เมื่อกล่าวถึงกลุ่มชนที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในดินแดนเอเชียอาคเนย์
ในจำนวนนั้นน่าจะมีชื่อของชนชาติ “ไต” หรือ
“ไท” แม้จะยังไม่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางมากนัก
แต่นักวิชาการหลายสาขาก็มีความเห็นตรงกันว่า “ชนเผ่าไท”
อยู่ในกลุ่มชนเผ่าดั้งเดิมยุคแรก ๆ ของโลก อาจจะเก่าแก่เสียยิ่งกว่าชาวจีนและชาวฮิบรูในอิสราเอลเสียอีก
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีระบุว่า
ชาวไทลื้อ ดำรงความเป็นชนชาติมานานกว่า 2,000
ปี
แต่อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของไทลื้อนั้นถูกสถาปนาขึ้นในช่วงเวลาก่อนหน้าอาณาจักรสุโขทัยไม่นานนัก
ปัจจัยสำคัญที่เกื้อหนุนความรุ่งเรืองของสิบสองปันนา (http://www.ichiangrai.co.th) มาแต่อดีตกาลก็คือ การเป็นดินแดนที่มีอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อน
มีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีเพียง 21
องศาเซลเซียส
มีฝนตกชุกแต่ไม่มีน้ำแข็งหรือหิมะ จึงทำให้ต้นไม้ใบหญ้าเขียวชอุ่มตลอดปี
เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ มีความหลากหมายทางชีวภาพ
ทั้งยังมีทัศนียภาพที่สวยงามแวดล้อมด้วยภูเขาและป่าไม้ทึบ
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สิบสองปันนาได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของมณฑลยูนนาน
เป็นอาณาจักรแห่งต้นไม้
และไข่มุกสีเขียวของจีนทำให้นักประวัติศาสตร์หลายท่านลงความเห็นว่า
ด้วยปัจจัยเช่นนี้ จึงทำให้ชาวไทลื้อสิบสองปันนาดำรงชนชาติสืบเนื่องมานานถึงพันกว่าปี
ความสำคัญของสิบสองปันนา
ไม่ได้อยู่ที่เป็นเมืองขึ้นชื่อในเรื่องการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว
ทว่าในอดีตจนถึงปัจจุบันเมืองแห่งนี้ยังเป็น
ถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมของชาว “ไท”
และหากและกล่าวว่าชาวไทในสิบสองปันนาเป็นบรรพบุรุษแห่งรากเหง้าเผ่าพันธุ์ของ
“คนไทย” ในปัจจุบันก็คงไม่ผิดนัก
ขณะเดียวกันในสิบสองปันนายังมีพื้นที่ราบอันกว้างใหญ่ที่มีการทำเกษตรกรรมมานับพันปี
จากประวัติศาสตร์ของจีนที่เกี่ยวข้องกับเมืองสิบสองปันนา
หรือที่สมัยนั้นเรียกว่า “เซอหลี่” ได้บันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า
สิบสองปันนาเป็นดินแดนที่มีความเจริญทางด้านเกษตรกรรมมากที่สุด
พวกเขารู้จักใช้แรงงงานช้างในการไถและพรวนดิน
มีระบบการชลประทานที่พร้อมบริบูรณ์เพื่อเพิ่มพูนผลผลิตข้าว
จึงไม่แปลกใจที่ไปสิบสองปันนาแล้วมองลงมาจากเครื่องบินจะเห็นที่ราบทุ่งนาเขียวขจี
พื้นที่เกษตรกรรมที่ว่ากันว่าข้าวจากที่นี่ใช้เลี้ยงผู้คนกว่าครึ่งในมณฑลยูนนาน
เชียงรุ่ง หรือ เชียงรุ้ง หรือ จิ่งหง
ในภาษาจีน เป็นเมืองเอกของสิบสองปันนา (http://www.ichiangrai.co.th) มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน คำว่า “
เชียงรุ่ง”
หมายถึงนครแห่งรุ่งอรุณ
ซึ่งตั้งขึ้นตามความหมายขณะที่บรรพบุรุษของชาวไตในสิบสองปันนาชื่อ “
พญาอาลาโว”
ซึ่งเป็นหัวหน้าได้นำลูกบ้าน 15
คน
ไล่ตามกวางทองจนมาถึงดินแดนแห่งนี้แล้วพบเห็นทำเลที่สวยงามจึงตัดสินใจตั้งหลักแหล่งขึ้น
โดยได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15
หมู่บ้าน เรียกว่า “
อาลาวี”
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “
เชียงรุ่ง”
ซึ่งพญาอาลาโวได้ไล่ตามกวางทองมาถึงดินแดนแห่งนี้เป็นเวลารุ่งเช้าพอดี
สมัยต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครอง “เมืองลื้อ”
ขึ้นเป็นรูปเป็นร่างแล้ว
ชาวไตลื้อที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ได้ทำการติดต่อกับราชวงศ์ถังของจีน
แต่เนื่องจากการติดต่อกับชนชาวฮั่นมีความไม่สะดวกเพราะอยู่ห่างไกลกันมาก
ประกอบพูดภาษากันไม่รู้เรื่อง ชาวไตในเมืองลื้อจึงหันมาติดต่อกับทางหนานเจา
(เมืองน่านเจ้า) และ ต้าหลี่ (เมืองตาลีฟู) เพราะอยู่ใกล้และพูดคุยกันรู้เรื่อง
เมื่อถึงสมัยพญาเจิง ชาวไตแห่งเมืองลื้อ
ประกาศไม่ขึ้นต่ออาณาจักรต้าหลี่และราชวงศ์ซ่งไต้ของจีน
ตลอดจนพม่าซึ่งก่อนหน้านั้นเข้ามามีอิทธิพลทางการค้าเหนือเมืองลื้อ
พญาเจิงได้ยกทัพไปตีเมืองต่าง ๆ ในเขตใกล้เคียงมาไว้ในอำนาจ รวมถึงล้านนา ลาว
เชียงตุง สมัยนี้เองที่ได้มีการจัดตั้งเป็นอาณาจักรสิบสองปันนาขึ้น
พญาเจิงได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินองค์แรก (พ.ศ.1703 – 1724) มีกษัตริย์ปกครองถึง
44 พระองค์
รวมระยะเวลาที่สิบสองปันนาปกครองในระบอบกษัตริย์ยาวนานถึงกว่า 800 ปี
แต่ภายหลังที่กองทัพปลดแอกประชาชนจีน
ได้เคลื่อนเข้าไปในสิบสองปันนายกฐานะเป็นเขตปกครองตนเองชนชาติไตสิบสองปันนา
สังกัดมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Xishaungbanna
Dai Autonomous Prefecture” ยุติระบอบกษัตริย์แห่งอาณาจักรสิบสองปันนา
เจ้าหม่อมคำลือ
เชื้อพระวงศ์องค์สุดท้ายถูกลดฐานะเป็นแค่ประธานกรรมการประสานงานเขตปกครองตนเอง
มีชื่อในภาษาจีนว่า “ตาวซื่อซิน”
ในสิบสองปันนามีประชากรทั้งหมดกว่า 7
แสนคน มีชนชาติ “
ไต”
หรือ “
ไท”
อาศัยอยู่ประมาณ 2
แสนคน ที่เหลือเป็นคนจีน
ส่วนใหญ่ร้อยละ 90
นับถือศาสนาพุทธ
ความโดดเด่นของชาวไตลื้อในสิบสองปันนา (http://www.ichiangrai.co.th) คือ การสร้างบ้านเรือนด้วยไม้ไผ่ยกเสาสูง
ภายในบ้านจะแบ่งออกเป็น 2
ส่วนคือส่วนที่ใช้เป็นห้องนอนและส่วนที่ใช้รับแขก รอบ ๆ บ้านนิยมปลูกต้นผลหมากรากไม้เอาไว้
จะว่าไปเมืองเชียงรุ้ง
นับว่ามีความเจริญเป็นอย่างมาก อาคารพานิชน้อยใหญ่ผุดขึ้นหลายแห่ง
บริเวณในเมืองเป็นที่อยู่ของชาวจีนที่เข้ามาค้าขายสินค้า
ถนนในเมืองมีเพียงรถยนต์ไม่กี่คันส่วนใหญ่ชาวจีนนิยมใช้รถจักรยานและมอเตอร์ไซด์
ริมทางเท้าจะเห็นหญิงสาวในชุดไทลื้อ นุ่งผ้าถุงยาวสวมเสื้อแขนกระบอกเอวลอยเดินสวนกับสาวชาวจีนในชุดกระโปร่งสั้น
สวมถุงน่องและรองเท้าส้นสูง การผสมผสานระหว่าง “ความใหม่”
กับ “ความเก่า” นับเป็นเสน่ห์ของเมืองเชียงรุ้งที่ดำรงอยู่ได้อย่างกลมกลืน
ขณะที่หมู่บ้านต่าง ๆ รอบเมืองจะเป็นหมู่บ้านของชาวไทลื้อ
ซึ่งมีวิถีชีวิตและบรรยากาศคล้ายคลึงกับชนบทในบ้านเรา การแต่งกายของชาวไทลื้อ
ผู้ชายส่วนใหญ่จะใส่เสื้อผ่าอก แขนสั้นเอวลอย นุ่งกางเกงขายาวใช้ผ้าสีขาวหรือสีน้ำเงินพันรอบศีรษะ
ส่วนหญิงชาวไทลื้อจะนิยมใส่เสื้อผ้าสีฉูดฉาด เช่น ขาว แดง น้ำเงิน เหลือง แบบรัดตัวแขนทรงกระบอก
นุ่งซิ่นครอมส้น คาดเข็มขัดเงิน
เมื่อไปเยือนเมืองเชียงรุ่ง
ต้องไม่พลาดที่จะไปเยี่ยมชมตลาดเช้าไตลื้อที่ ตลาดกาหลัมป้า เมืองฮัม
ซึ่งอยู่ห่างนอกเมืองเชียงรุ่งไปอีกประมาณ 45
กม. ที่นี่มีสินค้าพื้นเมืองหลากหลายชนิดวางขาย ได้แก่ ผ้าซิ่นไตลื้อ ผ้าทอ
ผสมปนเปกับอาหารพื้นเมืองจำพวก ผัก ผลไม้ ของป่า ยาสมุนไพร
สีสันของตลาดเช้ากาหลัมป้าอยู่ที่การแต่งกายของแม่ค้าชาวไตลื้อ นิ่งผ้าซิ่น
โพกหัวด้วยผ้าหลากสี ส่วนภาษาที่พูดคล้ายกับภาษาคำเมืองของล้านนา
แต่ว่าสำเนียงอาจเพี้ยนออกไปทางภาษาชาวยอง
การแวะเวียนไปเยี่ยมพี่น้องที่บ้านเมืองฮัม
ทำให้เราได้พบพี่ชายพี่สาวชาวไทลื้อหลายคน ที่ออกปากเชื้อเชิญให้ไปเที่ยวบ้าน
เมื่อรู้ว่าเราเป็นคนไทยมาจากประเทศไทย
น้ำใจไมตรีเช่นนี้แม้จะหาแทบไม่ได้ในสังคมเมืองกรุง แต่ยังพบได้ในสังคม “
ไท”
แท้ที่สงบงามอย่างสิบสองปันนา (http://www.ichiangrai.co.th)
การดำรงอยู่ของกลุ่มชนชาว “ไท”
ในท่ามกลางกระแสวัฒนธรรมของชนชาวจีนในเมืองสิบสองปันนาที่ผสมผสานปนเปกับวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม
จะคงเหลืออยู่ต่อไปอีกนานแค่ไหน
ในเมื่อสิบสองปันนาเคยเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของชาวไทลื้อ
แต่วันนี้พวกเขาเป็นเพียงชนชาติส่วนน้อยในจีนและบ้างก็เป็นผู้พลัดถิ่นในดินแดนไทยและพม่า
เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม
งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท
ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย
57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644
(ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141
อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์:
http://www.ichiangrai.co.th