Thursday, March 5, 2015

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 การประชุมป๋างโหลง ครั้งที่ 2




แต่เดิมนั้น การประชุมป๋างโหลง วันที่ 7 กุมภาพันธ์ นั้นจัดขึ้นเพื่อรับรอง การกำหนด วันขาติไทใหญ่ที่มีประชาชนมีส่วนร่วม และเพลงชาติไทใหญ่ ซึ่งปีที่ผ่าน มายังไม่มี การรับรองผลอย่างเป็นทางการ ในประชุมที่ป๋างโหลง ตอนแรกนั้น บรรดาเจ้าฟ้า เรียกร้อง ถึงข้าหลวงอังกฤษว่าถ้าในคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าไม่มีตัวแทนประชาชน เข้าร่วม ถึง กึ่งหนึ่ง ทางบรรดาเจ้าฟ้าก็จะไม่เข้าร่วมด้วย

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2490 ช่วงเย็น ตัวแทนประชาชนไทใหญ่ รวม ทั้งบรรดาเจ้าฟ้าและ ภาค ประชาชน ได้จัดประชุมขึ้น เพื่อหารือเรื่องการประกาศรับรองการกำหนด วันขาติและ ธง ชาติไทใหญ่ ขณะกำลังประชุมอยู่ เวลาประมาณห้าโมงครึ่ง มีโทรสารด่วน มาจากข้าหลวง อังกฤษ โดยมีใจความว่าข้อเรียกร้องของเจ้าฟ้าที่ได้เรียกร้องไปนั้นจะไม่สามารถทำตามได้ หากต้องการเรียกร้อง หรือมีข้อเสนออันใด ก็ขอให้มีการจัดการประชุมขึ้นอย่างเป็นทางการที่เมืองตองจี ที่มี ข้าหลวง ใหญ่ของอังกฤษเป็นประธาน” 

จากนั้นในช่วงเย็น เวลาประมาณ 19.00 น. ของวันเดียวกัน ได้มีการเรียกประชุมฉุกเฉินภาคประชาชน ระหว่างเจ้าฟ้าเมือง ต่างๆ และตัวแทนประชาชนทุกส่วนในสหพันธรัฐฉานขึ้น โดยให้ทุกฝ่าย แสดงความคิดเห็นต่อ ข้อเสนอของอังกฤษ ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ ได้แสดงการคัดค้านไม่เห็นด้วย พร้อมกันนั้น ได้มีมติร่วมกันออกแถลงการณ์จัดตั้งสภาสหพันธรัฐรัฐฉานขึ้นภายในวันนั้น (วันที่ 7 ก.พ. 2490 ) โดยมีตัวแทนเจ้าฟ้า 7 ท่าน และประชาชนอีก 7 คน เป็นผู้ลงนาม เวลาประมาณ 19.30 น. ได้มีการสนับสนุนและรับรองข้อเรียกร้องเดิมของเจ้าฟ้าแล้ว ได้มีการส่ง โทรสาร ด่วนไปถึงข้าหลวงอังกฤษ โดยเจ้าขุนปานจิ่ง เจ้าฟ้าปกครอง เมืองน้ำสั่น(ต่องแป่ง)

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2490 บรรดาเจ้าฟ้า และตัวแทนประชาชน ได้มีการประชุมต่อแล้ว ได้มี การประกาศรับรองการกำหนดวันขาติ ธงชาติ และเพลงชาติไทใหญ่ ซึ่งยังใช้ร้องกัน ถึงทุกวันนี้ อย่างเป็นทางการ สภาสหพันธรัฐรัฐ ฉานที่จัดตั้งขึ้นมาได้สำเร็จก็เพราะ ความ สามัคคี ของทุกๆฝ่าย ทั้งเจ้าฟ้า และประชาชานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เรียกร้อง ต่อสู้สิทธิและเสรีภาพ จากเจ้าอาณานิคม วันดังกล่าวจึงได้ประกาศให้เป็นวันชาติไทใหญ่จึง ได้จัดวันชาติไทใหญ่ เฉลิมฉลองกันทั่วทั้งในประเทศต่างประเทศจนถึงปัจจุบันนี้

ส่วนเพลงชาติไทใหญ่นั้น ประพันธ์โดย นายแพทย์ บ้าหย่าน (Dr.Ba Nyan) ตั้งแต่สมัย ญี่ปุ่นปกครองรัฐฉาน ก่อนสงครามโลกที่สอง ธงชาติไทใหญ่ก็มีมาตั้งแต่สมันนั้นเช่นกัน แต่ธงชาติไทใหญ่สมันนั้น ตรงกลางจะเป็น หัวเสือแทนที่เป็น ดวงจันทร์ปัจจุบัน เนื้อเพลงก็เปลี่ยนตามไปด้วยเช่นกัน

พ.ศ 2493 สมัยเจ้าขุนเขียว เจ้าฟ้าเมืองมีด เป็นประธานแห่งรัฐฉาน ได้เสนอให้เปลี่ยนชื่อ วันเคอไตหรือวันชาติไทใหญ่มาเป็น วันเชื้อชาติชาติพันธ์รัฐฉานและเป็นมาวันเมืองไตหรือ วันเชื้อชาติรัฐฉานและบางแห่งก็เรียกว่า วันไตแบบสั้นๆ จนถึงทุกวัน นี้ อย่างไรก็ตาม วันเคอไตหรือวันเชื้อชาติรัฐฉานเป็นวันที่ต่อสู้เรียกร้อง มาด้วยความ สามัคคี ของเจ้าฟ้า และประชาชนรัฐฉาน จึงสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประชาชน ในรัฐฉาน ทุกคน และชาวไต(ไทใหญ่)ทุกคน เพื่อให้เป็นไปตามขนบประเพณีดั้งเดิม และเพื่อเป็น หลัก สมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน จึงสมควรจะถือเอาวันดังกล่าว เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทใหญ่ต่อไป

แปลมาจาก ภาษาไต โดย โอเคไต

เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง

ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

No comments:

Post a Comment