ความสุขในการออกเดินทาง คือสิ่งที่เติมเต็มให้ชีวิตมีมุมมองมากขึ้น
ทั่วถิ่นแดนไทยกับทริปคนชายขอบ ประจำเดือนพฤษภาคมนี้
เราปิดท้ายกันที่หมู่บ้านเล็กๆของชาวไทยลื้อ ที่อยู่ริมแม่น้ำโขง บ้านหาดบ้าย อ.เชียงของ จ.เชียงราย ลองไปดูสายใยแห่งวิถีวัฒนธรรม ที่ส่งต่อกันมานานแสนนานผ่านหมู่บ้านแห่งนี้กันเลยครับ
ตามรอยสายใยวัฒนธรรมเชื่อมโยงสิบสองปันนา ประเทศจีน และ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ที่หมู่บ้านเล็กๆของชาวไทยลื้อ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ณ บ้านหาดบ้าย อ.เชียงของ จ.เชียงราย กับทีมงานไอเชียงรายด้วย ทัวร์สิบสองปันนา และ เช่ารถตู้เชียงราย ทีมงานคนเชียงรายร้อยเปอร์เซ็นต์
โดยการเดินทางเริ่มต้นจากทางหลวงหมายเลข 1 ประมาณ 36กิโลเมตร ถึงอำเภอแม่จัน เลี้ยวขวาใช้ทางหลวงหมายเลข 1016 ตรงไปประมาณ 32 กิโลเมตร จนถึงอำเภอเชียงแสนเลี้ยวขวาขับตรงไปประมาณ 40 กิโลเมตร ก็จะถึงบ้านหาดบ้าย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เชียงรายเป็นจังหวัดที่อยู่เหนือที่สุดของประเทศไทย มีความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์ บางอำเภอก็มีชาวไทยลื้อ บางอำเภอก็มีชาวอาข่า ชาวม้งซึ่งแตกต่างกันไป
เครดิต: รายการทั่วถิ่นแดนไทย thaipbs.or.th
ตามรอยสายใยวัฒนธรรมเชื่อมโยงสิบสองปันนา ประเทศจีน และ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ที่หมู่บ้านเล็กๆของชาวไทยลื้อ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ณ บ้านหาดบ้าย อ.เชียงของ จ.เชียงราย กับทีมงานไอเชียงรายด้วย ทัวร์สิบสองปันนา และ เช่ารถตู้เชียงราย ทีมงานคนเชียงรายร้อยเปอร์เซ็นต์
โดยการเดินทางเริ่มต้นจากทางหลวงหมายเลข 1 ประมาณ 36กิโลเมตร ถึงอำเภอแม่จัน เลี้ยวขวาใช้ทางหลวงหมายเลข 1016 ตรงไปประมาณ 32 กิโลเมตร จนถึงอำเภอเชียงแสนเลี้ยวขวาขับตรงไปประมาณ 40 กิโลเมตร ก็จะถึงบ้านหาดบ้าย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เชียงรายเป็นจังหวัดที่อยู่เหนือที่สุดของประเทศไทย มีความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์ บางอำเภอก็มีชาวไทยลื้อ บางอำเภอก็มีชาวอาข่า ชาวม้งซึ่งแตกต่างกันไป
บ้านหาดบ้าย นี้ถือเป็นแหล่งทำมาหากินของชาวไทยลื้อ เป็นหาดหินหาดทรายสวยงาม
ชาวไทยลื้อย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศลาว ตอนสงครามโลกครั้งที่ 2
อยู่ที่ประเทศลาวไม่ได้ ก็เลยแยกย้ายกันมาอยู่ที่นี่ สมัยก่อนที่นี่มีกันอยู่
30-40 หลังคาเรือน การสัญจรไปมาไม่มีรถต้องใช้เรือเป็นพาหนะ สมัยก่อนยังไม่มีเรือยนต์ใช้เรือพาย
เวลาออกเรือก็ต้องมีแห ฉมวก
หากินตามวิถีชีวิตของผู้คนที่อยู่ริมแม่น้ำโขง ที่บ้านหาดบ้ายนี้ส่วนใหญ่ก็จะมีชาวไทยลื้ออาศัยอยู่
ซึ่งชาวไทยลื้อจะมีความโดดเด่นทางด้านภาษา การแต่งกาย และก็อาหาร
ซึ่งที่นี่เป็นเหมือนศูนย์การเรียนรู้เล็กๆที่ชาวบ้านเขาตั้งขึ้นมาเอง
ที่บ้านหาดบ้ายนี้เป็นชุมชนของชาวไทยลื้อทั้งหมด
ความเป็นอยู่ของคนที่นี่ บ้านจะสร้างด้วยไม้ทั้งหมด ส่วนเสาบ้านจะวางไว้บนก้อนหิน
หรือแท่นปูน จะไม่ฝั่งลงดิน ซึ่งเป็นเป็นภูมิปัญญาของคนสมัยก่อน
ส่วนห้องนอนของคนไทยลื้อจะเป็นห้องโถงใหญ่ และจะนอนรวมกันทั้งหมด ปัจจุบันอาชีพของคนไทยลื้อที่นี่ก็จะปลูกข้าวโพด
ข้าว ส่วนการทอผ้าก็จะเป็นอาชีพเสริม ชาวบ้านที่นี่จะปลูกฝ้าย ย้อมและทอเองทั้งหมด
การแต่งกายของชาวไทยลื้อ ผู้ชายใส่เสื้อแขนยาวกางเกงขายาวมีผ้าสะใบพาดบ่าลวดลายสวยงาม
ส่วนผู้หญิงใส่ผ้าถุงเสื้อแขนยาวลวดลายสวยงาม และที่สำคัญผู้หญิงชาวไทยลื้อต้องมีผ้าโพกหัว
ถ้าเป็นเด็กสาวจะใช้สีชมพู ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะใช้สีขาว
ลวดลายบนเสื้อผ้าของชาวไทยลื้อมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเรียกว่า ลายจกมือ
การที่เราจะเข้าใจความเป็นมาของชาติพันธุ์นั้นๆได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือ
การที่เขาเก็บรักษาสิ่งของเก่าๆเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้มาศึกษาเเละเยี่ยมชม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนรุ่นก่อนของชาวไทยลื้อมีฝีมือในการทำมือมากๆ
ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ ผ้าซิ่น หมอน ที่นอน มุ้ง ทั้งหมดนี้ทำด้วยมือทอด้วยมือทั้งสิ้น
ห้องครัวของชาวไทยลื้อประกอบด้วย เตาไฟรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ตรงกลางเอาดินใส่ไว้เสมอขอบเพื่อกันไม่ให้ไฟกระเด็นออกไป
มีขาตั้งหม้อที่ทำจากดินเหนียว 3 ขาเรียกว่า “ก้อนเส้า”
สามารถเลื่อนเข้าเลื่อนออกได้ตามขนาดของหม้อที่ทำกับข้าว
เตาไฟของชาวไทยลื้อก็จะมีไฟติดอยู่ตลอด สมัยก่อนพอทำกับข้าวเสร็จก็จะเอาขี้เถ้ากลบไว้
แล้วก็ออกไปทำไร่ทำนา พอกลับมาตอนเย็นก็สามารถทำกับข้าวต่อได้เลยโดยที่ไม่ต้องใช้ไม้ขีด
ก็เป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาชาวบ้านเราได้ศึกษา
เอกลักษณ์ที่โดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของชาวไทยลื้อนั่นก็คือ การขับลื้อเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวไทยลื้อ
มีปี่เล็กๆที่ทำมาจากไม้ 2 เลา 2 ขนาดเรียกว่าปี่แม่กับปี่ลูก
ผู้ชายเป็นคนเป่าส่วนผู้หญิงเป็นคนขับเป็นภาษาลื้อ นั่งล้อมวงปรบกันพอจังหวะเริ่มคึกคักก็ลุกขึ้นฟ้อนรำ
สลับกันขับร้องคล้ายกับรำตัดทางภาคกลาง เป็นการเกี้ยวพาราสีของชาวไทยลื้อ คนหนุ่มสาวก็จะไปขอเรียนกับผู้เฒ่าผู้แก่เพื่อสืบทอดต่อๆกันมา
นอกจากนี้ยังมีการฟ้อนไทยลื้อที่สวยงาม
ชาวไทยลื้อเวลาที่มีงานประเพณี หรือว่า มีกิจกรรมต่างๆเขาจะร่วมแรงร่วมใจมาช่วยกันทำกันทำ
อย่างก่อนงานประเพณีสงกรานต์ ชาวบ้านก็จะมาช่วยกันทำตุงเพื่อไปถวายพระ
มีตุงอยู่ผืนหนึ่งที่น่าสนใจเรียกว่า ตุงล้วน ตุงขาว หรือตุงบริสุทธิ์ ซึ่งหญิงสาวชาวไทยลื้อที่มีอายุ
12 ปีขึ้นไป ต้องทำเองด้วยมือทุกคนเพื่อไปถวายพระ ตุงทำจากผ้าฝ้ายตกแต่งด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปใบสลี
(ใบโพธิ์) ลูกเดือย และดอกไม้ตุงมีหลายรูปแบบเช่นรูปช้าง รูปม้า รูปปราสาท ตามความเชื่อที่ว่า
คนไหนที่มีบาปกรรมตายไปตกนรกตุงที่เราเคยทำถวายพระก็จะช่วยเราให้พ้นจากนรกได้
ตามความเชื่อที่มีมาอย่างยาวนาน
ชาวไทยลื้อเขามีความภูมิใจ ในเรื่องของการแต่งตัวที่เป็นเอกลักษณ์ของเขามาก
เพราะมีความสวยงามโดดเด่น ด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ มีตั้งแต่หมวก เสื้อผ้า
กระเป๋า ผ้าซิ่น จากเคยทอไว้ใช้เองภายในครอบครัว
รวมกลุ่มกันทอขายเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง และเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม
และวิถีชีวิตของชาวไทยลื้อบ้านหาดบ้ายให้คงอยู่ต่อไป
ขอปิดท้ายด้วยภาพคุณยายอายุเกือบ 80 ปี ที่ยังทอผ้าจกมือได้อย่างสบาย เช่ารถตู้เชียงราย หรือ ทัวร์สิบสองปันนา คนท้องถิ่นที่รู้จักเชียงรายมาตลอด 30ปี
:: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด ::เลข
ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์
(หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512)
แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th
แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th
คลิ๊กดูแผนที่บจ.ไอเชียงราย เช่ารถตู้เชียงราย
No comments:
Post a Comment