Sunday, March 1, 2015

"การสร้างอาณาจักรสิบสองพันนา" ตอนที่ 2


ช่วงกลางพุทธศตวรรษที่12-15 หรือก่อนที่กษัตริย์จากอาณาจักรน่านเจ้าจะส่งโอรสชื่อ เทาซูงฟ้า หรือไตลื้อเรียก “เจ้าราชบุตร” ยกทัพมายึดครองนั้น "เวียงเชียงมู่" เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ําโขงเหนือเมืองเชียงรุ่ง เวียงเชียงมู่ในสมัยนั้นน่าจะเป็นเมืองศูนย์กลางของเมืองลื้อดังปรากฏว่า ยุคนั้นยังมีเมืองต่างๆอีกหลายเมือง คือ เมืองแม่ย่า (ต่อมา คือเมืองเชียงรุ่ง ) เมืองป่าหมาความหลวง (ต่อมาคือเมืองฮํา) เมืองฮาย เมืองลวง เมืองปาน เมืองแลม เมืองงู ป่าซาง เชียงแมน เมืองม้า เชียงลาบ เมืองยู้ เมืองหลวย เป็นต้น

เวียงเชียงมู่ในฐานะเมืองศูนย์กลางของเมืองลื้อนั้นน่าจะหมายถึงเมืองที่เป็นที่ประทับของเจ้าแผ่นดินเมืองลื้อ แต่จะมีอำนาจทางการเมืองเหนือเมืองต่างๆ เหล่านั้นเพียงใดนั้นยังไม่ปรากฏหลักฐาน

ก่อนที่คนไทลื้อจะเข้ามาก่อตั้งเป็นอาณาจักรสิบสองปันนา (http://www.ichiangrai.co.th) พวกละว้าหรือลัวะ พวกอาข่า และปะหล่อง ได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น้ํา อาจเป็นไปได้ว่า เมื่อเมืองลื้อได้พัฒนา ขยายใหญ่ขึ้น ชาวไตลื้อจึงได้มีการเคลื่อนย้ายหรือกระจายมาตั้งถิ่นฐานตามที่ราบลุ่มแม่น้ําต่างๆ นี้ แล้วได้เกิดการสู้รบกับชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อแย่งชิงพื้นที่ทําการผลิต ทําให้ชนเผ่าพื้นเมืองเหล่านี้ต้องอพยพไปอยู่บนภูเขา

การทำนา และการเพาะปลูกตามที่ราบลุ่มแม่น้ำต่างๆเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ก่อให้เกิดสังคม ชุมชน หมู่บ้านขึ้น แต่ปัจจัยสําคัญที่มีผลทําให้ชุมชนต่างๆ ของเมืองลื้อสามารถพัฒนาตนเองขึ้นมาจนเป็นชุมชนที่ใหญ่โตขึ้นจนเป็นเมืองได้นั้น คือ การมีทรัพยากร ธรรมชาติอยู่ภายในเมืองลื้อและ การค้าขายกับรัฐต่างๆ สังเกตจากเมืองลื้ออยู่ในเส้นทางการค้าระหว่างจีน พม่า อินเดีย ลาว และภาคเหนือของไทย จากหลักฐานในกลางพุทธศตวรรษที่ 18 ดินแดนนี้มีเส้นทางที่ติดต่อค้าขายหรือ เส้นทางคมนาคมระหว่างเมืองเล็กๆกับเมืองศูนย์กลางที่สําคัญๆ แล้ว เช่น เชียงแสน หลวงพระบางและเวียงจันทน์ เป็นต้น

อีกทั้งเมืองลื้อเองนั้นยังเป็น เมืองที่มีพืชเศรษฐกิจที่สําคัญและ เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศจวบจนปัจจุบัน นั่นก็คือ ชาผู่เอ๋อ อันเป็นใบชาที่ผลิตได้จากเมืองลื้อหรือสิบสองพันนา (http://www.ichiangrai.co.th) ทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังมีไม้ที่มีราคา เช่น ไม้กฤษณา ไม้สัก ไม้สน ไม้ฉําฉา ไม้การบูร เป็นต้น ซึ่งการค้าระหว่างรัฐย่อมมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของชุมชน และผลักดันให้มีการพัฒนาเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้นได้

ที่มา
1 ทวี สว่างปัญญางกูร . ตำนานพื้นเมืองสิบสองปันนา.
หน้า 55 – 59.
2 ณัชชา เลาหศิรินาถ .สิบสองพันนา รัฐจารีต. หน้า 15.
3 โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรม และชาติพันธุ์ล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ไทลื้อ อัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ไท
หน้า 27-28

เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

No comments:

Post a Comment