Tuesday, March 3, 2015

"การสร้างอาณาจักรสิบสองพันนา" ตอนที่ 4 (**ตอนจบ)



ปี พ.ศ.1723 พญาเจิง(เจือง) ได้รวบรวมชาวไทลื้อให้เป็นปึกแผ่น และสถาปนา"อาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง"(เอกสารจีนเรียก"จิ่งหลงกว๋อ") โดยประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นอยู่กับอาณาจักรน่านเจ้า(ตาลีฟู)ของจีน มีเมืองเชียงรุ่ง(เอกสารจีนสมัยนั้น เรียกว่า เมืองเชอหลี่) เป็นเมืองศูนย์กลาง พญาเจิงขยายอํานาจออกไปยึดครองเมืองต่างๆที่เป็นแหล่งบ่อเกลือ อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจมากอย่างหนึ่งของดินแดน ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน คือ เมืองบ่อแฮ่ เมืองเชียงแฮ่ เมืองสาใต้ เมืองส่างยอง และเมืองเชียงฟ้า

อาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง ดํารงความเป็นอิสระอยู่ได้เพียงสมัยของพญาเจิง เมื่อพญาเจิงสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 1735 เจ้าสามไค้เนือง โอรสพญาเจิงได้ขึ้นปกครองเป็นเจ้าแผ่นดินสืบแทนและสวามิภักดิ์ต่อน่าน เจ้า(ตาลีฟู) กษัตริย์แห่งน่านเจ้าได้แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเป็น “จิ่วเจียงหวัง” หรือเจ้าแห่งแม่น้ําโขง โดยส่งส่วยเล็กให้แก่ตาลีฟู 5 ปีครั้ง และส่วยใหญ่ 9 ปีครั้ง จนกระทั่งมองโกลได้รุกรานยูนนาน และยึดครองน่านเจ้า(ตาลีฟู) ในปี พ.ศ. 1796 อาณาจักรหอคำเชียงรุ่งจึงได้ถูกมองโกลรุกรานและผนวกเข้าไว้ในปี พ.ศ.1818 อย่างไรก็ตามจีนก็มิได้เข้าไปเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองการปกครองที่เคยเป็นมา ของเชียงรุ่งแต่อย่างใด การยอมรับอำนาจของจีน เป็นเพียงการส่งบรรณาการให้เท่านั้น


ปรากฏหลักฐานเป็นครั้งแรกว่าในปี พ.ศ. 2115 สมัยเจ้าอิ่นเมือง (พ.ศ. 2112 -2141) ได้กําหนด “เขตท้องถิ่น” ดังคำเรียกขานอย่างคล้องจองของชาวไทลื้อที่ว่า "5 เมิงตะวันตก 6 เมิงตะวันออกของ รวมเจงฮุ่งปิ๋น สิบสองปันนา" ซึ่งหมายถึง 5 เมืองตะวันตก 6 เมืองตะวันออกของแม่น้ำโขง รวมกับเชียงรุ่งซึ่งเป็นศูนย์กลางอีก 1 เมือง เป็น 12 เมืองใหญ่ หรือ 12 พันนา


สิบสองพันนา (http://www.ichiangrai.co.th) เป็นการแบ่งเขตการปกครองตามพื้นที่ทางเกษตรกรรม โดยแต่ละหัวเมืองให้มีที่ทำนา 1,000 หาบข้าว (เชื้อพันธุ์ข้าว) ต่อนาหนึ่งที่/หนึ่งหัวเมือง จึงเป็นที่มาของ "สิบสองพันนา"จนถึงปัจจุบัน (ไทลื้อออกเสียง"พ"เป็น"ป" จึงออกเสียงว่า"สิบสองปันนา")

 
หมายเหตุ ศักราช ในแต่ละหลักฐานทางประวัติศาสตร์อาจคลาดเคลื่อนกันอยู่บ้าง ในที่นี้แอดมินขออ้างอิงตามเอกสารอ้างอิงตามที่ระบุนี้เป็นหลัก

หลักฐานหลายฉบับไม่ค่อยระบุเรื่องการส่งบรรณาการแก่ตาลีฟู(น่านเจ้า) ระบุเพียงการส่งบรรณการแก่จีนตั้งแต่มองโกลรุกรานสิบสองปันนา แต่เอกสารข้างจีนระบุว่ามีการส่งบรรณาการแก่ตาลีฟูตั้งแต่ พ.ศ.1735

ที่มา
1. เฉาสิงจางและจางหยวนซิ้ง, คณะกรรมการสืบค้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยเกี่ยวกับจีนในเอกสารจีน. สํานักนายกรัฐมนตรี แปล, ชนชาติไทย.หน้า 6-7.
2. ทวี สว่างปัญญางกูร . ตำนานพื้นเมืองสิบสองปันนา
3. โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรม และชาติพันธุ์ล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ไทลื้อ อัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ไท

เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

No comments:

Post a Comment