Sunday, August 31, 2014

ประตูสู่อินโดจีน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย



อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

หลายท่านอาจจะคิดถึงอยู่สองอย่างคือ อย่างแรกนึกถึงปลาบึก อย่างที่สองนึกถึงด่านผ่านแดนสากลไปยังห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว ถึงวันนี้วันที่น้ำโขงแห้งแล้งที่สุดในรอบ 10 ปี จนไม่สามารถล่องเรือจากห้วยทรายผ่านปากแบ่งไปยังหลวงพระบางได้ หรือแม่แต่ชาวบ้านริมแม่น้ำโขงทั้งของไทยและของฝั่งลาวที่เคยจับปลากันได้ เจอน้ำแห้งๆแบบนี้ก็หากินกันยากขึ้น เชียงของเลยดูแผ่วๆลงในช่วงหลังๆ แต่วันนี้มีสิ่งใหม่ไม่ใช่ปลาบึกและด่านข้ามแดน แต่เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่สี่เพื่อข้ามไปยังห้วยทราย แขวงบ่อแก้วและต่อไปยังจีนยูนาน เช่ารถตู้เชียงราย หรือ ทัวร์สิบสองปันนา เราสามารถออกจากเชียงของเช้าไปกินข้าวเที่ยวที่มณฑลยูนานประเทศจีนได้เลยครับ




คำขวัญประจำอำเภอ "หลวงพ่อเพชรคู่เมือง ลือเลื่องปลาบึก หาดไคร้ แหล่งผ้าทอน้ำไหล ประตูใหม่อินโดจีน"

ประวัติความเป็นมา

อำเภอเชียงของ เคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยกรุงหิรัญนครเงินยาง (เชียงแสน) เดิมชื่อ "เมืองขรราช" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "เชียงของ" ขึ้นการปกครองกับเมืองนันทบุรี (น่าน) โดยผู้ครองนครน่าน ได้แต่งตั้งให้เจ้าอริยะวงศ์เป็นเจ้าเมือง ตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๐๕ และมีผู้ครองเมืองเชียงของสืบต่อกันมา จนถึง เจ้าเมืองคนสุดท้าย คือ พระยาจิตวงษ์วรยศรังษี ในพ.ศ.๒๔๕๓ (ร.ศ.๑๒๙) และอำเภอเชียงของได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอหนึ่ง ขึ้นกับจังหวัดเชียงราย โดยแต่งตั้งพระยาจิตวงษ์วรยศรังษี เป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ใน พ.ศ.๒๔๕๗ (ขอบคุณข้อมูลจากหอประวัติเมืองเชียงราย ๗๕๐ ปี)

สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอเชียงของ
    ท่าปลาบึก บ้านหาดไคร้
    วัดหลวง
    วัดศรีดอนชัย
    วัดแก้ว
    ท่าเรือผาถ่าน
    ท่าเรือหัวเวียง
    คูเมืองเก่า
    ถนนคนเดิน
    กาดเจ้า
    กาดแลง
    น้ำตกบ้านห้วยเม็ง
    ผ้าทอไตลื้อบ้านศรีดอนชัย
    โอทอปบ้านสถาน
    จุดชมวิวห้วยทรายมาน
    บ้านกิ่วกาญจ์
    ไตลื้อบ้านห้วยเม็ง
    ไตลื้อบ้านหาดบ้าย
    ไตลื้อบ้านศรีดอนชัย
    ถนนริมโขงบ้านหาดไคร้ - บ้านหัวเวียง
    น้ำตกห้วยตอง บ้านทุ่งนาน้อย
    พระธาตุจอมเม็ง บ้านห้วยเม็ง
    อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำช้าง บ้านแฟน ต.สถาน
    หาดบ้านดอนมหาวัน+สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่4
    พระธาตุเขาเขียว บ้านครึ่ง ตำบลครึ่ง

การเดินทางมายังอำเภอเชียงของ จากจังหวัดเชียงราย สามารถใช้เส้นทางจากทาง
อ.เทิง-อ.ขุนตาล-อ.เชียงของ
อ.เมือง-อ.พญาเม็งราย-อ.เชียงของ
อ.เมือง-อ.เวียงเชียงรุ้ง-อ.เชียงของ
อ.เมือง-อ.แม่จัน-อ.เชียงแสน-อ.เชียงของ ( มีเพียงรถสองแถววิ่ง เส้นทางจาก อ.เมือง-อ.แม่จัน-อ.เชียงแสน-อ.เชียงของ)
หากท่านต้องการความสะดวกสบายในการเดินทางท่านสามารถ เช่ารถตู้เชียงราย หรือ ทัวร์สิบสองปันนา ทีมงานไอเชียงราย คนท้องถิ่นที่รู้จักเชียงรายมากว่า 30 ปี สุภาพบริการด้วยใจ

 :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด ::เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512)
แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th


คลิ๊กดูแผนที่บจ.ไอเชียงราย เช่ารถตู้เชียงราย














Thursday, August 28, 2014

ชาวไทลื้อ บ้านหาดบ้าย อำเภอเชียงของ



ความสุขในการออกเดินทาง คือสิ่งที่เติมเต็มให้ชีวิตมีมุมมองมากขึ้น ทั่วถิ่นแดนไทยกับทริปคนชายขอบ ประจำเดือนพฤษภาคมนี้ เราปิดท้ายกันที่หมู่บ้านเล็กๆของชาวไทยลื้อ ที่อยู่ริมแม่น้ำโขง บ้านหาดบ้าย อ.เชียงของ จ.เชียงราย ลองไปดูสายใยแห่งวิถีวัฒนธรรม ที่ส่งต่อกันมานานแสนนานผ่านหมู่บ้านแห่งนี้กันเลยครับ
เครดิต: รายการทั่วถิ่นแดนไทย thaipbs.or.th

ตามรอยสายใยวัฒนธรรมเชื่อมโยงสิบสองปันนา ประเทศจีน และ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ที่หมู่บ้านเล็กๆของชาวไทยลื้อ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ณ บ้านหาดบ้าย อ.เชียงของ จ.เชียงราย กับทีมงานไอเชียงรายด้วย ทัวร์สิบสองปันนา และ เช่ารถตู้เชียงราย ทีมงานคนเชียงรายร้อยเปอร์เซ็นต์

โดยการเดินทางเริ่มต้นจากทางหลวงหมายเลข 1 ประมาณ 36กิโลเมตร ถึงอำเภอแม่จัน เลี้ยวขวาใช้ทางหลวงหมายเลข 1016 ตรงไปประมาณ 32 กิโลเมตร จนถึงอำเภอเชียงแสนเลี้ยวขวาขับตรงไปประมาณ 40 กิโลเมตร ก็จะถึงบ้านหาดบ้าย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เชียงรายเป็นจังหวัดที่อยู่เหนือที่สุดของประเทศไทย มีความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์ บางอำเภอก็มีชาวไทยลื้อ บางอำเภอก็มีชาวอาข่า ชาวม้งซึ่งแตกต่างกันไป

บ้านหาดบ้าย นี้ถือเป็นแหล่งทำมาหากินของชาวไทยลื้อ เป็นหาดหินหาดทรายสวยงาม ชาวไทยลื้อย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศลาว ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่ที่ประเทศลาวไม่ได้ ก็เลยแยกย้ายกันมาอยู่ที่นี่ สมัยก่อนที่นี่มีกันอยู่ 30-40 หลังคาเรือน การสัญจรไปมาไม่มีรถต้องใช้เรือเป็นพาหนะ สมัยก่อนยังไม่มีเรือยนต์ใช้เรือพาย เวลาออกเรือก็ต้องมีแห ฉมวก หากินตามวิถีชีวิตของผู้คนที่อยู่ริมแม่น้ำโขง ที่บ้านหาดบ้ายนี้ส่วนใหญ่ก็จะมีชาวไทยลื้ออาศัยอยู่ ซึ่งชาวไทยลื้อจะมีความโดดเด่นทางด้านภาษา การแต่งกาย และก็อาหาร ซึ่งที่นี่เป็นเหมือนศูนย์การเรียนรู้เล็กๆที่ชาวบ้านเขาตั้งขึ้นมาเอง 

ที่บ้านหาดบ้ายนี้เป็นชุมชนของชาวไทยลื้อทั้งหมด ความเป็นอยู่ของคนที่นี่ บ้านจะสร้างด้วยไม้ทั้งหมด ส่วนเสาบ้านจะวางไว้บนก้อนหิน หรือแท่นปูน จะไม่ฝั่งลงดิน ซึ่งเป็นเป็นภูมิปัญญาของคนสมัยก่อน ส่วนห้องนอนของคนไทยลื้อจะเป็นห้องโถงใหญ่ และจะนอนรวมกันทั้งหมด ปัจจุบันอาชีพของคนไทยลื้อที่นี่ก็จะปลูกข้าวโพด ข้าว ส่วนการทอผ้าก็จะเป็นอาชีพเสริม ชาวบ้านที่นี่จะปลูกฝ้าย ย้อมและทอเองทั้งหมด การแต่งกายของชาวไทยลื้อ ผู้ชายใส่เสื้อแขนยาวกางเกงขายาวมีผ้าสะใบพาดบ่าลวดลายสวยงาม ส่วนผู้หญิงใส่ผ้าถุงเสื้อแขนยาวลวดลายสวยงาม และที่สำคัญผู้หญิงชาวไทยลื้อต้องมีผ้าโพกหัว ถ้าเป็นเด็กสาวจะใช้สีชมพู ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะใช้สีขาว ลวดลายบนเสื้อผ้าของชาวไทยลื้อมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเรียกว่า ลายจกมือ การที่เราจะเข้าใจความเป็นมาของชาติพันธุ์นั้นๆได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือ การที่เขาเก็บรักษาสิ่งของเก่าๆเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้มาศึกษาเเละเยี่ยมชม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนรุ่นก่อนของชาวไทยลื้อมีฝีมือในการทำมือมากๆ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ ผ้าซิ่น หมอน ที่นอน มุ้ง ทั้งหมดนี้ทำด้วยมือทอด้วยมือทั้งสิ้น

ห้องครัวของชาวไทยลื้อประกอบด้วย เตาไฟรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางเอาดินใส่ไว้เสมอขอบเพื่อกันไม่ให้ไฟกระเด็นออกไป มีขาตั้งหม้อที่ทำจากดินเหนียว 3 ขาเรียกว่า ก้อนเส้าสามารถเลื่อนเข้าเลื่อนออกได้ตามขนาดของหม้อที่ทำกับข้าว เตาไฟของชาวไทยลื้อก็จะมีไฟติดอยู่ตลอด สมัยก่อนพอทำกับข้าวเสร็จก็จะเอาขี้เถ้ากลบไว้ แล้วก็ออกไปทำไร่ทำนา พอกลับมาตอนเย็นก็สามารถทำกับข้าวต่อได้เลยโดยที่ไม่ต้องใช้ไม้ขีด ก็เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาชาวบ้านเราได้ศึกษา

เอกลักษณ์ที่โดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของชาวไทยลื้อนั่นก็คือ การขับลื้อเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวไทยลื้อ มีปี่เล็กๆที่ทำมาจากไม้ 2 เลา 2 ขนาดเรียกว่าปี่แม่กับปี่ลูก ผู้ชายเป็นคนเป่าส่วนผู้หญิงเป็นคนขับเป็นภาษาลื้อ นั่งล้อมวงปรบกันพอจังหวะเริ่มคึกคักก็ลุกขึ้นฟ้อนรำ สลับกันขับร้องคล้ายกับรำตัดทางภาคกลาง เป็นการเกี้ยวพาราสีของชาวไทยลื้อ คนหนุ่มสาวก็จะไปขอเรียนกับผู้เฒ่าผู้แก่เพื่อสืบทอดต่อๆกันมา นอกจากนี้ยังมีการฟ้อนไทยลื้อที่สวยงาม 



ชาวไทยลื้อเวลาที่มีงานประเพณี หรือว่า มีกิจกรรมต่างๆเขาจะร่วมแรงร่วมใจมาช่วยกันทำกันทำ อย่างก่อนงานประเพณีสงกรานต์ ชาวบ้านก็จะมาช่วยกันทำตุงเพื่อไปถวายพระ มีตุงอยู่ผืนหนึ่งที่น่าสนใจเรียกว่า ตุงล้วน ตุงขาว หรือตุงบริสุทธิ์ ซึ่งหญิงสาวชาวไทยลื้อที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป ต้องทำเองด้วยมือทุกคนเพื่อไปถวายพระ ตุงทำจากผ้าฝ้ายตกแต่งด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปใบสลี (ใบโพธิ์) ลูกเดือย และดอกไม้ตุงมีหลายรูปแบบเช่นรูปช้าง รูปม้า รูปปราสาท ตามความเชื่อที่ว่า คนไหนที่มีบาปกรรมตายไปตกนรกตุงที่เราเคยทำถวายพระก็จะช่วยเราให้พ้นจากนรกได้ ตามความเชื่อที่มีมาอย่างยาวนาน

ชาวไทยลื้อเขามีความภูมิใจ ในเรื่องของการแต่งตัวที่เป็นเอกลักษณ์ของเขามาก เพราะมีความสวยงามโดดเด่น ด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ มีตั้งแต่หมวก เสื้อผ้า กระเป๋า ผ้าซิ่น จากเคยทอไว้ใช้เองภายในครอบครัว รวมกลุ่มกันทอขายเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง และเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชาวไทยลื้อบ้านหาดบ้ายให้คงอยู่ต่อไป


ขอปิดท้ายด้วยภาพคุณยายอายุเกือบ 80 ปี ที่ยังทอผ้าจกมือได้อย่างสบาย เช่ารถตู้เชียงราย หรือ ทัวร์สิบสองปันนา คนท้องถิ่นที่รู้จักเชียงรายมาตลอด 30ปี

:: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด ::เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512)
แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

คลิ๊กดูแผนที่บจ.ไอเชียงราย เช่ารถตู้เชียงราย



















Wednesday, August 27, 2014

ตามรอยนครโบราณเชียงแสนและตำนานพระเจ้าล้านตื้อ



หากกล่าวถึงตำนาน นครเชียงแสน โบราณ หลายท่านคงนึกถึงนิทานประรำประราเรื่องปลาไหลเผือกกับหญิงม่ายผู้รอดตาย นั่นก็คือตำนานของนครโยนกนาคพันธ์บุรีที่จมหายใต้บึงน้ำใหญ่ เราเดินทางขึ้นเหนือไปที่ จังหวัดเชียงราย เพื่อตามหานครโยนกโบราณ และเกาะศักดิ์สิทธ์ในตำนานที่ถล่มจมหายภายใต้แม่น้ำโขง เช่ารถตู้เชียงรายสถานที่สำคัญแห่งแรกเมื่อเราเดินทางไปถึงก็คือ อนุสาวรีย์ห้าแยกพ่อขุนมังรายมหาราช ปฐมกษัตริย์ผู้สถาปณาอาณาจักรล้านนา ดูโดดเด่นเป็นสง่าต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคนที่ขึ้นสู่เชียงราย 
 
วัดพระแก้ว สถานที่ค้นพบพระแก้วมรกตเมื่อปีพุทธศักราช 1977 หรือเกือบ 600 ปี ปัจจุบันชาวเชียงรายได้สร้างพระแก้วมรกตจำลองจากหยกเนื้อดี เพื่อเป็นที่สักการบูชา ที่นี่ยังประดิษฐานพระเจ้าล้านทองศิลปะเชียงแสนปาระที่ร่ำลือกันว่างดงามที่สุดในอาณาจักรล้านนา และกล่าวกันว่าความงามของพระเจ้าองค์นี้ เทียบได้เพียง 1 ใน 10 ของพระเจ้าล้านตื้อในตำนาน 

  วัดพระสิงห์ ที่ซึ่งประดิษฐานพระะพุทธสิหิงค์ตำนานกล่าวว่า จำลองขึ้นจากพระพุทธสิหิงค์องค์จริงบนเกาะศักดิ์สิทธิ์กลางลำน้ำโขง ท่ามกลางหมู่พระมหาเถรโดยมีพระมหากษัตริย์และพระสังฆราชเจ้าเป็นเช้าประธาน 

พระบรมธาตุดอยตุง ตำนานกล่าวว่าคือมหาเจดีย์แห่งแรกในอาณาจักรล้านนา สร้างขึ้นราวพุทธศักราช 1454 ในรัชสมัยของพระเจ้าอชุตราชผู้ครองนครโยนกนาคพันธุ์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย หรือกระดูกไหปลาร้า ที่ทรงอันเชิญมาจากประเทศอินเดีย เหตุที่ชื่อดอยตุงเกิดจากหลุมที่ใช้เป็นจุดปักธง หรือ ตุงชัยของพระเจ้าอชุตราชในการกำหนดเขตแดนของพระมหาราช พงศาวดารบันทึกไว้ว่า 700 ปีก่อน มีเกาะศักดิ์สิทธิ์แห่งนึงอยู่กลางลำน้ำโขง เปรียบประดุจนครศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้าที่คอยเชื่อมจิตใจของสามอาณาจักรยิ่งใหญ่ นั่นคือเชียงแสนล้านนา ล้านช้างร่มขาว และนครรัฐไทใหญ่ของเจ้าฟ้า พงศาวดารได้กล่าวอ้างถึงเทพยดาเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ที่คอยปกปักรักษาพระบรมธาตุดอยตุง อีกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่อาณาจักรเชียงแสนมาแต่โบราณ ว่าท่านสามารถให้คุณ หรือ บันดาลโทษเพศภัยให้แก่บ้านเมืองก็ย่อมได้ และนี่ก็คืออีกหนึ่งสถานที่สำคัญคู่เมืองเชียงรายที่เราควรแวะไปสักการะ

ที่นี่ยังมีอีกหนึ่งสมบัติที่ล้ำค่า ถือเป็นอีกหนึ่งตำนานที่ถูกเลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ นั่นคือรูปหล่อ มเหศักดิ์เจ้ารัฐสี ผู้ปกปักรักษาดอยตุงมาแต่โบราณ จากจารึกโบราณกล่าวว่าบนดอยตุงมีเจ้ารัฐสีซึ่งเป็นคำเรียกของท่านฤาษีของชาวล้านนา มีบริวารเป็นดั่งกวางทองที่คอยอารักษ์ดอยตุง นามของท่านคือ พระฤาษีกัมมโล มีความสำคัญกับดอยตุงคล้ายฤาษีวาสุเทพ ผู้ปกปักรักษาพระบรมดอยสุเทพ ด้วยกลัวอาเพศเช่นการล่มสลายของโยนกนคร และศรีสุวรรณโคมคำ กษัตริย์เชียงแสนในยุคนั้นจึงสร้างรูปเคารพสำริดของท่านฤาษีกัมมโลเพื่อเป็นที่สักการะบูชา โดยประดิษฐานอยู่บนยอดดอยตุง ปัจจุบันรูปเคารพฤาษีกัมมโลถูกย้ายมาเก็บรักษาที่พิพิธพันธ์สถาณแห่งชาติเชียงแสน ถือเป็นรูปเคารพเจ้ารัชสี หรือฤาษีศิลปะเชียงแสนล้านนาหนึ่งเดียวที่พบในเมืองไทย

เกาะนี้เปรียบประดุจนครศักดิ์สิทธิ์กลางน้ำ ทุกพิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่ไม่ว่าจะเป็นการปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ การแต่งตั้งพระสังฆราช การอุปสมบทเหล่าพลบุตรแม้กระทั่งการส่งเสด็จจุติตายไปของเหล่ากษัตริย์ก็ต้องจัดริ้วขบวนอย่างงดงามและยิ่งใหญ่ไปประกอบพิธีกรรมบนเกาะแห่งนี้ บัลลังก์ทิพยกาศ หรือ บัลลังก์ตระการ คือนามของเกาะศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ จารึกยังกล่าวว่าเหนือเกาะยังมีพระราชวังอันงดงาม และบนเกาะยังมีวัดสำคัญประดิษฐานพระผู้เป็นเจ้าแห่งสามอาณาจักรนั่นคือวัดพระแก้ว วัดพระคำ และวัดพระเจ้าล้านตื้อ เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปสำริดทองคำที่ใหญ่ที่สุดในสุวรรณภูมิ
เปลวรัศมีสำริดทองคำ ที่งมได้จากกลางแม่น้ำโขง เชื่อกันว่าเป็นเปลวรัศมีของพระเจ้าล้านตื้อ มีลักษณะงดงามโดดเด่นด้วยศิลปะเชียงแสน และมีร่องรอยประดับอัญมณีขนาดใหญ่ จากขนาดที่ค่อนข้างใหญ่คะเนได้ว่า พระองค์นี้ต้องมีขนาดใหญ่โตมาก และน่าจะเป็นพระทองคำสำริดที่ใหญ่ที่สุดในสุวรรณภูมิ ตามคำอ้างของพงศาวดาร ปัจจุบันนี้เกาะศักดิ์สิทธิ์บัลลังก์ตระการถูกลบเลือนหายไปจากแผนที่ เหลือเพียงพงศาวดารล้านนา และคำกล่าวอ้างของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เล่าสืบต่อกันมา เปลวรัศมีสำริดที่งมขึ้นได้ถือเป็นหลักฐานชิ้นเดียว ที่ปลุกตำนานเกาะศักดิ์สิทธิ์นี้ขึ้นมา 
เชื่อกันว่าเกาะศักดิ์สิทธิ์บัลลังก์ตระการ น่าจะถล่มจมหายลงกลางแม่น้ำโขงเมื่อราว 300 ปีล่วงมาแล้ว เมื่อคราวแม่น้ำโขงเปลี่ยนทิศทางครั้งใหญ่ แต่เพราะความแปรปรวน และสีของน้ำที่ขุ่นของแม่น้ำโขง อีกทั้งตำแหน่งที่เชื่อกันว่า พระเจ้าล้านตื้อได้จมอยู่นั้นเป็นวังน้ำวนขนาดใหญ่เป็นอันตราย และเป็นอุปสรรคในการค้นหาอย่างมาก

ดาบทองทิพย์ อีกหนึ่งสมบัติศักดิ์สิทธิ์ที่เพิ่งงมพบกลางเวียงหนองล่ม เชื่อกันว่า คือดาบประจำนครโยนกนาคบุรีที่ถล่มจมหายกลางบึงน้ำใหญ่ วัดป่าหมากหน่อตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำ ณ เวียงหนองล่มชาวบ้านเชื่อกันว่า ที่นี่คือดอนแม่ม่ายในอดีดเป็นแผ่นดินส่วนเดียวที่ไม่ถล่มจมลงไปพร้อมกับโยนกนคร สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้คงสร้างขึ้นภายหลัง เพื่อเป็นอนุสรน์ถึงนครโยนกที่จมหายลงไป ที่ทางขึ้นของวิหารยังมีรูปปั้นปลาไหลเผือกที่เชื่อกันว่า คือต้นเหตุการถล่มจมหายไปของนครโบราณแห่งนี้  โยนกนครมีความเจริญรุ่งเรือง ก่อนสิ้นสุดในสมัยพระเจ้ามหาชัยชนะ ด้วยมีผู้จับปลาไหลเผือกแล้วนำเนื้อมาแบ่งกันทาน ครั้งนั้นแม่ม้ายท่านนึงไม่ยอมแตะเนื้อปลาไหลนางจึงรอดตายได้อย่างอัศจรรย์ ในขณะที่ทั้งเมืองถล่มจมหายใต้เวิ้งน้ำใหญ่ภายในเวลาเพียงชั่วคืนเดียว 
เราย้อนกลับมากันที่ซาก เมืองเชียงแสน เพื่อดูความสวยงามของเมืองเก่า ภาพของวัดวาอาราม และซากเจดีย์น้อยใหญ่ช่างดูงดงามน่าหลงใหล ชวนให้นึกถึงความยิ่งใหญ่ของนครแห่งนี้ในอดีด

วัดปูเข้า หรือ พระธาตุปูเข้า สร้างขึ้นในสมัยพระยาลาวเก้าแก้วมาเมืองกษัตริย์แห่งราชวงค์โยนกนาคพันธุ์ โบราณสถานที่สำคัญของวัดนี้ก็คือ พระมหาวิหารที่มีลวดลายปูนปั้นที่งดงาม และพระธาตุเจดีย์อีก 5 หลังที่ปัจจุบันเหลือเพียงซากประหลักหักพัง เชื่อกันว่าวัดแห่งนี้มีอายุเก่าแก่ถึงสมัยหิรัญนครเงินยาง ก่อนการสถาปนานครเชียงแสน เป็นวัดเดียวที่มีความเกี่ยวข้องกับเกาะศักดิ์สิทธิ์บัลลังก์ตระการ เชื่อกันว่าบนยอดดอยแห่งนี้ สามารถมองเห็นความยิ่งใหญ่ของเกาะบัลลังก์ตระการได้อย่างงดงาม


วัดป่าสัก มีเจดีย์ทรงปราสาทอันงดงาม ประดับลวดลายปูนปั้นที่สวยงามที่สุดในภาคเหนือ เชื่อกันว่าเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนกระดูกตาตุ่มด้านขวาที่อันเชิญมาจากเมืองปาตารีบุตรแห่งประเทศอินเดีย และเป็นวัดประจำพระสังฆราชในนครเชียงแสน

วัดเจดีย์หลวง มีเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในอาณาจักรเชียงแสน ประดิษฐานพระประธานศิลปะเชียงแสนล้านนาองค์ใหญ่

วัดพระเจ้าล้านทอง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมากถึงหนึ่งล้านทองจึงเรียกขานกันว่า พระเจ้าล้านทอง นอกจากนี้ภายในวัดยังดิษฐานพระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งชาวเชียงแสนล่ำลือถึงความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารเป็นอันมาก พระเจ้าล้านตื้อในตำนานเชื่อกันว่าจะมีขนาดที่ใหญ่และงดงามกว่าพระเจ้าล้านทององค์นี้ถึงหนึ่งล้านเท่า


วัดพระธาตุจอมกิตติ
พระธาตุเจดีย์ หรือบรมธาตุเจดีย์ มีลักษณะฐานล่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ถัดขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ย่อมุมเป็นเรือนธาตุ (ย่อมุมรองรับ) ซึ่งมีซุ้มทิศประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนปูนปั้นทั้ง 4 ด้าน ส่วนยอดเป็นองค์ระฆังกลม ตำนานการสร้างพระธาตุจอมกิตติค่อนข้างจะสับสนพอ ๆ กับตำนานเมืองเชียงแสน ศิลาจารึกวัดพระธาตุจอมกิตติได้กล่าวไว้ว่า เมื่อตอนที่พระพุทธองค์ได้เสด็จมา ณ ที่นี้ พระองค์ได้ทรงดึงพระเกศาและประดิษฐานไว้ที่พระธาตุจอมกิตติ แล้วพระองค์จึงทรงพยากรณ์ว่า แว่นแคว้นแห่งนี้จะคงสืบพระพุทธศาสนาดำรงได้ครบ 5000 ปี

วัดพระธาตุสองพี่น้อง
วัดพระธาตุสองพี่น้องที่ตั้งของวัดพระธาตุสองพี่น้อง บ้านเชียงแสนน้อย ต.เวียง อ.เชียงแสน ห่างตัวเมืองเชียงแสน 7 กม.สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจพระธาตุเจดีย์หมายเลขหนึ่ง มีเจดีย์ทรงปราสาทสององค์อยู่คู่กัน เรือนธาตุมีซุ้มจระนำสี่ด้านประดับลายปูนปั้นบนฐานปัทม์ มีชั้นมาลัยเถาแปดเหลี่ยม เจดีย์ทั้งสี่มุมด้านบนเป็นระฆังทรงกลม ได้รับแบบแผนจากเจดีย์เชียงใหม่ยัน   จ.ลำพูน ทิศตะวันออกของเจดีย์เป็นวิหารแบบล้านนา กว้าง 13 ม.ยาว 16


นครศรีสุวรรณโคมคำ เชื่อกันว่ามีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับนครโยนกนาคพันธุ์บุรีที่ถล่มจมไป ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านต้นผึ้ง สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เหลือเพียงร่องรอยซากประหลักหักพัง และแนวกำแพงเมืองคูเมืองในอดีด ทั้งยังพบพระพุทธรูปสำริด และพระพุทธรูปองค์ใหญ่มีขนาดมหึมามีอายุนับพันปี พระพุทธรูปที่ค้นพบมีลักษณะแบบเดียวกับพระเจ้าล้านตื้อ ชาวลาวเรียกกันว่า พระเจ้าองค์โมแปลว่า พระองค์ใหญ่ หรือ พระเจ้าองค์ตื้อ เมื่อไม่นานมานี้มีการงมพบพระพุทธรูปสำริดมากมายรวมถึงเศียรพระโบราณและเจดีย์จากใต้แม่น้ำโขง และได้นำมาเก็บรักษาไว้ ณ วัดดอนสวรรค์แห่งนี้ พระพุทธรูปที่พบมีขนาดย่อมศิลปะคล้ายคลึงกับเชียงแสน ส่วนเศียรพระที่พบเป็นเศียรปูนปั้นขนาดใหญ่ ดังนั้นเศียรพระที่พบจึงไม่ใช่พระเจ้าล้านตื้อในตำนานแห่งเกาะศักดิ์สิทธิ์บัลลังตระการ แต่ก็ถือว่าเป็นความน่าประทับใจที่ได้มาสักการบูชา พระพุทธรูปที่มีความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กัน



ท่านสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการตามหา มหานครโยนกโบราณ และเกาะศักดิ์สิทธิ์ในตำนานได้โดย เช่ารถตู้เชียงราย ใช้เส้นทางเชียงรายแม่จัน  พอถึงแม่จัน "ไฟแดงที่ 3 " ตรงจะไปแม่สาย  ให้เลี้ยวขวาไปตามสัญญาณไฟแดงไปเชียงแสน เชียงรายแม่จันประมาณ 30 กม..แม่จันเชียงแสนประมาณ 30 กม.  รวมระยะทา ประมาณ 60 กม.ใช้เวลา 1-1.30 ชั่วโมง

:: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด ::เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512)
แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th


คลิ๊กดูแผนที่บจ.ไอเชียงราย เช่ารถตู้เชียงราย