ฝีพายเรือยาวลำหนึ่งร่วม 50 คน กำลังฝึกซ้อมกันอย่างขะมักเขม้นเพื่อชิงชัยในงานประจำปี บุญทรงเฮือ
หรือ งานแข่งเรือที่ หลวงพระบาง ทุกปีในเดือน 9 ช่วงออกพรรษาสีสันแห่งคุ้งน้ำจะกลับมาที่ลำน้ำคาน
นอกไปจากแข่งเรือที่ผู้ชายเฝ้ารอยังมีประเพณีสำคัญประจำเดือน 9 บุญข้าวประดับดิน
แทบทุกวัน จันเพ็ง แก้วสุวัน
จะมีหน้าที่จ่ายตลาดแต่ก่อนหน้างานบุญข้าวประดับดิน 1 วัน
จะมีตลาดนัดพิเศษที่เรียกว่า โละหลาด ซึ่งแขวง หลวงพระบาง อนุญาตให้ชาวบ้านทั่วไป นำของมาขายได้ตามถนนสายหลักใจกลางเมือง
ของสำคัญที่ทุกครอบครัวต้องหาซื้อในวันนี้คือผลหมากรากไม้ในท้องถิ่น
เพื่อใส่ในห่อโป้ หรือ กรวยใบตองหัวใจสำคัญของงานบุญเดือน 9
ผลไม้หลากชนิด หมาก พลู และสิ่งของที่ปรารถนาที่จะส่งให้วิญญาณบรรพบุรุษรงมถึงสัมพเวสีวิญญาณเร่ร่อน
บรรจงวางในกรวยใบตองเรียกว่า ข้าวห่อโป้ เตรียมเพื่องานบุญสำคัญประจำเดือน 9
ในวันพรุ่งนี้ นอกจากข้าวห่อโป้สำหรับให้ทานแก่วิญญานไร้ญาติยังเตรียมข้าวต้มมัดเพื่อถวายพระ
แทบทุกครอบครัวชาวหลวงพระบางยามนี้จะคึกคักก่อนถึงงานบุญใหญ่ในรอบปี
ข้าวห่อโป้ถูกวางไว้ตามข้างทาง ริมรั้ว โคนต้นไม้ และอีกหลายแห่งก่อนรุ่งสางเพื่อให้วิญญาณเร่ร่อนที่ผ่านมาได้รับทานอย่างทั่วถึง
และจึงใส่บาตรอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
นี่เป็นที่มาของงานบุญห่อข้าวประดับดิน
บุญข้าวประดับดิน เป็น 1 ใน 22 คลอง 14
ประเพณีในวิถีวัฒนธรรมชาวลาวรวมถึงผู้คนบนที่ราบสูงของไทย หากแต่บุญเดือน 9
ของชาวแขวงหลวงพระบางจัดกันเป็นงานใหญ่ เป็นรองแต่งานบุญเดือน 5 หรือ งานสงกรานต์
ทุกแรม 14 ค่ำเดือน 9 ตามปฏิทินจันทรคติชาวเมืองจะพร้อมใจกันจัดงานบุญกลางพรรษาหน้าฝน
ไม่เพียงสืบสานวิถีบุญแต่ยังฝึกป็นผู้ให้ด้วยการทำทานอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงอย่างที่สุด
เป็นประเพณีแห่งการแบ่งปันที่ยังคงรักษาไว้อย่างเหนียวแน่น
และดำรงอยู่อย่างสอดคล้องกับศรัทธาในพระพุทธศาสนา
ฝีพายเรือนางแดงวัดแสนสุขารามวัย 14 ปีไปจนถึง 21 ปี
มารวมตัวกันกลางลานวัด ร่วมบวงสรวงก่อนลงแข่งขันวันนี้
แทบทั้งหมดคือนักดนตรีศิษย์แอน้อยซึ่งไม่เคยผ่านการแข่งเรือ
นานมาแล้วเรือแข่งวัดแสงเคยกำชัยสร้างชื่อเหนือลำน้ำคาน
และได้รับพระราชทานรางวัลจากเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา
เรือนางเขียวพักลำอย่างสงบบนคานเรือวัดแสนสุขารามมานานกว่า 10 ปีแล้ว
เหลือเพียงเรือนางแดงอายุกว่า 50 ปี ที่ยังชิงชัยกับเรือแข่งรุ่นใหม่ ซึ่งดัดแปลงให้มีรูปร่างเพรียวยาวน้ำหนักเบาเพื่อมีชัยในการแข่งขัน
กาลเวลาเปลี่ยนไปไม่เหลือฝีพายประจำวัดมีแต่อาสาสมัครที่เห็นคุณค่าของเรือพื้นบ้าน
ขบวนแห่หมากเด็งเดินเวียนรอบโบสถ์เรียกขวัญกำลังใจก่อนเชิญไปสวมที่หัวและท้ายเป็นสัญญานพร้อมแข่งขัน
นี่คือการลงชิงชัยในสนามประชันความเร็วทางน้ำครั้งแรกของเด็กหนุ่ม
เรือทุกลำมีนางเรือเชิญพานบายศรีเพื่อนำไปไหว้พญานาค
ผู้ปกปักรักษาคุ้งน้ำซึ่งใช้เป็นสนามแข่งขันที่ปากคานและผาบังสะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับนาค
15 ตนผู้รักษาเขตน้ำเมือง หลวงพระบาง
เรือนางดำ และเรือนางด่อนตัวแทนนาคที่เป็นหญิง คือเรือคู่แรกที่ลงแข่งขันตามธรรมเนียมบุญทรงเฮือหลวงพระบาง
แต่ทุกครั้งต้องให้เรือนางด่อนฝีพายชุดขาวมีชัยชนะ
เชื่อกันว่าเพื่อความอยู่ดีมีสุขของบ้านเมือง
และลำน้ำคานจะไม่ใช่ลำน้ำสำคัญเช่นแม่น้ำโขง
แต่สำหรับหลวงพระบางเมืองหลวงเก่าแก่แห่งแผ่นดินล้านช้าง ลำน้ำสายนี้ซึ่งไหลผ่านเมืองลงไปสู่แม่น้ำโขงตรงปากคาน
คือสายน้ำหลักหล่อเลี้ยงผู้คนที่นี่ ลำน้ำคานช่วงงานบุญเดือน 9 ขึ้นสูงและไหลนิ่งเหมาะอย่างยิ่งกับการแข่งเรือ
แขวงอื่นทั่วไปรวมถึงเมืองหลวงเวียงจันทร์นิยมจัดแข่งเรือในเดือน 11
ช่วงงานบุญออกพรรษามีเพียงหลวงพระบางเท่านั้น ที่จัดแข่งเรือเดือน 9 พร้อมงานบุญข้าวประดับดิน
ครั้งหนึ่งบุญทรงเฮือถือเป็นราชประเพณีที่เจ้ามหาชีวิตจะเสด็จมาทอดพระเนตรการแข่งเรือถึงริมน้ำ
วัดแต่ละแห่งจะมีคุ้มบ้านซึ่งจัดฝึกฝีพายชิงชัยในงานประเพณี
หากแต่วันนี้เหลือเรือยาวที่ลงแข่งขันในนามของคุ้มบ้าน และวัดน้อยลง หลายปีมานี้การแข่งเรือเปลี่ยนไปหลังองค์กรภาคธุรกิจและหลายหน่วยงานเข้ามาสนับสนุนสร้างทีมขึ้นมาใหม่
โดยจ้างฝีพายมือดีหรือคนภายนอกมาร่วมแข่งขันเน้นมุ่งหวังชัยชนะ
เรือนางแดงวัดแสนสุขารามพ่ายอีกครั้งในการชิงชัยความเร็วเหนือลำน้ำคาน
ไม่เพียงแต่ฝีพายเกือบทั้งหมดยังอายุน้อย และขาดประสบการหากแต่เรือโบราณรุ่นเก่าทรงหนาน้ำหนักดี
ที่สามารถใช้ในการรบไม่อาจสู้เรือที่มีการสร้างและคำนวนมาเพื่อวัตถุประสงค์ประลองความเร็วโดยเฉพาะ
เรือนางแดงพักลำเรือบนคานเคียงข้างเรือนางเขียวที่วัดแสนสุขารามอีกครั้ง
เป็นสัญญานสิ้นสุดของงานบุญสำคัญเดือน 9 ข้าวประดับดิน และบุญทรงเฮือ
อีกไม่นานจะถึงงานบุญครั้งใหม่ตามฮีตคองประเพณีลาวที่สืบรักษามาอย่างมั่นคงที่เมืองหลวงพระบาง
คลิ๊กดูแผนที่บจ.ไอเชียงราย เช่ารถตู้เชียงราย
คลิ๊กดูแผนที่
No comments:
Post a Comment