อของชาวไทขืนในเมืองเชียงตุง นอกจากชาวไทขืนแล้ว ชาวไทใหญ่ และชาวพม่า ก็เป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่มีจำนวนรองลงมา โดยชาวไทใหญ่ก็เป็นกลุ่มชาติพันธ์ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในประเทศพม่า ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐฉาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองเชียงตุงแห่งนี้
นอกจากกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้ว
เชียงตุงยังมีกลุ่มชาติพันธ์อื่นๆอาศัยอยู่กระจัดกระจายอีกมากมาย อาทิเช่น
ชาวอาข่า ชาวปะด่อง ชาวว้า ชาวลาหู่ ชาวลีซอ และชาวลั๊ว
อย่างไรก็ตามการเข้าถึงข้อมูลของทางการ
เกี่ยวกับจำนวนประชากรที่ชัดเจนในเมืองเชียงตุงคงเป็นไปด้วยความยากลำบาก
เนื่องจากปัญหาการจัดทำสัมโนประชากรในประเทศพม่า
นคร เชียงตุง เป็นเมืองที่มีประวัติมาอย่างยาวนาน
แต่ก่อนเคยเป็นเมืองลูกหลวงของเมืองเชียงใหม่ในสมัยพญามังราย
สลับกับเป็นเมืองประเทศราชของพม่า จนสุดท้ายตกเป็นของพม่าอย่างเสร็จสรรพ
ภายหลังพม่าประกาศเอกราชจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
และได้ยกเลิกระบอบเจ้าฟ้าปกครองนครเชียงตุง ไป
ทุกวันนี้ร่องรอยของ เจ้าฟ้านครเชียงตุง จึงมีเพียงสุสานเล็กๆในนครเชียงตุงเท่านั้น
นครเชียงตุง เป็นจังหวัดหนึ่งของพม่า ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำสาระวิน
ใช้เวลาเดินทางจาก อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายของประเทศไทยไปประมาณ 3-4 ชั่วโมง
ซึ่งระยะเวลาที่ดูเหมือนจะนานเกินจริงนี้
น่าจะเป็นผลมาจากถนนที่ใช้ในการสัญจรที่ยังไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่นัก
หลังจากที่ขึ้นเขาลงเขามาระยะหนึ่ง ในที่สุดเราก็มาถึงยังนครเชียงตุง
พงศาวดารเล่าว่า พ.ศ. 1772 พญามังรายได้เสด็จมาถึงยัง นครเชียงตุง
และทรงพอพระทัยภูมิประเทศของนคแห่งนี้ จึงได้ส่งทหารไปตี เมืองเชียงตุง จนสำเร็จ
และได้มอบหมายพระราชโอรสองค์ไปปกครอง เชียงตุงจึงในฐานะลูกช้างหางเมือง
หรือเมืองลูกหลวงของอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้น สลับกับเป็นเมืองประเทศราชพม่า
สุสานเจ้าฟ้าเชียงตุง ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพญามังราย
และปกครอง เมืองเชียงตุง แห่งนี้ก่อนที่เชียงตุงจะตกเป็นส่วนหนึ่งของพม่า
ด้านในของสุสานเจ้าฟ้า หรือที่เรียกว่า กู่เจ้าฟ้า
ประกอบไปด้วยกู่ที่บรรจุอัฐิของเจ้าฟ้าตั้งแต่องค์ที่ 41-48
โดยกู่ที่ใหญ่ที่สุดสร้างขึ้นโดยชาวอินเดียบรรจุอัฐิของ เจ้าฟ้าก้อนแก้ว อินแถลง
เจ้าฟ้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของนครเชียงตุง
ผู้ปกป้องไม่ให้เชียงตุงตกเป็นอาณานิคมของจักรวัติอังกฤษ
แต่เมื่อพระองค์สิ้นพระชน
นครเชียงตุง ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะตกเป็นอาณานิคม
จนกระทั่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไทยภายใต้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ก็ได้ส่งทหารเข้ายึด นครเชียงตุง และ เมืองพาน จากอังกฤษด้วยความร่วมมือของญี่ปุ่น
ก่อนจะประกาศให้พื้นที่ทั้งหมดเป็นสหรัฐไทยเดิม มีพลตรีผิน ชุณหะวัณ
เป็นข้าหลวงใหญ่ประจำสหรัฐไทยเดิม
และได้ทูลเชิญเจ้าฟ้าเชียงตุงกลับมาเป็นมิ่งขวัญของชาว เชียงตุง ต่อไป
แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง รัฐบาลไทยก็ต้องส่งมอบ
นครเชียงตุง ให้กับสหประชาชาติ อังกฤษกับมามีอิทธิพลเหนือนครเชียงตุง ภายใต้การปกครองของเจ้าฟ้าชายโลม
ก่อนที่กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในพม่าจะรวมตัวกันต่อต้านการปกครองของอังกฤษ
ด้วยการลงนามในสัญญาปางหลวง หรือ สัญญาปางโหลง ซึ่งระบุว่า
หากต่อต้านอังกฤษสำเร็จกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆจะอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าเป็นเวลา 10
ปี
จากนั้นจะให้ผู้นำชนเผ่าต่างๆเป็นผู้ปกครองรัฐของตนเอง
แต่สิ่งนี้ก็ไม่เกิดขึ้นซ้ำรายพม่ายังได้ทำลายหอเจ้าฟ้าทิ้ง
และสร้างโรงแรมทับที่หอเจ้าฟ้าเดิม
โดยปรกติ สุสานเจ้าฟ้า หรือ กู่เจ้าฟ้า จะลงกลอนปิดเอาไว้ และคนทีถือกุญแจก็มีแต่เพียงทายาทเจ้าฟ้านครเชียงตุง เพียงคนเดียวเท่านั้น
แต่ว่า เจ้าอูเมืองบุตรของเจ้าฟ้าชายโลม ทายาทเจ้าเชียงตุงทียังเหลืออยู่ กล่าวว่า
เขาจะมานั่งคอยที่สุสานแห่งนี้ทุกวันเพื่อดูแลความเรียบร้อย และก็รอให้คนไทยมาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่เคยรุ่งเรืองของนครเชียงตุง
ตลาดถือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับชุมชนทุกแห่งในโลก ที่นครเชียงตุงแห่งนี้ก็เช่นเดียวกัน
แม้ว่าจะมีร้านเล็กๆตั้งอยู่เรียงรายทั่วไปในเมือง แต่ตลาดที่ขึ้นชื่อที่สุด คือ
ตลาดเมืองใหญ่ หรือที่นิยมเรียกกันว่า ตลาด “กลาง” นครเชียงตุง ตลาดแห่งนี้เป็นตลาดเช้าเปิดจนถึงเวลา 9 โมงเช้าก่อนที่ตลาดจะเริ่มวาย
และก็ด้วยศูนย์กลางของนครเชียงตุงไม่ใหญ่นัก
ผู้คนก็เลยสามารถเดินเท้าจากใจกลางตัวเมืองมาถึงตลาดนี้โดยใช้เวลาไม่นานนัก
ถ้าอยู่ไกลหน่อยผู้คนที่นี่นิยมใช้จักรยานยนต์ หรือ
นั่งรถสี่ล้อที่ดูคล้ายรถสองแถวขนาดเล็กมายังตลาดแห่งนี้
สินค้าที่ซื้อขายกันอยู่ภายในก็มีมากมายหลายชนิด แต่ว่าสิ่งที่เห็นคล้ายกันมากที่สุด นอกจากจะเป็นดอกไม้ที่คนขายมักเป็นหญิงสาวแล้ว ก็คือ ชา ที่มีให้เลือกซื้อกันหลายชนิด แม้ว่าบางชนิดจะไม่ได้ปลูกที่นคร เชียงตุง แต่ว่าทั้งหมดนี้ก็ปลูกที่รัฐฉานทั้งหมด รวมถึงยาสูบก็ปลูกที่รัฐฉานเหมือนกัน ชาที่นี่หอมมากแถมขายในราคาที่ไม่แพงเลย นอกจากนี้ยังมีข้าวโพดหน้าตาแปลกๆ คนที่นี่เรียกว่า ข้าวโพดสี่แถว เหตุที่เรียกว่า ข้าวโพดสี่แถว เพราะว่า ในฝักข้าวโพดมีเมล็ดเรียงกันอยู่สี่แถวนั่นเอง แม่ค้าที่นี่บอกว่า 6 แถว 8 แถวก็มี มาที่ตลาดแห่งนี้ไม่ต้องกลัวว่าจะสื่อสารกับคนขาไม่รู้เรื่อง เพราะว่า พ่อค้า แม่ค้าที่นี่เขาพูดภาษาไทยกันได้ และสามารถใช้เงินไทยซื้อขายสินค้าได้
วัฒนธรรมของชาวไทใหญ่ อาจจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับคนไทยหลายประการ
ไม่ว่าจะเป็นภาษา อาหารการกิน หรือ ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ แต่สำหรับเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายชาวไทใหญ่
กับมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นแบบแผนของตนเองอย่างเด่นชัด สำหรับผู้ชายเครื่องแต่งกายที่เป็นมาตรฐานสำหรับชาวไทยใหญ่ทุกคน
ก็คือกางเกงป้ายตัวหลวงขาบานกว้างที่เรียกว่า ก๋นไต ซึ่งมักใส่กับเสื้อแขนยาคอจีนผ่าหน้า
ประดับด้วยกระดุมไม้ หรือ พลอยสำหรับผู้มีฐานะ นอกจากนี้คนชั้นสูง หรือ ผู้มีการศึกษาชาวไทยใหญ่ยังมักนิยมแขวนนาฬิกาโยงด้วยสร้อยเงินหรือ
ทองคำอีกด้วย แต่สำหรับผ้าโพกผม หรือ ผ้าเคียนหัว ที่ชาวไทยมักคุ้นตาในภาพยนตร์ และละครต่างๆ
นั้น ในความเป็นจริงแล้ว เป็นเครื่องประดับสำหรับผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป และมักโพกในโอกาสสำคัญๆ เท่านั้น
สำหรับผู้หญิงมักนุ่งผ้าซิ่นยาวกองเท้า ปายทางแล้วคาดเข็มขัดทับ สวมเสื้อปิ๊กจ่า หรือเสื้อแขนกระบอกตัวสั้นพอดีตัว ปลายทางติดกระดุม แต่ที่พิเศษก็คือ ทรงผมของชาไทยใหญ่ที่มีถึง 6 ทรงหลักๆตามวัย ตั้งแต่วัยทารกถึงวัยชรา โดยทรงผมเกล้ามวยสูงแล้วปล่อยชายผมมาด้านข้าง หรือ มวยเกล้าป๊าด ซึ่งพบเห็นได้บ่อยๆในละครโทรทัศน์ ที่จริงเป็นทรงผมหญิงที่แต่งงานแล้วเท่านั้น
แต่หากใครได้มีโอกาสไปเยือนเมือง เชียงตุง หนึ่งในนครที่รุ่งเรืองของชาวไทใหญ่
ก็อาจจะแปลกใจที่ไม่พบการแต่งกายเช่นที่ว่านี้เลย ชาวเชียงตุงส่วนใหญ่ในปัจจุบันแต่งกายตามสมัยนิยม
เหลือแต่ผู้สูงอายุที่ยังคงใส่ผ้าซิ่นอยู่บ้าง
แต่ก็สวมเสื้อสมัยใหม่แทนเสื้อปิ๊กจ่าแบบสมัยดั้งเดิม
เนื่องจากชาวไทใหญ่ก็เหมือนชาวไทยในปัจจุบัน ที่แทบจะไม่ได้สวมใส่เครื่องแต่กายพื้นเมืองนอกจากในโอกาสสำคัญๆ
เช่นงานแต่งงาน หรือ พิธีทำบุญตามเทศกาลต่างๆ จนเครื่องแต่งกายทีงดงามตาแบบไทใหญ่โบราณ
กลายเป็นวัฒนธรรมที่เหลือให้ชมได้ แต่ในพิพิธพันธ์ในอีกไม่นาน
:: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด ::เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512)
แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th
แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th
คลิ๊กดูแผนที่บจ.ไอเชียงราย เช่ารถตู้เชียงราย
No comments:
Post a Comment