Saturday, June 13, 2015

เรื่องเล่า ตำนานการสร้างเมืองเชียงตุง


เรื่องเล่า ตำนานการสร้างเมืองเชียงตุง

ประวัติในช่วงเริ่มแรกของเชียงตุงนั้นไม่ชัดเจน มีแต่ตำนานการสร้างเมืองว่า เมืองนี้เดิมชื่อเมืองประจันตคามหรือจัณฑคามไม่มีเจ้าเมืองปกครอง ฝูงกาได้คาบกรงไม้พาชายเลี้ยงวัวคนหนึ่งมาเป็นเจ้าเมือง ต่อมาชายคนนั้นลืมสัญญาที่ให้ไว้แก่กา กาจึงพาเขาไปทิ้งไว้ที่เกาะกลางทะเล ส่วนเมืองจัณฑคามถูกฝนตกหนักจนน้ำท่วมกลายเป็นหนองน้ำ มีฤาษีนามว่า ตุงคฤาษี เป็นบุตรพญาว้อง (จีน) แสดงอิทธิฤทธิ์ทำให้น้ำไหลออกจากเมือง เหลือเพียงหนองน้ำกลางเมืองขนาดใหญ่ เรียกว่า หนองตุง อันเป็นที่มาของชื่อ เชียงตุง (http://www.ichiangrai.co.th) และได้อพยพชาวจีนจากยูนนานมาอยู่ ต่อมาทนกับโรคภัยไข้เจ็บไม่ไหวจึงอพยพกลับไปหมด ทิ้งน้ำเต้าไว้กอหนึ่ง น้ำเต้านั้นแตกออกกลายเป็นคนซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวลัวะ ซึ่งได้อาศัยในบริเวณนั้นต่อมา

เมื่อจุลศักราช 791 (พ.ศ. 1772) พญามังรายได้เสด็จประพาสป่าและทรงไล่กวางทองมาจนถึงเมืองเชียงตุง พระองค์ทรงเล็งเห็นภูมิประเทศของเมืองเชียงตุง ก็พอพระทัยมาก จึงวินิจฉัยสั่งให้ข้าราชบริพารสลักรูปพรานจูงหมาพาไถ้แบกธนูไว้บนยอดดอยที่เห็นเมือง หลังจากนั้น พระองค์ก็เสด็จกลับมาเมืองเชียงรายแล้วทรงส่งกองทัพ มีแม่ทัพนามว่าขุนคง และ ขุนลัง ให้มาชิงเมืองเชียงตุง จากชาวลัวะแต่ก็ไม่สำเร็จ พระองค์จึงส่ง มังคุม และ มังเคียน ซึ่งเป็นชาวลัวะที่อาศัยอยู่กับพระองค์มารบอีกครั้ง ปรากฏว่าก็ได้ชัยชนะ พญามังรายจึงมอบให้ มังคุม และ มังเคียน ปกครองเมืองเชียงตุง (http://www.ichiangrai.co.th) ภายหลังเมื่อมังคุม มังเคียนสิ้นชีวิต พญามังรายจึงส่ง เจ้าน้ำท่วม ผู้เป็นราชบุตรไปปกครองเมืองเชียงตุงเมื่อ พ.ศ. 1786 เชียงตุงจึงเป็นเมือง "ลูกช้างหางเมือง" หรือ "เมืองลูกหลวง" ขึ้นกับอาณาจักรล้านนา



ตามหลักฐานทั้งหลาย ได้ระบุไว้ว่าเมืองเชียงตุงมีเจ้าฟ้าปกครองอยู่ 33 พระองค์ พระองค์สุดท้ายคือ "เจ้าจายหลวง" จากหนังสือ "ตำนานมังราย เชียงใหม่ เชียงตุง"

เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง

ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

Saturday, April 25, 2015

เปิดตัว น้ำตกผาลาด แหล่งท่องเที่ยวใหม่ รับสงกรานต์-หน้าร้อน


เปิดตัว น้ำตกผาลาด แหล่งท่องเที่ยวใหม่ รับสงกรานต์-หน้าร้อนนายอำเภอเชียงแสน พร้อม อปท.ร่วมเปิดตัว น้ำตกผาลาด แหล่งท่องเที่ยวใหม่ รับสงกรานต์-หน้าร้อน

นายพินิจ แก้วจิตคงทอง นายอำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย (http://www.ichiangrai.co.th) เป็นประธานในพิธีเปิดสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ คือ “น้ำตกผาลาด” บ้านป่าตึง ม.5 ต.บ้านแซว ที่ชาวบ้านในพื้นที่รู้จักกันมานาน แต่ถูกปล่อยปละละเลยทำให้มีสภาพเป็นป่ารกทึบ โดยมีนายคำ สุปัญโญ นายกเทศมนตรีตำบลบ้านแซว นำประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าร่วม
      
นายคำกล่าวว่า ทางเทศบาลฯ ได้เข้ามาปรับปรุงภูมิทัศน์ สร้างจุดถ่ายรูปไม้ไผ่ ซ่อมแซมห้องน้ำและระบบไฟฟ้า จัดทำป้ายเตือน และจัดให้มีพื้นที่ค้าขาย ให้ชาวบ้านในพื้นที่นำอาหารมาจำหน่ายเพื่อรองรับประชาชนและนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเดินทางมาเล่นน้ำกันจำนวนมากในฤดูร้อนนี้ รวมไปถึงในช่วงสงกรานต์ที่จะมาถึง
 
นอกจากนี้ ทางเทศบาลฯ ยังได้จัดเจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน เจ้าหน้าที่ตำรวจ ช่วยอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวด้วย
      
นายพินิจกล่าวว่า น้ำตกผาลาดมีความสวยงามและคงความเป็นธรรมชาติสูง ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 17 กิโลเมตร สามารถเดินทางเข้าถึงได้โดยสะดวก ซึ่งต้องชื่นชมผู้นำท้องถิ่นที่รู้จักนำเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วดังเช่นน้ำตกแห่งนี้มาปรับปรุงสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น ส่วนนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาเที่ยวน้ำตกแห่งใหม่ได้นี้ โดยเฉพาะในฤดูร้อนและเทศกาลสงกรานต์ปีนี้
    
เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

Tuesday, March 31, 2015

ภาคเหนือ

ภาคเหนือเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีต เป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ ที่มีศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ และการที่คนเหนือมีเชื้อสายไทยใหญ่ หน้าตา ผิวพรรณ จึงต่างไปจากคนภาคอื่น ๆ ประกอบกับความอ่อนหวาน ซื่อ บริสุทธิ์ ทำให้คนเหนือมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของตนเอง

นอกจากนี้ การมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทำให้เกิดธรรมชาติที่สวยงาม มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ และยังเป็นที่อยู่ของคนไทยภูเขาหลายเผ่าพันธุ์ ภาคเหนือจึงยังเป็นที่รวมของวัฒนธรรมที่หลากหลาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่งดงามเหล่านี้ได้สืบทอดกันมานานแสนนาน ภาคเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นคล้ายต่างประเทศ ไม้เมืองหนาวต่าง ๆ พันธุ์ ถูกนำมาทดลองปลูก และได้กลายเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรภาคเหนือเป็นอันมาก แต่ถึงจะสามารถปลูกพืช ผัก เมืองหนาวได้ แต่อาหารดั้งเดิมของภาคเหนือ ก็ยังใช้พืชตามป่าเขา และพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ มาใช้ในการปรุงอาหารเป็นส่วนใหญ่

โก๊ะข้าว หรือขันโตก จะทำด้วยไม้รูปทรงกลม มีขาสูงพอดีที่จะนั่งร่วมวง และหยิบอาหารได้สะดวก ชาวบ้านภาคเหนือจะจัดอาหารใส่ถ้วยแล้ววางบนโก๊ะข้าว หรือบางบ้านอาจใช้ใส่กระด้งแทน การเก็บอาหารที่เหลือ เพื่อให้พ้นมด แมลง ที่จะมาไต่ตอม ก็จะใส่กระบุง แล้วผูกเชือก แขวนไว้ในครัว เมื่อต้องการจะรับประทานก็ชักเชือกลงมา ในครัวทั่ว ๆ ไปจะมีราวไว้แขวน หอม กระเทียม

คนภาคเหนือจะรับประทานข้าวเหนียวกันเป็นอาหารหลัก ส่วนกับข้าวก็หาเอาตามท้องทุ่ง และลำน้ำ ทั้งกบ เขียด อึ่งอ่าง ปู ปลา หอย แมงยูน จีกุ่ง ( จิ้งหรีดชนิดหนึ่ง ) ไก่ หมู และเนื้อ อาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานจะได้จากส่วนผสมที่นำมาทำอาหาร เช่น ความหวานจากผัก จากปลา จากมะเขือส้ม เป็นต้น การทำอาหารก็มักจะให้สุกมาก ๆ เช่นผัดก็จะผัดจนผักนุ่ม ผักต้มก็ต้มจนนุ่ม อาหารส่วนใหญ่จะใช้ผัดกับน้ำมัน แม้แต่ตำขนุน ( ยำขนุน ) เมื่อตำเสร็จก็ต้องนำมาผัดอีกจึงจะรับประทาน ในปัจจุบันนี้ เนื้อสัตว์ที่นิยมนำมาทำอาหารจะเป็น หมู ไก่ เนื้อ และปลาตามลำดับ ปลาที่ใช้ในปัจจุบันมีทั้งปลาเลี้ยง และปลาที่จับจากแม่น้ำลำคลอง

เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

ฟ้อนแง้น


ฟ้อนแง้น
คำว่า "แง้น" หมายถึง แอ่น โค้ง หรืองอไปด้านหลัง การฟ้อนรำแล้วแอ่นลำตัวไปด้านหลังเรียกว่า "ฟ้อนแง้น"

การฟ้อนแง้นเป็นที่นิยมกันในหมู่ช่างขับซอหญิงโดยเฉพาะช่างขับซอในเขตจังหวัดน่าน แพร่ ลำปาง พะเยาและเชียงราย (http://www.ichiangrai.co.th)

รูปแบบการฟ้อนและการแต่งกาย
การฟ้อนชนิด นี้ ไม่มีรูปแบบหรือกฎเกณฑ์ใด ๆ เพียงแต่ฟ้อนให้สวยงาม แล้วแสดงความสามารถในการทรงตัวและความยืดหยุ่นของร่างกาย โดยการฟ้อนแล้วค่อย ๆ หงายลำตัวไปด้านหลังจนศีรษะถึงพื้น ผู้ชมที่ชื่นชอบก็จะวางธนบัตรให้ผู้ฟ้อนแสดงความสามารถอ่อนตัวลงคาบธนบัตร ด้วยความชื่นชม ส่วนการแต่งกายนั้นก็มิได้มีรูปแบบบังคับ แต่งตามปกติสำหรับการไปขับซอตามความเหมาะสม


ดนตรีที่ใช้ประกอบ
เนื่องจากการขับซอแบบเมืองน่าน ใช้เครื่องดนตรีเฉพาะเครื่องดีดและสีประกอบ การฟ้อนจึงอาศัยทำนองที่บรรเลงจากซึงและสะล้อเท่านั้น สำหรับจังหวะคงเป็นไปตามจังหวะของเพลงซึ่งไม่ใช้เครื่องประกอบจังหวะแต่ ประการใด

โอกาสที่แสดง
ช่างขับซอหรือ "ช่างซอ" จะฟ้อนในช่วงพักในการขับเป็นระยะ เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศและเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานคนอื่นได้พักผ่อนเป็นช่วง ๆ ไป

วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ในการฟ้อนนอกจากจะเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศแล้ว ยังเป็นการแสดงเพื่อสร้างความหลากหลายความเป็นสุนทรียรสแก่ผู้บริโภค อีกทั้งยังสร้างรายได้ให้กับคณะ นอกเหนือจากค่าสมนาคุณจากเจ้าภาพอีกด้วย ปัจจุบันการฟ้อนแง้นถูกนำมาแสดงในงานต่าง ๆ ในฐานะการแสดงประเภทฟ้อนรำ ซึ่งมีปรากฏให้เห็นโดยทั่วไป

 เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

Monday, March 30, 2015

ประเพณีปั้นกบ และ ประเพณีการตีกลองมังคละ

ข้าพเจ้ามีโอกาสได้พูดคุยกับผู้สูงอายุชาวเชียงตุงคนหนึ่ง จึงทราบมาว่า ในเมืองเชียงตุงมี ประเพณีปั้นกบ และ ประเพณีการตีกลองมังคละ ซึ่ง เป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานของบรรพบุรุษเพื่อต้อนรับเข้าสู่เทศกาลวันสงกรานต์ หรือ วันขึ้นปีใหม่ของชาวเชียงตุง (http://www.ichiangrai.co.th) ซึ่งท่านได้เล่าประวัติความเป็นมาอย่างคร่าว ๆ ให้พวกข้าพเจ้าได้ฟังว่า เมื่อปี พ.. 1771 นครเชียงตุงเกิดความแห้งแล้ง ประชาชนล้มตายเพราะอดข้าวอดน้ำ พญาแก้วมธุ เจ้าปกครองเมืองเชียงตุงในสมัยนั้น จึงเรียกหมอดูดวงชะตา ชื่อ อุตตมะ มาดูดวงเมือง จึงแนะน้าว่า ชาวเชียงตุง ต้องช่วยกันปั้นดินเป็นรูปกบคาบพระจันทร์หนึ่งดวง ถ้าถึงวันสงกรานต์ ให้ก่อเจดีย์ทรายที่ฝั่งแม่น้ำเขิน ซึ่งอยู่ทางด้านเหนือของเมืองเชียงตุงแล้วให้ขุนสงกรานต์ขี่ม้า พร้อมด้วยขบวนตีกลองมังคละเดินไปจนถึงแม่น้ำเขิน ที่ปั้นรูปกบและก่อเจดีย์ทรายไว้ เพื่อไปปล่อยรูปปั้นกบให้ไหลลงไปตามแม่น้ำเขิน หลังจากประกอบพิธีกรรมนี้ ฝนก็เทลงมาอย่างอัศจรรย์ ไร่นาชุ่มชื่น กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้งดังนั้น เมื่อถึงวันสงกรานต์ชาวเมืองเชียงตุงก็จะท้าพิธีดังกล่าวเรื่อยมาจนทุกวันนี้

พิธีตีกลองมังคละ ถูกจัดขึ้นที่บริเวณลานพิธีประจ่าเมือง (ตั้งอยู่กลางเมืองตรงข้ามกับหอบรรจุอัฐิของบรรดาเจ้าฟ้า) พิธีดังกล่าวถือเป็นการต้อนรับวันสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึงในวันรุ่งขึ้น คนตีกลองจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตีกลองตั้งแต่ช่วงบ่ายก่อนวันงาน โดยขบวนแห่กลองจะเคลื่อนตัวไปถึงแม่น้ำเขินในช่วงบ่ายในวันรุ่งขึ้น เรียกง่าย ๆว่า ตีกันแบบข้ามวันข้ามคืนเลยทีเดียว เมื่อใกล้ถึงเวลาชาวเชียงตุง (http://www.ichiangrai.co.th) ที่แต่งกายด้วยชุดพื้นเมือง ก็เริ่มทยอยเดินทางเข้ามาร่วมพิธีด้วยหน้าตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างความประทับใจให้กับข้าพเจ้าเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันหาดูได้ยากเหลือเกินในบ้านเมืองของเรา

 เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

งานปอยหลวง

“ ปอยหลวง ” คืองานฉลองที่ยิ่งใหญ่ของคนทางภาคเหนือ “ ปอย ” มาจากคำว่า ปเวณี หมายถึง งานฉลองรื่นเริงหรืองานเทศกาลที่จัดขึ้นคำว่า “ หลวง ” หมายถึง ยิ่งใหญ่

ประเพณีปอยหลวงมัก จัดขึ้นช่วงเดือน ๕ จนถึงเดือน ๗ เหนือ ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน หรือ เดือนพฤษภาคมของทุกปี“ ปอยหลวง ” เป็นการฉลองถาวรวัตถุ

ของวัด หรือสิ่งก่อสร้างที่ประชาชนช่วยกันทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะ ประเพณีงานปอยหลวงเป็นการทำบุญเพื่อเฉลิมฉลองศาสนสมบัติต่าง ๆ เพื่อให้เกิดอานิสงส์แก่ตน


และครอบครัว ถือว่าได้ บุญกุศลแรง นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องแสดงถึงความสามัคคีกลมเกลียวของคณะสงฆ์และชาวบ้าน นอกจากการฉลองที่ยิ่งใหญ่แล้วการทำบุญปอยหลวงนิยม

ทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พ่อแม่ปู่ย่าตายาย หรือญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ได้จากการทำบุญงานปอยหลวงก็คือการแสดงความชื่นชม ยินดีร่วมกันเพื่อความ


สนุกสนานเพลิดเพลินให้แก่คนในท้องถิ่นโดยการจัดมหรสพสมโภชเพราะนานหลายปีถึง จะได้มีโอกาสได้จัดงานประเพณีปอยหลวง


เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

Tuesday, March 17, 2015

ไทเขิน หรือไทขืน แห่งเชียงตุง




เชียงตุงเมืองเล็กๆในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์  ปัจจุบันมีอายุเก่าแก่ราว 800 ปี เดิมชนพื้นเมืองบริเวณนี้เป็นชาวลั๊ว แต่ต่อมาชนเชื้อสายไตได้เข้ามาอยู่อาศัยเรียกว่า ไตขืน หรือ ไตเขิน เหตุที่เรียกว่าไตขืน หรือ ไตเขิน เพราะอาศัยอยู่ลุ่มแม่น้ำขืน ขืนแปลว่า ฝืน เพราะแม่น้ำสายนี้ไหลย้อนขึ้นเหนือ ผ่านเชียงตุง (http://www.ichiangrai.co.th) ก่อนจะไหลลงใต้ลงสู่แม่น้ำโขง ผิดจากแม่น้ำสายอื่นที่ส่วนใหญ่ไหลลงสู่ทิศใต้ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเชียงตุงนอกจากมีชาวไทเขินแล้วยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เช่น ไทใหญ่ ไทเหนือ พม่า อาข่า ลั๊ว เป็นต้น 

ในอดีตเมืองเชียงตุงเป็นรัฐอิสระ มีเอกราชปกครองโดยเจ้าฟ้าสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ มีความสัมพันทางเครือญาติกับเมืองต่างๆเชื้อสายไตด้วยกัน โดยเฉพาะเชียงใหม่ ระบบเจ้าฟ้าได้ถูกยกเลิกไปโดยรัฐบาลพม่าในช่วงปี 2446 - 2519 ชาวไทเขินมีตัวอักษร ภาษาเขียน และภาษาพูดเป็นของตัวเอง มีความใกล้เคียงกับภาษาล้านนามากที่สุด

ชาวไทเขินในเชียงตุงนับถือพุธศาสนา ซึ่งรุ่งเรืองมาหลายร้อยปี เด็กชายบวชเณรพออายุครบก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุ นอกจากให้ลูกหลานได้เล่าเรียนแล้ว ก็ให้ลูกหลานเรียนหนังสือด้วย พระสงฆ์นอกจากจะสอนพระพุธศาสนายังสอนภาษาไทเขิน วัดในเชียงตุงจึงมีบทบาทในการสืบสานอัตลักษณ์ และวิถีชีวิตของชาวไทเขินให้สืบเนื่องกันมา

ความโดดเด่นหรืออัตลักษณ์ของทางด้านวัฒนธรรมของชาวไทเขิน คือเป็นช่างฝีมือชั้นสูงชาวไทขืนได้ผลิตภาชนะสำหรับใส่ของที่ทำจากไม้ไผ่เคลือบยางรัก หรือชาติ จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วไปตามชื่อของชาวไทเขินว่า เครื่องเขิน คนทั่วไปจะพบเห็นเครื่องเขินในฐานะของงานฝีมือที่เป็นของที่ระลึกของฝากจากเชียงใหม่ แต่ถึงกระนั้นเครื่องเขินของเชียงตุง (http://www.ichiangrai.co.th) กับเชียงใหม่ ก็มีลักษณะที่แตกต่างกัน

เครื่องเขินของเชียงตุงมีการใช้ยางรักมาปั้นคลึงเป็นเส้นเล็กๆขดเป็นลาย หรือปั้นเป็นรูปร่างต่างก่อนจะลงรักปิดทองประดับ สันนิษฐานว่า ชาวเขินบางส่วนได้มาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองเชียงใหม่นับแต่สมัยพญามังราย ความสัมพันของทั้งสองเมืองผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้น ทั้งในระดับเจ้าฟ้า และสามัญชน 
             
ในช่วงสมัยราชวงค์มังราย ได้ส่งเครือญาติไปครองเมืองเชียงตุงในหลายครา แต่ด้วยเชียงตุงเป็นเมืองเล็กจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของล้านนา และพม่า อาจเป็นไปได้ว่าในสมัยพระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่า ได้เข้ามาตีเมืองเชียงใหม่และกวาดต้อนช่างฝีมือเชียงใหม่รวมถึงช่างเครื่องเขินไปให้พม่าด้วย ชาวพม่าจึงเรียกเครื่องเขินว่า ยวนเถ่ หรือเครื่องใช้ของชาวยวน

ในสมัยพระเจ้ากาวิละได้ขับไล่พม่าออกจากล้านนา ช่วงนั้นเชียงใหม่กลายเป็นเมืองร้าง ชาวบ้านหนีภัยสงครามออกจากเมือง จึงได้ยกทัพไปทำสงครามเพื่อกวาดต้อนไพร่พลจากเมืองต่างๆ มาอยู่และสร้างเมืองเชียงใหม่ ซึ่งรวมทั้งชาวไทเขินด้วยที่มีความสามารถทางด้านช่าง ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านนันธารามชุมชนประตูเชียงใหม่ ถนนวัวลาย ตำบลหายา อำเภอเมือง ส่วนกลุ่มชาวไทเขินที่เป็นผู้ติดตามมาได้กระจายออกไปตั้งบ้านเรือนตามแหล่งพื้นที่ต่างในเชียงใหม่ ปัจจุบันอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอสันกำแพง อำเภอแม่อร อำเภอสันป่าตองเป็นต้น 

ไทเขินเชียงใหม่แม้จะจากดินแดนต้นกำเนิดมากว่า 200 ปี แต่ยังคงสืบสานวิถีไทเขิน และสำนึกถึงความผูกพันกับไทเขินเชียงตุงตลอดมา ในขณะที่ไทเขินในเชียงตุง (http://www.ichiangrai.co.th) ยังสืบสานอัตลักษณ์ของตนไว้ได้อย่างมั่นคงสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทเขินจนถึงทุกวันนี้

 เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง

ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

Tuesday, March 10, 2015

วิถีชีวิตชาว “ไทลื้อ” สิบสองปันนา



เมื่อกล่าวถึงกลุ่มชนที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในดินแดนเอเชียอาคเนย์ ในจำนวนนั้นน่าจะมีชื่อของชนชาติ ไตหรือ ไทแม้จะยังไม่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางมากนัก แต่นักวิชาการหลายสาขาก็มีความเห็นตรงกันว่า ชนเผ่าไทอยู่ในกลุ่มชนเผ่าดั้งเดิมยุคแรก ๆ ของโลก อาจจะเก่าแก่เสียยิ่งกว่าชาวจีนและชาวฮิบรูในอิสราเอลเสียอีก

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีระบุว่า ชาวไทลื้อ ดำรงความเป็นชนชาติมานานกว่า 2,000 ปี แต่อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของไทลื้อนั้นถูกสถาปนาขึ้นในช่วงเวลาก่อนหน้าอาณาจักรสุโขทัยไม่นานนัก ปัจจัยสำคัญที่เกื้อหนุนความรุ่งเรืองของสิบสองปันนา (http://www.ichiangrai.co.th) มาแต่อดีตกาลก็คือ การเป็นดินแดนที่มีอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อน มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีเพียง 21 องศาเซลเซียส มีฝนตกชุกแต่ไม่มีน้ำแข็งหรือหิมะ จึงทำให้ต้นไม้ใบหญ้าเขียวชอุ่มตลอดปี เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ มีความหลากหมายทางชีวภาพ ทั้งยังมีทัศนียภาพที่สวยงามแวดล้อมด้วยภูเขาและป่าไม้ทึบ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สิบสองปันนาได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของมณฑลยูนนาน เป็นอาณาจักรแห่งต้นไม้ และไข่มุกสีเขียวของจีนทำให้นักประวัติศาสตร์หลายท่านลงความเห็นว่า ด้วยปัจจัยเช่นนี้ จึงทำให้ชาวไทลื้อสิบสองปันนาดำรงชนชาติสืบเนื่องมานานถึงพันกว่าปี

ความสำคัญของสิบสองปันนา ไม่ได้อยู่ที่เป็นเมืองขึ้นชื่อในเรื่องการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว ทว่าในอดีตจนถึงปัจจุบันเมืองแห่งนี้ยังเป็น

ถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมของชาว ไทและหากและกล่าวว่าชาวไทในสิบสองปันนาเป็นบรรพบุรุษแห่งรากเหง้าเผ่าพันธุ์ของ คนไทยในปัจจุบันก็คงไม่ผิดนัก ขณะเดียวกันในสิบสองปันนายังมีพื้นที่ราบอันกว้างใหญ่ที่มีการทำเกษตรกรรมมานับพันปี

จากประวัติศาสตร์ของจีนที่เกี่ยวข้องกับเมืองสิบสองปันนา หรือที่สมัยนั้นเรียกว่า เซอหลี่ได้บันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า สิบสองปันนาเป็นดินแดนที่มีความเจริญทางด้านเกษตรกรรมมากที่สุด พวกเขารู้จักใช้แรงงงานช้างในการไถและพรวนดิน มีระบบการชลประทานที่พร้อมบริบูรณ์เพื่อเพิ่มพูนผลผลิตข้าว จึงไม่แปลกใจที่ไปสิบสองปันนาแล้วมองลงมาจากเครื่องบินจะเห็นที่ราบทุ่งนาเขียวขจี พื้นที่เกษตรกรรมที่ว่ากันว่าข้าวจากที่นี่ใช้เลี้ยงผู้คนกว่าครึ่งในมณฑลยูนนาน

เชียงรุ่ง หรือ เชียงรุ้ง หรือ จิ่งหง ในภาษาจีน เป็นเมืองเอกของสิบสองปันนา (http://www.ichiangrai.co.th)  มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน คำว่า เชียงรุ่งหมายถึงนครแห่งรุ่งอรุณ ซึ่งตั้งขึ้นตามความหมายขณะที่บรรพบุรุษของชาวไตในสิบสองปันนาชื่อ พญาอาลาโวซึ่งเป็นหัวหน้าได้นำลูกบ้าน 15 คน ไล่ตามกวางทองจนมาถึงดินแดนแห่งนี้แล้วพบเห็นทำเลที่สวยงามจึงตัดสินใจตั้งหลักแหล่งขึ้น โดยได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 หมู่บ้าน เรียกว่า อาลาวีต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เชียงรุ่งซึ่งพญาอาลาโวได้ไล่ตามกวางทองมาถึงดินแดนแห่งนี้เป็นเวลารุ่งเช้าพอดี

สมัยต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครอง เมืองลื้อขึ้นเป็นรูปเป็นร่างแล้ว ชาวไตลื้อที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ได้ทำการติดต่อกับราชวงศ์ถังของจีน แต่เนื่องจากการติดต่อกับชนชาวฮั่นมีความไม่สะดวกเพราะอยู่ห่างไกลกันมาก ประกอบพูดภาษากันไม่รู้เรื่อง ชาวไตในเมืองลื้อจึงหันมาติดต่อกับทางหนานเจา (เมืองน่านเจ้า) และ ต้าหลี่ (เมืองตาลีฟู) เพราะอยู่ใกล้และพูดคุยกันรู้เรื่อง

เมื่อถึงสมัยพญาเจิง ชาวไตแห่งเมืองลื้อ ประกาศไม่ขึ้นต่ออาณาจักรต้าหลี่และราชวงศ์ซ่งไต้ของจีน ตลอดจนพม่าซึ่งก่อนหน้านั้นเข้ามามีอิทธิพลทางการค้าเหนือเมืองลื้อ พญาเจิงได้ยกทัพไปตีเมืองต่าง ๆ ในเขตใกล้เคียงมาไว้ในอำนาจ รวมถึงล้านนา ลาว เชียงตุง สมัยนี้เองที่ได้มีการจัดตั้งเป็นอาณาจักรสิบสองปันนาขึ้น พญาเจิงได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินองค์แรก (พ.ศ.1703 – 1724) มีกษัตริย์ปกครองถึง 44 พระองค์ รวมระยะเวลาที่สิบสองปันนาปกครองในระบอบกษัตริย์ยาวนานถึงกว่า 800 ปี

แต่ภายหลังที่กองทัพปลดแอกประชาชนจีน ได้เคลื่อนเข้าไปในสิบสองปันนายกฐานะเป็นเขตปกครองตนเองชนชาติไตสิบสองปันนา สังกัดมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Xishaungbanna Dai Autonomous Prefecture” ยุติระบอบกษัตริย์แห่งอาณาจักรสิบสองปันนา เจ้าหม่อมคำลือ เชื้อพระวงศ์องค์สุดท้ายถูกลดฐานะเป็นแค่ประธานกรรมการประสานงานเขตปกครองตนเอง มีชื่อในภาษาจีนว่า ตาวซื่อซิน

ในสิบสองปันนามีประชากรทั้งหมดกว่า 7 แสนคน มีชนชาติ ไตหรือ ไทอาศัยอยู่ประมาณ 2 แสนคน ที่เหลือเป็นคนจีน ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 นับถือศาสนาพุทธ ความโดดเด่นของชาวไตลื้อในสิบสองปันนา (http://www.ichiangrai.co.th) คือ การสร้างบ้านเรือนด้วยไม้ไผ่ยกเสาสูง ภายในบ้านจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนที่ใช้เป็นห้องนอนและส่วนที่ใช้รับแขก รอบ ๆ บ้านนิยมปลูกต้นผลหมากรากไม้เอาไว้

จะว่าไปเมืองเชียงรุ้ง นับว่ามีความเจริญเป็นอย่างมาก อาคารพานิชน้อยใหญ่ผุดขึ้นหลายแห่ง บริเวณในเมืองเป็นที่อยู่ของชาวจีนที่เข้ามาค้าขายสินค้า ถนนในเมืองมีเพียงรถยนต์ไม่กี่คันส่วนใหญ่ชาวจีนนิยมใช้รถจักรยานและมอเตอร์ไซด์ ริมทางเท้าจะเห็นหญิงสาวในชุดไทลื้อ นุ่งผ้าถุงยาวสวมเสื้อแขนกระบอกเอวลอยเดินสวนกับสาวชาวจีนในชุดกระโปร่งสั้น สวมถุงน่องและรองเท้าส้นสูง การผสมผสานระหว่าง ความใหม่กับ ความเก่านับเป็นเสน่ห์ของเมืองเชียงรุ้งที่ดำรงอยู่ได้อย่างกลมกลืน

ขณะที่หมู่บ้านต่าง ๆ รอบเมืองจะเป็นหมู่บ้านของชาวไทลื้อ ซึ่งมีวิถีชีวิตและบรรยากาศคล้ายคลึงกับชนบทในบ้านเรา การแต่งกายของชาวไทลื้อ ผู้ชายส่วนใหญ่จะใส่เสื้อผ่าอก แขนสั้นเอวลอย นุ่งกางเกงขายาวใช้ผ้าสีขาวหรือสีน้ำเงินพันรอบศีรษะ ส่วนหญิงชาวไทลื้อจะนิยมใส่เสื้อผ้าสีฉูดฉาด เช่น ขาว แดง น้ำเงิน เหลือง แบบรัดตัวแขนทรงกระบอก นุ่งซิ่นครอมส้น คาดเข็มขัดเงิน

เมื่อไปเยือนเมืองเชียงรุ่ง ต้องไม่พลาดที่จะไปเยี่ยมชมตลาดเช้าไตลื้อที่ ตลาดกาหลัมป้า เมืองฮัม ซึ่งอยู่ห่างนอกเมืองเชียงรุ่งไปอีกประมาณ 45 กม. ที่นี่มีสินค้าพื้นเมืองหลากหลายชนิดวางขาย ได้แก่ ผ้าซิ่นไตลื้อ ผ้าทอ ผสมปนเปกับอาหารพื้นเมืองจำพวก ผัก ผลไม้ ของป่า ยาสมุนไพร สีสันของตลาดเช้ากาหลัมป้าอยู่ที่การแต่งกายของแม่ค้าชาวไตลื้อ นิ่งผ้าซิ่น โพกหัวด้วยผ้าหลากสี ส่วนภาษาที่พูดคล้ายกับภาษาคำเมืองของล้านนา แต่ว่าสำเนียงอาจเพี้ยนออกไปทางภาษาชาวยอง

การแวะเวียนไปเยี่ยมพี่น้องที่บ้านเมืองฮัม ทำให้เราได้พบพี่ชายพี่สาวชาวไทลื้อหลายคน ที่ออกปากเชื้อเชิญให้ไปเที่ยวบ้าน เมื่อรู้ว่าเราเป็นคนไทยมาจากประเทศไทย น้ำใจไมตรีเช่นนี้แม้จะหาแทบไม่ได้ในสังคมเมืองกรุง แต่ยังพบได้ในสังคม ไทแท้ที่สงบงามอย่างสิบสองปันนา (http://www.ichiangrai.co.th)

การดำรงอยู่ของกลุ่มชนชาว ไทในท่ามกลางกระแสวัฒนธรรมของชนชาวจีนในเมืองสิบสองปันนาที่ผสมผสานปนเปกับวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม จะคงเหลืออยู่ต่อไปอีกนานแค่ไหน ในเมื่อสิบสองปันนาเคยเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของชาวไทลื้อ แต่วันนี้พวกเขาเป็นเพียงชนชาติส่วนน้อยในจีนและบ้างก็เป็นผู้พลัดถิ่นในดินแดนไทยและพม่า

 เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง

ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th