Wednesday, September 17, 2014

ประวัติพ่อขุนเม็งราย (พญามังรายมหาราช)



ประวัติพ่อขุนเม็งราย ทรงประสูติมาเพื่อเป็นผู้กอบกู้และรวบรวมชาวไทยให้ป็นกลุ่มก้อน เพื่อระงับครามทุกข์เข็ญต่าง ๆ ในแผ่นดินและสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดขึ้นในแคว้นล้านนาเป็นอเนกประการ พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์เท่าที่ประมวลได้โดยสังเขปมีดังนี้

บริเวณที่ราบลุ่มของแม่น้ำกก (จังหวัด เชียงราย ปัจจุบัน) เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของชนชาติไทย และอารยะธรรมไทยตั้งแต่ก่อนพุทธศักดิ์ราช 1800 ร่องรอยที่มีอยู่มากมายบนสองฝั่งแม่น้ำกก เท่าที่ค้นพบในปัจจุบันมีซากเมืองโบราณถึง 27 เมือง ตั้งแต่อำเภอฝางซึ่งเป็นต้นแม่น้ำกกจนถึงเมืองเชียงแสน ตำนานบันทึกไว้ว่าราชวงศ์กษัตริย์ไทยเมืองชื่อ สิงหนวัติกุมาร อพยพคนไทยจากนครไทยเทศใน นครยูนนาน ลงมาตั้งอาณาจักรโยนกนาคพันธ์ ณ บริเวณละว้านที และแม่น้ำโขงตั้งแต่ต้นพุทธกาล ก่อนได้ชื่อว่าโยนกบริเวณนี้เป็นดินแดนสุวรรณโคมคำ แต่รกร้างไปแล้ว เมื่อสิงหนวัติกุมารนำไพล่บ้านพลเมืองมาจากนครไทยเทศ จึงมาสร้างเมืองขึ้นใหม่ชื่อว่า สิงหนวัตินคร 

ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น โยนกนคร ไชยบุรี ราชธานีศรีช้างแสน และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น เชียงแสน และเรียกพลเมืองของโยนกนครว่า ชาวยวน ตำนานเงินยางเชียงแสนได้กล่าวถึงปู่เจ้าลาวจก เป็นผู้ตั้งอาณาจักรเงินยาง หรือ หิรัญนคร เป็นยุคที่ 2 ต่อจากโยนกนาคพันธ์ซึ่งล่มสลายไปแล้ว โดยตั้งศูนย์กลางอยู่ ณ บริเวณเดียวกับโยนกนาคพันธ์เดิม แต่ไพล่บ้านพลเมืองส่วนใหญ่อยู่กันหนาแน่นที่ปากแม่น้ำกกสกแม่น้ำโขง อาศัยน้ำท่าที่อุดมสมบูรณ์ทำนา การปกคลองบ้านเมืองก็ใช้พื้นที่นาในการแบ่งเขต เช่น แบ่งเป็นพันนา หมื่นนา แสนนา ล้านนา เป็นต้น มีเมืองเชียงแสนเป็นเมืองสำคัญ และเมืองเล็กเมืองน้อยที่เรียกว่าเวียง เกิดขึ้นตามบริเวณที่ราบลุ่มต่างๆอีกมากมาย

 พญามังราย กษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยางองค์ที่ 25 ทรงเป็นประฐมวงศ์กษัตริย์ราชวงค์มังรายแห่งอาณาจักรล้านนา ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าลาวเม็ง กับพระนางอู้มิ่งจอมเมือง หรือ นางเทพคำขยาย ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อแรกตั้งพระครรภ์พระมารดาทรงนิมิตว่า ได้เห็นดาวประกายหยาดเต็มท้องฟ้า แล้วตกลงมาทางทิศทักษิณ พระนางได้รับดาวดวงนั้นไว้รุ่งขึ้นจึงให้โหรทำนายได้ความว่า จะได้พระราชโอรส ทรงศักดานุภาพ ปราบประเทศทิศทักษิณ จนตราบเท่าแดนสมุทรเมื่อครบกำหนดพระนางก็ทรงคลอดพระโอรสเมื่อยามใกล้รุ่ง ตรงกับ วันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน พุทธศักราช 1782 ที่เมืองเชียงลาว ขนานนามพระราชกุมารว่า เจ้ามังราย เมื่อทรงพระเยาว์ทรงศึกษาศาสตร์ต่างๆ รวมทั้งยุทธพิชัยสงคราม จากพระอาจารย์ที่พระบิดาทรงหาให้ หลังจากที่ทรงศึกษาวิชาที่สำนักเทพอีก 4 ฤาษี ณ ดอยด้วน หรือเขตอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และที่เขาสมอคอน เมืองละโว้ลพบุรี

ในพุทธศักราช 1802 พระเจ้าลาวเมงสวรรคต พญามังรายจึงขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุได้ 21 พรรษา หลังครองราชย์พระทรงพระดำริว่า แว่นแคว้นโยนกประเทศนี้ มีท้าวพญาหัวต่างๆซึ่งเป็นเชื้อวงศ์ของปู่เจ้าลาวจก (ลาวจังกราช) ต่างก็ปกครองอย่างเป็นอิสระ จึงมีเรื่องวิวาทแย่งชิงไพล่ไทย และส่วยอากรกันอยู่มิได้ขาด บ่ได้มีความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกประการหนึ่งบ้านเมืองใดหากมีผู้เป็นใหญ่ ปกครองบ้านเมืองมากเจ้าหลายนาย ก็มักจะสร้างความทุกยาก ให้แก่ไพล่บ้านพลเมืองของตน อันเป็นอาณาประชาราชยิ่งนัก และถ้าหากมีศัตรูต่างชาติเข้าโจมตี ก็อาจจะเสียเอกราชได้โดยง่าย

พระองค์จึงมีพระราชประสงค์ที่จะรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และได้ผนวกเอาเมืองต่างๆเข้าไว้ในพระราชอำนาจ ในปีพุทธสักราช 1805 พญามังราย ยกทัพมาประทับ ณ เมืองลาวกู่เต้า ช้างมงคลของพระองค์ที่ทอดไว้ทางทิศตะวันออกเกิดพลัดหายไป พระองค์จึงเสด็จติดตามรอยช้างไป จนถึงดอยจอมทองภูเขาขนาดเล็กริมฝั่งแม่น้ำกก พระองค์ทรงเห็นชัยภูมิที่ดีเหมาะแก่การสร้างเมือง จึงทรงโปรดให้สร้างเมืองใหม่ขึ้น โดยก่อปราการโอบเอาดอยจอมทองไว้ท่ามกลางเมือง และบรูณะวัดปราสาทราชมนเฑียรเก่าของเมืองไชยนารายณ์เดิม ทรงขนานนามเมืองใหม่ที่สร้างขึ้นนี้ว่า เวียงเชียงราย หมายถึง เมืองของพญามังราย และทรงย้ายราชธานีจากเมืองนครหิรัญเงินยาง มายังเมืองเชียงรายเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 1805 ต่อมาได้ตีเมืองของชาวลั๊ว คือเมือง มังคุมมังเคียน แล้วขนานนามเสียใหม่ว่า เมืองเชียงตุง ในปี พ.ศ.1817 พญามังรายเสด็จลงประทับ ณ เมืองฝาง และได้ทอดพระเนตรถึงความอุดมสมบูรณ์ และความมั่งคั่งของอาณาจักรหริกุญชัย ลำพูน พระองค์จึงทรงยกทัพมาตีเมืองหริกุญชัย และผนวกเข้ากับแคว้นโยนกเดิม พระราชทานนามอาณาจักรแห่งใหม่นี้ว่า อาณาจักรล้านนา 

ในปี พ.ศ. 1829 พญามังราย ทรงโปรดให้สร้าง เวียงกุมกาม ทรงให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน แล้วนำดินที่ได้จากการขุดเวียงต่างๆ นำมาทำเป็นอิฐก่อ เจดีย์กู่คำ ไว้ในเวียงกุมกาม เวียงกุมกามมีปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี พระองค์จึงมีดำริที่จะสร้างเมืองใหม่ โดยได้ปรึกษากับพระสหายร่วมน้ำสาบาน คือ พญาร่วง หรือ พ่อขุนรามคำแหง และพญางำเมือง จึงได้ชัยภูมิที่ราบระหว่างดอยสุเทพด้านทิศตะวันตกกับแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันออก โดยเริ่มก่อร่างสร้างเมืองเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 1839 ทรงโปรดขุดคูเมืองก่อปราการเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 900 วา ยาว 1000 วา พร้อมกับการสร้างวัด และปราสาทราชมนเฑียร โดยใช้เวลาทั้งสิ้นสี่เดือนจึงแล้วเสร็จ มีการฉลองเมืองถึง 3 วัน 3 คืน แล้วขนานนามเมืองใหม่นี้ว่า นพบุรี ศรีนครพิงค์ เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1860 ปีมะเส็ง นพศก พญามังราย เสด็จสวรรคตขณะประพาสกาดกลางเวียงเชียงใหม่ โดยถูกอสุนีบาตรตกต้องพระองค์ รวมพระชนมายุได้ 80 พรรษา 
ทรงแผ่พระเดชานุภาพในทางการรบ
ทรงนำความเจริญทางด้านศิลปกรรม
เกษตรกรรม และ พาณิชยกรรม
ทรงเป็นนักปกครองที่สามารถ
และประกอบด้วยคุณธรรมสูงส่ง

ด้วยพระราชกรณียกิจที่ทรงประกอบนานับประการ ที่มีต่ออาณาประชาราชตลอดพระชนชีพของพระองค์ หมู่มวนมหาประชาอาณาจักรล้านนา ขอเทิดพระเกียรตินามของพระองค์ว่า พญามังรายมหาราชอันมีความหมายว่า มหาราชผู้สร้างเมืองเชียงราย

จากต้นกำเนิดในความเป็นล้านนา สืบต่อวัฒนธรรมประเพณีอันงดงาม ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันกว่า 750 ปี จังหวัดเชียงรายถือเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน และมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับหลายเมือง เช่น เชียงตุง(พม่า) หลวงพระบาง(ลาว) สิบสองปันนา(จีน) ทั้งวัฒนธรรม ประเพณี และภาษา ทั้งหลายเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกันมาก ซึ่งตอบไม่ได้ว่าในอดีตพวกเราต่างเคยอยู่ตามเมืองเหล่านี้ ก่อนจะมาอยู่ที่ประเทศไทยในปัจจุบัน ท่านสามารถเดินทางค้นหาความเชื่อมโยงของเมืองเชียงราย และเมืองเหล่านี้ได้โดย เช่ารถตู้เชียงราย กับทีมงานไอเชียงราย สุภาพบริการด้วยใจครับ

:: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด ::
เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512)
แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

คลิ๊กดูแผนที่บจ.ไอเชียงราย เช่ารถตู้เชียงราย
















No comments:

Post a Comment