Tuesday, March 17, 2015

ไทเขิน หรือไทขืน แห่งเชียงตุง




เชียงตุงเมืองเล็กๆในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์  ปัจจุบันมีอายุเก่าแก่ราว 800 ปี เดิมชนพื้นเมืองบริเวณนี้เป็นชาวลั๊ว แต่ต่อมาชนเชื้อสายไตได้เข้ามาอยู่อาศัยเรียกว่า ไตขืน หรือ ไตเขิน เหตุที่เรียกว่าไตขืน หรือ ไตเขิน เพราะอาศัยอยู่ลุ่มแม่น้ำขืน ขืนแปลว่า ฝืน เพราะแม่น้ำสายนี้ไหลย้อนขึ้นเหนือ ผ่านเชียงตุง (http://www.ichiangrai.co.th) ก่อนจะไหลลงใต้ลงสู่แม่น้ำโขง ผิดจากแม่น้ำสายอื่นที่ส่วนใหญ่ไหลลงสู่ทิศใต้ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเชียงตุงนอกจากมีชาวไทเขินแล้วยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เช่น ไทใหญ่ ไทเหนือ พม่า อาข่า ลั๊ว เป็นต้น 

ในอดีตเมืองเชียงตุงเป็นรัฐอิสระ มีเอกราชปกครองโดยเจ้าฟ้าสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ มีความสัมพันทางเครือญาติกับเมืองต่างๆเชื้อสายไตด้วยกัน โดยเฉพาะเชียงใหม่ ระบบเจ้าฟ้าได้ถูกยกเลิกไปโดยรัฐบาลพม่าในช่วงปี 2446 - 2519 ชาวไทเขินมีตัวอักษร ภาษาเขียน และภาษาพูดเป็นของตัวเอง มีความใกล้เคียงกับภาษาล้านนามากที่สุด

ชาวไทเขินในเชียงตุงนับถือพุธศาสนา ซึ่งรุ่งเรืองมาหลายร้อยปี เด็กชายบวชเณรพออายุครบก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุ นอกจากให้ลูกหลานได้เล่าเรียนแล้ว ก็ให้ลูกหลานเรียนหนังสือด้วย พระสงฆ์นอกจากจะสอนพระพุธศาสนายังสอนภาษาไทเขิน วัดในเชียงตุงจึงมีบทบาทในการสืบสานอัตลักษณ์ และวิถีชีวิตของชาวไทเขินให้สืบเนื่องกันมา

ความโดดเด่นหรืออัตลักษณ์ของทางด้านวัฒนธรรมของชาวไทเขิน คือเป็นช่างฝีมือชั้นสูงชาวไทขืนได้ผลิตภาชนะสำหรับใส่ของที่ทำจากไม้ไผ่เคลือบยางรัก หรือชาติ จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วไปตามชื่อของชาวไทเขินว่า เครื่องเขิน คนทั่วไปจะพบเห็นเครื่องเขินในฐานะของงานฝีมือที่เป็นของที่ระลึกของฝากจากเชียงใหม่ แต่ถึงกระนั้นเครื่องเขินของเชียงตุง (http://www.ichiangrai.co.th) กับเชียงใหม่ ก็มีลักษณะที่แตกต่างกัน

เครื่องเขินของเชียงตุงมีการใช้ยางรักมาปั้นคลึงเป็นเส้นเล็กๆขดเป็นลาย หรือปั้นเป็นรูปร่างต่างก่อนจะลงรักปิดทองประดับ สันนิษฐานว่า ชาวเขินบางส่วนได้มาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองเชียงใหม่นับแต่สมัยพญามังราย ความสัมพันของทั้งสองเมืองผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้น ทั้งในระดับเจ้าฟ้า และสามัญชน 
             
ในช่วงสมัยราชวงค์มังราย ได้ส่งเครือญาติไปครองเมืองเชียงตุงในหลายครา แต่ด้วยเชียงตุงเป็นเมืองเล็กจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของล้านนา และพม่า อาจเป็นไปได้ว่าในสมัยพระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่า ได้เข้ามาตีเมืองเชียงใหม่และกวาดต้อนช่างฝีมือเชียงใหม่รวมถึงช่างเครื่องเขินไปให้พม่าด้วย ชาวพม่าจึงเรียกเครื่องเขินว่า ยวนเถ่ หรือเครื่องใช้ของชาวยวน

ในสมัยพระเจ้ากาวิละได้ขับไล่พม่าออกจากล้านนา ช่วงนั้นเชียงใหม่กลายเป็นเมืองร้าง ชาวบ้านหนีภัยสงครามออกจากเมือง จึงได้ยกทัพไปทำสงครามเพื่อกวาดต้อนไพร่พลจากเมืองต่างๆ มาอยู่และสร้างเมืองเชียงใหม่ ซึ่งรวมทั้งชาวไทเขินด้วยที่มีความสามารถทางด้านช่าง ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านนันธารามชุมชนประตูเชียงใหม่ ถนนวัวลาย ตำบลหายา อำเภอเมือง ส่วนกลุ่มชาวไทเขินที่เป็นผู้ติดตามมาได้กระจายออกไปตั้งบ้านเรือนตามแหล่งพื้นที่ต่างในเชียงใหม่ ปัจจุบันอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอสันกำแพง อำเภอแม่อร อำเภอสันป่าตองเป็นต้น 

ไทเขินเชียงใหม่แม้จะจากดินแดนต้นกำเนิดมากว่า 200 ปี แต่ยังคงสืบสานวิถีไทเขิน และสำนึกถึงความผูกพันกับไทเขินเชียงตุงตลอดมา ในขณะที่ไทเขินในเชียงตุง (http://www.ichiangrai.co.th) ยังสืบสานอัตลักษณ์ของตนไว้ได้อย่างมั่นคงสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทเขินจนถึงทุกวันนี้

 เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง

ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

No comments:

Post a Comment