..
ในยุคของการสร้างบ้านแปงเมืองหรือยุคของการฟื้นฟูอาณาจักร
กําลังคนถือเป็นสิ่ง สําคัญมากต่อการทําศึกสงคราม การทําการเกษตร
เศรษฐกิจการค้า แรงงาน ทั้งยังเป็นการ
ส่งเสริมอํานาจของรัฐและความชอบธรรมของชนชั้นนํา ด้วยเหตุนี้กําลังคนมี
ความสําคัญมากกว่าพื้นที่หรืออาณาเขตของรัฐ
..
ปัญหาของผู้ครองรัฐหรืออาณาจักร สมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 24 คือ
การขาดแคลนกําลังคน และการควบคุมกําลังคนที่กระจัดกระจายอยู่
"การทําสงคราม" เป็นวิธีการเดียวที่จะได้คนมาเป็นจํานวนมาก
และจัดตั้งชุมชนบ้านเมืองโดยใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด เพราะเมื่อสงครามยุติลง
กองทัพผู้ชนะจะกวาดต้อนผู้คนของฝ่ายแพ้เสมอ หรือที่เรียกว่า “เทครัว”
.. การเคลื่อนตัวของชาวไทลื้อครั้งใหญ่จากสิบสองพันนามาสู่ดินแดนล้านนา สามารถแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลาด้วยกัน คือ
.. ช่วงที่ 1 ก่อนยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง
ระยะ
เวลาช่วงนี้มีหลักฐานที่พบการเคลื่อนย้ายของชาวไทลื้อ ในราวพุทธศตวรรษที่
20 ซึ่งตรงกับสมัยพญาสามฝั่งแกน ของล้านนา โดยเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณ
ต.ลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
..
ตํานานเมืองเชียงใหม่ได้บันทึกไว้ว่า พระชายาของพญา
ทั้งในระดับสูงและระดับไพร่
ผ่านความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างชาวไทลื้อสิบสองพันนากับ
ชาวไทยวนล้านนาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นในรัชสมัยของพญามังราย
หรือในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมา
ซึ่งเป็นเจ้านายที่สืบเชื้อสายมาจากสิบสองพันนา หรือแม้กระทั่งในสมัย
ของพระเจ้าติโลกราช ปรากฏในบันทึกว่าได้มีการอพยพเคลื่อนย้ายของ
ชาวไทลื้อเข้ามาอยู่บริเวณบ้านสะปุ๋ง อ.ป่าซาง จ.ลําพูน ในปัจจุบัน
ซึ่งเหตุการณ์ ดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างล้านนา
และสิบสองพันนาในสถานะของบ้านพี่
เมืองน้องที่มีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่มีต่อกันมานานมากกว่า 750 ปี
(มีต่อ ตอนหน้า)
อ้างอิงจาก...
1. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา.พิมพ์ครั้งที่ 4 .2551.หน้า 227.
2.
แสวง มาละแซม,ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคนยองย้ายแผ่นดิน
การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของชาวยองในเมืองลําพูน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
2540, หน้า 83.
เมื่อท่านเดินทางมาเชียงรายอย่าลืมใช้บริการ เช่ารถตู้เชียงราย และ เช่ารถตู้เชียงรายพร้อมคนขับ
ทีมงานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท
ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย
57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644
(ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141
อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th
No comments:
Post a Comment