“พระ สิงห์” หมายถึงวัดที่เคยประดิษฐานพระสิงห์มาก่อน พระสิงห์เป็นนามพระพุทธรูปที่สำคัญซึ่งบ่งบอกถึงคติพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่าง ลังกาวงศ์ตรงกับ “พระพุทธสิหิงค์” อันเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่ทางภาคเหนือหรือล้านนาไทยมิได้เรียกว่าพระพุทธสิหิงค์ นิยมเรียกว่า “พระสิงห์” ท่านผู้รู้บางท่านพยายามคิดว่า พระสิงห์หมายถึง สิงหนวัติ กษัตริย์ผู้สร้างโยนกนคร
เมื่อเอ่ยถึงประวัติของเชียงราย จะต้องกล่าวถึงประวัติของเมืองเชียงแสนควบคู่กันไป เพราะในยุคที่ไทยกำลังหนีจีนมาตั้งนครหลวงอยู่ที่แคว้นเมาและหนองแสนั้น ถิ่นที่ตั้งของจังหวัดเชียงราย เป็นที่อยู่ของชาวป่าชาวเขาพวกหนึ่งที่เรียกว่า “ลัวะ” หรือ “ละวะ” หรือ “ละว้า” และชาวป่าพวกอื่น ๆ อยู่
ราวพุทธศตวรรษที่ 11 ขอมมีอำนาจมาถึงอาณาจักรโตรบูร และยกเข้ามาตีแคว้นยวนเชียงขับไล่ชาติไทยแล้วมาตั้งอาณาจักรขึ้นที่เชียงแสน เรียกว่า “สุวรรณโคมคำ” ที่ซากเมืองเชียงลาวใกล้ฝั่งโขงและสร้างเมือง “อุมงคเสลา” ที่ซากเมืองฝาง ต่อมาประมาณ พ.ศ.1300 ขุนใสฝา โอรสขุมบรม กษัตริย์ไทยครองนครหนองแส ได้สร้างเมืองใหม่ขึ้น บริเวณเมืองสุวรรณโคมคำที่ร้างอยู่ เจ้าสิงหนวัติกุมาร ได้อพยพคนไทยประมาณแสนครัวเรือนออกจากหนองแส (ตาลีฟู) ลงมาสร้างเมืองใหม่ขนานนามว่า “เมืองนาคพันธุ์สิงหนวัตินคร” หรือเมืองเชียงแสน
ปี พ.ศ.1802 พระเจ้าเม็งรายขึ้นครองราชสมบัติที่เมืองหิรัญนครเงินยาง ได้ทรงรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือและเสด็จตามช้างไปจนถึงดอยจอมทองริมแม่น้ำกก นที เห็นภูมิประเทศเป็นชัยภูมิที่ดี จึงได้สร้างพระนครไว้โดยก่อปราการโอบเอาดอยจอมทองไว้ในท่ามกลางเมือง แล้วขนานนามว่า “เมืองเชียงราย”DSCF1553
เมื่ออาณาจักรล้านนาตกเป็น ของพม่าในปี พ.ศ.2101 พม่าได้ให้ขุนนางมอญปกครองเมืองแทน เข้าสู่ยุคสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อาณาจักรล้านนาจึงกลับมาขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ได้ขับไล่พม่าออกจากเชียงแสนสำเร็จ พอถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้จัดระเบียบการปกครองใหม่ให้เชียงรายอยู่ในมณฑลพายัพ การปกครองเมืองเชียงรายจึงได้มีการจัดระบบการปกครองแบบการปกครองมณฑล เทศาภิบาล จัดให้มีการบูรณะบ้านเมืองโดยเฉพาะตัวเมืองเชียงราย หมอสอนศาสนาชื่อ นายแพทย์วิลเลี่ยม เจบริดส์ ได้ช่วยในการวางผังเมืองตามทฤษฏีผังเมืองสมัยใหม่ ภายหลังการปกครอง พ.ศ.2475 คณะราษฏร์ได้ยกเลิกระบบเทศาภิบาลให้หัวเมืองลานนาไทยมีฐานะเป็นจังหวัด และต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะ อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงรายขึ้นเป็นจังหวัด ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายได้แบ่งการปกครองเป็น 16 อำเภอกับ 2 กิ่ง ได้แก่ อ.เมือง อ.แม่ลาว อ.เวียงชัย อ.เชียงของ อ.เชียงแสน อ.เวียงแก่น อ.เทิง อ.แม่สาย อ.พญาเม็งราย อ.พาน อ.ป่าแดด อ.แม่จัน อ.ขุนตาล อ.แม่ฟ้าหลวง อ.เวียงป่าเป้า อ.แม่สรวย กิ่งอ.เชียงรุ้งและกิ่งอ.ดอยหลวงDSCF1586
สำหรับ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงรายนั้น ประวัติศาสตร์กล่าวว่าเคยเป็นที่พักทัพของกรมทหารกองทัพกรุงเทพ โดยการนำของนายพันเอกพระสุรกิจพิชิตไกล ซึ่งลุงหนานขัติได้จดจำเอากับผู้เฒ่าผู้แก่ว่า เจ้านายเชียงใหม่ได้จัดเอาเจ้านายนำราษฏรขึ้นมาพร้อมกับครูปวร ได้เอาพระสิงห์นำหน้ามาตั้งที่วัดพระสิงห์นี่ก่อน ตามตำนานกล่าวว่าวัดพระสิงห์จังหวัดเชียงรายแห่งนี้ เคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วิหารลายคำ วัดพระสิงห์จังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน โดยเจ้ามหาพรหมพระอนุชาพระเจ้ากือนา กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาจากเมืองกำแพงเพชร พระเจ้ากือนาได้โปรดฯให้ประดิษฐานไว้ที่เมืองเชียงใหม่ ต่อมาพระเจ้ามหาพรหม ทูลขอยืมพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานไว้ที่เมืองเชียงราย แต่หล่อจำลองเมื่อสิ้นบุญพระเจ้ากือนาและพระเจ้าเชียงแสนราชนัดดาของพระองค์ ได้เสด็จขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ พระเจ้ามหาพรหมคิดจะชิงราชสมบัติ จึงยกกองทัพจากเชียงรายไปประชิดเมืองเชียงใหม่ แต่เจ้าแสนเมืองมาก็สามารถป้องกันเมืองได้ อีกทั้งได้ยกทัพมาตีทัพของเจ้ามหาพรหมจนถึงเชียงราย และครั้งนี้เองที่ทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับคืนไปประดิษฐานอยู่ที่วัดพระ สิงห์เชียงใหม่สืบมา
เกี่ยวกับวัดพระสิงห์เชียงราย กล่าวว่า เดิมเป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ามหาพรหม พระอนุชาของพระเจ้ากือนาเจ้าเมืองเชียงใหม่ สินนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ.1928 หากพิจารณาคำว่า “พระสิงห์” หมายถึงวัดที่เคยประดิษฐานพระสิงห์มาก่อน พระสิงห์เป็นนามพระพุทธรูปที่สำคัญซึ่งบ่งบอกถึงคติพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่าง ลังกาวงศ์ตรงกับ “พระพุทธสิหิงค์” อันเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่ทางภาคเหนือหรือล้านนาไทยมิได้เรียกว่าพระพุทธสิหิงค์ นิยมเรียกว่า “พระสิงห์” ท่านผู้รู้บางท่านพยายามคิดว่า พระสิงห์หมายถึง สิงหนวัติ กษัตริย์ผู้สร้างโยนกนคร บางทีอธิบายว่า พระศากยสิงห์ คือพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า กระนั้นเท่าที่พิจารณากันโดยตลอดเห็นว่า พระสิงห์ ก็ดี พระพุทธสิหิงค์ ก็ดีย่อมจะพึงยุติกันได้ว่าเป็นพระนามของพระพุทธรูป อันบ่งถึงคติพระพุทธศาสนาอย่างลัทธิลังกาวงศ์ เพราะเท่าที่ปรากฏว่ามี “พระสิงห์” หรือ “พระพุทธสิหิงค์” นั้นแสดงให้เห็นว่าสถานที่เหล่านั้นได้มีพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่างลังกาวงศ์ แพร่หลายไปถึง ฉะนั้นควรถือว่าพระพุทธรูปที่เรียกพระนามอย่างนั้น เป็นสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนาเถรวาทอย่างลังกาวงศ์ในประเทศไทยก่อนศตวรรษ ที่ 20 ขึ้นไป.
เอกสารประกอบ
ประวัติเมืองเชียงราย โดยพระราชสิทธินายกเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย
เมื่อท่านเดินทางมาเชียงรายอย่าลืมใช้บริการ เช่ารถตู้เชียงราย และ เช่ารถตู้เชียงรายพร้อมคนขับ ทีมงานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th
คลิ๊กดูแผนที่บจ.ไอเชียงราย เช่ารถตู้เชียงราย
No comments:
Post a Comment