Friday, February 27, 2015

"การสร้างอาณาจักรสิบสองพันนา" ตอนที่ 1



"การสร้างอาณาจักรสิบสองพันนา" ตอนที่ 1

ก่อนที่พญาเจิงจะปกครองเมืองลื้อในปี พ.ศ. 1723 ดินแดนแถบนี้ได้เป็นที่อยู่อาศัยของชนชาติไตเผ่าต่างๆ อาศัยอยู่ปะปนกันจากเอกสารการบันทึกของจีนสมัยราชวงศ์ถัง (กลางพุทธศตวรรษที่ 12-15) ทําให้ทราบว่าในแถบหย่งชัง คายหนัน ตลอดจนเมืองแลม จิ่งตง เชียงกุ จนถึงสิบสองพันนา (http://www.ichiangrai.co.th) เป็นที่อยู่อาศัยของพวกหมานฟันดํา หมานฟันทอง หมานฟันเงิน หมานสักขา และ หมานสักหน้า พวกหมานเผ่าต่างๆ เหล่านี้อยู่ในเขตปกครองของอาณาจักรน่านเจ้าจีน สมัยราชวงศ์ถังเรียกชนชาติไตอาศัยอยู่ใน เมืองคายหนัน เขตปกครองอิ๋นเซง อีกชื่อหนึ่งว่า หมางหมานพวกนี้ เรียกตัว เองว่า ไตเมืองบางครั้งจีนเรียกว่า หมางหน่ายซึ่งก็คือ เมืองลื้อนั่นเอง แต่บางครั้งจะ พบว่าพวกไตลื้อเรียกเมืองของตัวเองว่าอาฬวีหรืออาลวีหรืออาราวีหรือเป็นคํา ที่ประกอบชื่อเมือง เช่น อาลวีสวนตาล อาลวีเชียงมู่ อาลวีเชียงรุ่ง เป็นต้น

ในหนังสือ บันทึกเรื่องสิบสองพันนา กล่าวว่า อาราวี (Aravi) เป็นชื่อเรียกตามภาษาสันสกฤต กล่าวคือ ชนชาติในแหลมอินโดจีนซึ่งได้รับวัฒนธรรมอินเดียมาก มักจะคิดตั้งอินเดียใหม่ขึ้นในดิน แดนนั้นๆเคยมีการนําเอาชื่อเมืองในอินเดียมาใช้เป็นชื่อเมืองของตนคําว่า อาราวี เป็นชื่อประเทศที่ 7 ในจํานวน 14 ประเทศที่อยู่ในกลุ่มดาว Mulan และ Apa ในตะวันออก ตามที่กล่าวไว้ในมหาสังฆาตสูตร เป็นการเลียนแบบ หรือนําเข้ามาใช้โดยตรง...

จิตร ภูมิศักดิ์ได้อธิบายว่า "ลุ่ย" นั้นคือลื้อลุ่ยซานคือไตลื้อขอให้สังเกตว่าลุ่ย ตามอักษรพม่า ซึ่งพม่าเรียกชาวไตทั้งหมดในยูนนานว่า ซานและเรียกชาวไตลื้อในสิบสองพันนา (http://www.ichiangrai.co.th) ว่า ลุ่ยซานเขียนเป็น ลฺวิ คํา ลฺวิ นี่เองที่ชาวไตลื้อสิบสองปันนาเอาไปดัดแปลงเรียกแคว้นเชียงรุ่งว่า อาลวี หรืออาฬวี...
ที่มา
1. คณะกรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยเกี่ยวกับจีนในเอกสารจีน สำนักนายกรัฐมนตรีแปลและเรียบเรียง, บันทึกเรื่องสิบสองพันนา.
2. จิตร ภูมิศักดิ์, ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาวและ ขอม.
3. โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรม และชาติพันธุ์ล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ไทลื้อ อัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ไท

เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

Thursday, February 26, 2015

ตำนานการสร้างเรือนไทลื้อ ตอนที่ 3 "ป๊กเฮิน"

"เรือนไทลื้อ"

"ป๊กเฮิน" พิธีกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างเรือน คือประเพณีปลูกบ้านของชาวไทลื้อ สิบสองปันนา (http://www.ichiangrai.co.th) และ ชาวไทลื้อที่อยู่ตามที่ต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือ ร่วมใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในบรรดาเพื่อบ้านและญาติมิตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ไปช่วยทําพิธียกเสาขวัญหรือเสามงคลและเสาอื่นๆ รวมทั้งติดตั้งโครงสร้างหลักที่สําคัญของบ้านจนเสร็จเรียบร้อย หลังจากนั้นเจ้าบ้านก็จะดําเนินการก่อสร้างต่อไป

ชาวไทลื้อเชื่อว่ามีเทวดา ผี และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิงสถิตอยู์ในทุกแห่ง การจะนําไม้หรือ วัตถุดิบอ่ืนๆมาใช้ก็จะต้อง ขออนุญาติก่อนด้วยการกล่าวขอขมาจะเป็นการบอกให้เทวดา หรือผีได้รับรู้ถึงจุดประสงค์ที่จะนําไปใช้

เจ้าของบ้านจะไปดูฤกษ์ยาม จากอาจารย์ประจําหมู่บ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล การป๊กเฮินหรือ ปลูกบ้านของชาวไทลื้อ นิยมทําในเดือนคู่ คือ เดือน 4 เดือน 6 และเดือน 8 เหนือ ยกเว้นเดือน 10 เหนือ เพราะเป็นเดือนเข้าพรรษา ชาวบ้านไม่นิยมประกอบพิธีมงคล ส่วน เดือนคี่นั้นถือว่าไม่ดี 


การลงเสา จะต้องขุดหลุมและนํามูลดินไปวาง ลักษณะพิเศษของเสาไทลื้อในสิบสองปันนา (http://www.ichiangrai.co.th)และ ชาวไทลื้อที่อยู่ พม่า ลาว และทางตอนเหนือของประเทศไทย จะมีช่วงเสาที่ค่อนข้างถี่ ทําให้ตัวเรือนแข็งแรงมาก และการวางเสาแต่ละต้น ก็ต้องทำให้ถูกต้องตามหลักโหราศาสตร์ เช่น เดือน 4 เอาปลายเสาวางไว้ทางทิศใต้เอามูลดินวางไว้ทิศตะวันออก เดือน6 และเดือน8 ให้วางเสาไว้ทางทิศเหนือเอามูลดินไว้ทางทิศใต้เป็นต้น


ก่อนขุดหลุม อาจารย์ผู้ประกอบพิธีจะทําพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็จะทําการขุดหลุม และทําพิธียกเสาขวัญซึ่งเป็นเสาหลักของบ้าน สิ่งของในพิธีมีกล้วย มะพร้าว ต้นกุ๊ก หน่อกล้วย หน่ออ้อย หมาก พลู บุหรี่ ด้าย ซึ่งทําด้วยฝ้ายดิบจํานวน 108 เส้น ผูกติดไว้กับเสาขวัญ การปลูกบ้านของไทลื้อ เสาขวัญจะต้องอยู่ทางด้านตะวันออกเสมอและเป็นต้นที่2 ส่วนเสานางจะอยู่ทางทิศตะวันตก เพื่อให้คู่กับเสาขวัญ โดยจะมีผ้ายันต์วางไว้หัวเสาเพื่อป้องกันสิ่งไม่ดีเข้าบ้าน


ที่มา ; โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรม และชาติพันธุ์ล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ไทลื้อ อัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ไท

เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

ตำนานการสร้างเรือนไทลื้อ ตอนที่ 2



 "เรือนไทลื้อ"

ตำนานการสร้างเรือนไทลื้อ สิบสองปันนา (http://www.ichiangrai.co.th)วันหนึ่งพญา ที่มีนามว่า พญาสมมุติได้เห็นสุนัขตัวหนึ่งนั่งอยู่กลางสายฝนในท่าเหยียดตรงขาหน้าทั้ง สองขึ้น ส่วนขาหลังก็นั่งลงกับพื้น ฝนไม่ได้ทําให้ใต้ท้องของสุนัขเปียกเพราะความลาดชันของหลัง น้ำฝนที่ตกมาก็ไหลลงสู่ดิน พญาสมมุติจึงเรียกบริวารมาสร้างบ้านตามรูปแบบนี้ โดยตั้งชื่อว่าตูบหมานั่งหรือ ในปัจจุบันที่รู้จักกันว่าหลังคาแบบ"เพิงหมาแหงน" ในช่วงแรกบ้านแบบนี้ก็สามารถป้องกันฝนและลมได้ แต่เมื่อลมเปลี่ยนทิศเข้ามาด้านหน้าบ้าน ทุกคนที่อาศัยอยู่ภายในก็เปียกจนหมด แล้วพญาสมมุติก็โกรธ แล้วยกเลิกการสร้างบ้านอีกครั้งหนึ่ง

เทวดาเห็นความตั้งใจจริง จึงแปลงกายเป็นหงส์ทองลงมาช่วยเหลือ ขณะที่ลงมาจากสวรรค์ได้บันดาลให้เกิดลมพายุ ใหญ่มาด้วย เมื่อเทวดาหงส์ทองร่อนสู่พื้น แล้วก็ร้องเรียกให้พญาสมมุติมองดูปีกว่ากันฝนได้อย่างไร ครั้นแล้วเทวดาหงส์ทองก็ยืดร่าง โก่งคอ หาง และกางปีกสองข้างออกจนลาดต่ำ พญาสมมุติเห็นดังนั้นจึงพิจารณาตาม เมื่อพายุสงบก็นําบริวารออกไปหาวัสดุมาใช้ในการสร้างบ้าน โดยเป็นบ้านไม้ยกใต้ถุนสูง มีหลังคาลาดต่ำทุกด้าน หลังจากที่บ้านเสร็จแล้ว ทุกคนจึงออกมาสรรเสริญพญาสมมุติ ที่ได้ช่วยให้ชนชาติไทได้อาศัยอยู่ในบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง กันฝน ลม อากาศหนาวและร้อนได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงคุณเทวดาหงส์ทอง จึงเรียกบ้านแบบนี้ว่า หงส์เฮือนหรือเรือนหงส์มาจนถึงปัจจุบัน

จากตํานานที่กล่าวมานั้นเป็นการอธิบายรูปแบบที่มาของบ้านไทลื้อ ทั้งนี้การสร้างบ้าน ตามหลักความเป็นจริงก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ด้วย ซึ่งในไทลื้อ สิบสองปันนา (http://www.ichiangrai.co.th)มีฝนตก ตลอดปีดังนั้น การมีหลังคาและชายคายาวเพื่อกันฝนเป็นสิ่งจําเป็นต่อการอยู่อาศัย ดังนั้นหากมองบ้านไทลื้อจากภายนอกจะพบว่าลักษณะเด่นเฉพาะตัวของบ้านคือ เห็นบริเวณหลังคาขนาดใหญ่ บ้านทั้งหลังดูเสมือนว่าจะมีแต่หลังคาต่อกับเสา ยกพื้นเรือนสูง ส่วนผนังบ้านจะไม่สามารถมองเห็นได้จากการดูรูปทรงภายนอก หลังคาบ้านไตลื้อ เป็นหลังคาทรงปั้นหยาหักมุข มีความเอียงลาดของหลังคาสูงมาก และยังมีชายคารอบบ้านในความเอียงลาดของหลังคาเดียวกันอีกโดยรอบ เปรียบเสมือนมีหลังคา 2 ตอน ทําให้มองไม่เห็นส่วนฝาเรือนเลย


ที่มา
1. จูเหลียงเหวิน, ชนชาติไต สถาปัตยกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไตในสิบสองปันนา
2. อ้ายอิ่นแพง(แปล), ปฐมกัลป์พรหมสร้างโลก (ตํานานสร้างโลกของชนชาติไต)
3. โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ไทลื้อ อัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ไท.

 เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

Monday, February 23, 2015

ตำนานการสร้างเรือนไทลื้อ ตอนที่ 1



"เรือนไทลื้อ"

ปฐมกัลป์พรหมสร้างโลก บทที่ 13 ว่าด้วยความสมบูรณ์พูนสุขของมนุษย์ เล่าถึงนกปฐมกาปปุมสา เหาะลงมาช่วยพญา ที่มีนามว่า พญาสมมุติ
โดยเล่าถึงเหตุการณ์หลังจากน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ได้คร่าชีวิตผู้คนและสัตว์ ไปจนเกือบหมดโลก ภายหลังผู้รอดชีวิตที่เหลือก็ได้เกิดลูกหลานออกมา ทําให้จำนวนคนมีมากเกินที่อยู่อาศัยที่มีน้อย ทั้งที่ดิน หรือในถ้ำ ต่างก็มีผู้คนมาจับจอง ส่วนคนที่ไม่สามารถหาที่อยู่ได้ก็ต้อง อยู่ในที่โล่งแจ้ง ทนกับอากาศหนาวจากลมพายุฝ

พญาสมมุติผู้เป็นหัวหน้าก็เกิดความสงสาร จึงพาบริวารเดินออกไปหาที่กําบัง ครั้นเมื่อ เดินไปเรื่อยๆ ก็เกิดความเหนื่อยล้า จึงมาพักใต้ต้นไม้แล้วเหลือบมองไปเห็นต้นใบบอนขึ้นอยู่เป็นกลุ่มถูกฝนแล้ว กลิ้งหล่นลงไป ดังนั้นจึงคิดหาไม้งาม 4 ท่อนปักลงพื้นดิน แล้วเอาใบบอนมาคลุม เป็นหลังคา ในตอนแรกพญาสมมุติและบริวารก็อยู่ใต้หลังคาใบบอนโดยไม่เปียกฝน แต่เมื่อมีลม พายุใหญ่มาทําให้ปริมาณน้ำฝนมากขึ้น น้ำฝนสาดเข้ามาทุกทาง หลังคาก็รั่วซึมผ่านลงมา ทุกคนจึงเปียกเหมือนอยู่กลางแจ้ง พญาสมมุติจึงโกรธแล้วพาบริวารไปหลบฝนในถ้ำตามเดิม

พญาสมมุติ พยายามคิดวิธีการที่จะทําให้ได้ตลอดเวลา จนวันหนึ่งพญาสมมุติได้เห็นสุนัขตัวหนึ่งนั่งอยู่กลางสายฝนในท่าเหยียดตรงขา หน้าทั้งสองขึ้น ส่วนขาหลังก็นั่งลงกับพื้น ฝนไม่ได้ทําให้ใต้ท้องของสุนัขเปียกเพราะความลาดชันของหลัง น้ำฝนที่ตกมาก็ไหลลงสู่ดิน พญาสมมุติจึงเรียกบริวารมาสร้างบ้านตามรูปแบบนี้ โดยตั้งชื่อว่าตูบหมานั่งหรือ ในปัจจุบันที่รู้จักกันว่าหลังคาแบบ"เพิงหมาแหงน" เริ่มจากตั้งเสาไม้ ให้ด้านหน้ามีความสูงกว่าด้านหลังแล้วหาหญ้าที่มีลักษณะคล้ายขนสุนัขมามุง เป็นหลังคา
ที่มา
1. จูเหลียงเหวิน, ชนชาติไต สถาปัตยกรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีไตในสิบสองปันนา
2. อุ่นแพง(แปล), ปฐมกัลป์พรหมสร้างโลก (ตํานานสร้างโลกของชนชาติไต)
3. โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ไทลื้อ อัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ไท

เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

"เมืองลื้อหลวง ถิ่นกําเนิดชาวไทลื้อ"




จากตํานานและคําบอกเล่าที่สืบต่อกันมากล่าวว่า ชาวไทลื้อที่อาศัยอยู่ที่ดินแดนสิบสองปันนานี้ไม่ใช่ชนพื้นเมืองดั้งเดิมของ ที่นี่ หากแต่อพยพหนีโรคระบาดที่คร่าชีวิตผู้คนจํานวนมาจาก เมืองลื้อหลวงซึ่งยังไม่พบหลักฐานว่าเมืองลื้อหลวงนั้นอยู่ที่ใด โดยมีสตรีผู้นําชื่อว่าย่าคําแดงได้นําชาวไทลื้อจํานวนแสนคน อพยพลงมาทางใต้เรื่อยๆ โดยใช้เวลาอพยพร่วม 2 ปี ข้ามภูเขานับแสนลูกเดินผ่านทุ่งราบร่วมสามพันจนมาถึงลุ่มแม่นํ้าโขงจึงได้ ตั้งถิ่นฐานใหม่ เรียกว่เมืองลื้อใหม่ซึ่งก็คือดินแดนสิบสองปันนาในปัจจุบัน

คนไทลื้อเมืองฮายมีคําบอกเล่าว่ามาจากเมืองลื้อหลวงด้วย เมื่อปี พ.ศ. 1941 มีคนจีนที่ เมืองฮายสองคน ได้จดบันทึกคําบอกเล่าดังกล่าวเป็น ภาษาจีนไว้คนละฉบับ เนื้อหาใกล้เคียงกัน บันทึกฉบับแรก ชื่อว่าคําบอกเล่าเรื่องความเป็นมาของคนไทเมืองฮายเขียนโดยหลิ่วเสี้ยนถิง คนจีนที่เติบโตในเมืองฮาย บันทึกกล่าวว่า คนไทเมืองฮายเดิมอยู่ที่เมืองลื้อหลวงในมณฑลกุ้ยโจว แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่อําเภอใด ต่อมาเกิดโรคระบาดจึงพากันอพยพย้ายที่อยู่ เดินไปด้านทิศตะวันตก ตามแนวทิวเขาเหมียวหลิ่ง

(เหมียวหลิ่งเป็นทิวเขาแม้ว อยู่ภาคใต้ของมณฑลกุ้ยโจวใกล้กับด้านตะวนั ออกของมณฑลยูนนาน) แล้วก็เดินต่อ (เข้ายูนนาน) ผ่านคุนหมิงถึงบ่อแหะ เมืองอีงู (ปัจจุบันเป็นอ.เมืองล้า) ใช้เวลาเดินทางร่วม 3 ปี ได้สร้างบ้านเรือนทํามาหากินที่นั่นได้ปีหนึ่งก็ต้องเดินทางต่อไปสู่ลุ่มแม่ น้ำโขงเพราะที่ดินมีน้อยขยายเมืองออกไปไม่ได้ หลังจากที่เดินทางแล้วก็หยุดพักที่หมู่บ้านเลาประมาณ 4 เดือน แล้วเดินต่อไปยังเมืองฮาย ซึ่งมีสภาพแวดล้อมเหมาะจึงตั้งเป็นเมือง

ส่วนบันทึกฉบับที่สองก็ตั้งชื่อเหมือนฉบับที่หนึ่ง เขียนโดยจางจิ้งชิว บันทึกนี้บอกว่าเป็นการจดคําให้สัมภาษณ์ของพญาหลวงแขก
ที่มา
1. โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ไทลื้อ อัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ไท. 2551
2. อ้ายอิ่นแพง (แปล), ปฐมกัลป์พรหมสร้างโลก, 1989

เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

Monday, February 16, 2015

"การล่มสลายของรัฐจารีตสิบสองพันนา"

 "การล่มสลายของรัฐจารีตสิบสองพันนา"

กลางพุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา มีการขยายตัวขึ้นมาแข่งขันทางการค้าของอังกฤษและฝรั่งเศส อังกฤษได้ทำลายศูนย์อำนาจเดิมคือพม่าและเชียงตุง ส่งผลให้จารีตสัมพันธ์ของสิบสองพันนากับ จีน และพม่าในฐานะรัฐสองฝ่ายฟ้าเริ่มสิ้นสุดลง

การปักปันเขตแดน ตามสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษและจีนใน ค.ศ. 1804 ทำให้สิบสองพันนาต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของจีนและเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของ จีนโดยแท้จริง และการปักปันเขตแดนกับฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 1805 ฝรั่งเศสยึดสิบสองพันนาไป 1 พันนา คือพันนาอูเหนืออูใต้(ปัจจุบัน ขึ้นกับแขวงพงสาลี สปป.ลาว) จึงทำให้พันนาเหลือเพียง 11 พันนาเท่านั้น แต่จีนก็ อนุโลมให้มีการปกครองด้วยระบอบเจ้าแผ่นดิน 

คร้ันเมื่อจีนมีการปฏิวัติ ครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ. 1911โดยซุน ยัด เซน จนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบจักรพรรดิ เป็นระบอบสาธารณรัฐ จีนจึงเข้ามาเปลี่ยนแปลงการปกครองให้กับสิบสองพันนา ใน ค.ศ. 1927 จากระบบพันนาเป็นอำเภอและฐานะของเจ้าแผ่นดินเป็นเพียงข้าราชการชาวพื้นเมือง ของจีนคนหนึ่ง ที่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของจีน (ณัชชา เลาหศิริ, 2541 : 130) ต่อมาจีนมีการปฏิวัติ คร้ังที่ 2 ในปี ค.ศ. 1949 โดยเหมาเจ๋อตุง จีนจึงเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นระบอบสังคมนิยมหรื คอมมิวนิสต์สิบสองพันนาจึงถูกปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ ระบอบกษัตริย์ถูกล้มเลิก เจ้าหม่อมคำลือ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งสิบสองพันนา ถูกลดฐานะเป็นเพียงสามัญชน นับตั้งแต่นั้นมา



เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

Saturday, February 14, 2015

ไหว้พระธาตุจอมแว่ (หนึ่งในพระธาตุ 9 จอม) จังหวัดเชียงราย


ประวัติพระธาตุจอมแว่ ตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า พระธาตุจอมแว่ได้สร้างขึ้นโดยพญางำเมือง เจ้าเมืองภูกามยาว (พะเยา) ในราว จ.ศ. ๖๕๖ (พ.ศ. ๑๘๓๗) โดยที่พระองค์ได้เสด็จขึ้นดอยซางคำ (ชื่อเดิมของดอยจอมแว่) เพื่อตรวจดูอาณาเขตบ้านเมืองของพระองค์ว่ามีไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ว่าอยู่ตรงไหนบ้าง จากนั้นจึงเสด็จไปยังดอยอีกลูกหนึ่งซึ่งอยู่ตอนเหนือของลำน้ำแม่คาวด้วน และเสด็จเลียบต้นดอยด้วน (ดอยงาม) แล้วเสด็จไปยังเมืองภูกามยาว เมื่อพระองค์เสด็จถึงเมืองภูกามยาวใน เดือน ๔ ปีเดียวกัน จึงโปรดให้ขันฑเสนามาตย์ นำผู้ที่มีความรู้ในการก่อสร้างเจดีย์ พร้อมกับไพร่ฟ้าปลายแดน มาลงแรงช่วยกันสร้างพระธาตุจอมแว่ขึ้นที่ดอยซางคำ โดยได้ก่อทับรอยฟานเอาไว้ บรรจุพระเกศาธาตุ และแก้วแหวนเงินทองเอาไว้ สร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือน ๘ จึงได้มีพิธีการเฉลิมฉลองสมโภชพระเจดีย์เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ในสมัยเจ้าเมืององค์ต่อมา บ้านเมืองอยู่ในสภาวะไม่สงบสุขประชาชนจึงได้อพยพไปอยู่ที่อื่น ทำให้พระธาตุจอมแว่ทรุดโทรมปรักหักพังจากภัยธรรมชาติ จนในปี จ.ศ. ๑๑๙๙ (พ.ศ. ๒๓๘o ) พระยาหาญเจ้าเมืองพานคนแรกจึงได้ทำการ


บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่จากซากเดิม จนในสมัยพญาไชยชนะสงคราม เจ้าเมืองพานคนที่ ๓ ได้ร่วมศรัทธา ๓ หมู่ ร่วมกันบูรณาพระธาตุขึ้นมาใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิม แล้วบรรจุพระมหาชินธาตุเอาไว้มีประเพณีสรงน้ำพระธาตุในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ

บันใดของวัดพระธาตุจอมแว่ ซึ่งบันไดทางขึ้นนี้จะอยู่หน้าวัดดอนตัน คนละทางกับทางรถขึ้น

 ระหว่างทางขึ้นจะเห็นพระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอน อยู่บนยอดเขาทางขึ้น ขวามือ


 สามารถขึ้นไปชมวิวตัวเมืองพานได้


 ด้านหน้าวิหาร วัดจอมแว่


 ด้านในวิหาร

พระธาตุจอมแว่   เป็นหนึ่งในโครงการทัวร์อิ่มบุญพระธาตุ 9 จอม ของเชียงราย

ด้านหน้าวัดจะเป็นจุดชมวิวตัวเมืองพาน ซึ่งจะมีพระพุทธจอมเกศ เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร ที่กำลังก่อสร้างเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9


ข้อมูลติดต่อ : ที่ตั้ง วัดพระธาตุจอมแว่ ตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
โทร. o -๕๓๗๒- ๑๘๒๑ มีพระครูพิมล พิพัมนคุณเป็นเจ้าอาวาส  

การเดินทาง : เดินทางจากเชียงราย เลี้ยวขวาเข้าถนนสายในตัวอำเภอพาน ตรงแยกวัดไชยมงคล เข้าไปประมาณ ๓oo เมตรจะพบทางเข้าพระธาตุจอมแว่ฝั่งขวามือ สามารถขับรถได้ถึงลานจอดบนวัด หรือใครจะเดินขึ้นบันได ขับรถเลยไปอีกหน่อย จะมีป้ายบอกทางขึ้นวัดเหมือนกัน

เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th