Saturday, June 13, 2015

เรื่องเล่า ตำนานการสร้างเมืองเชียงตุง


เรื่องเล่า ตำนานการสร้างเมืองเชียงตุง

ประวัติในช่วงเริ่มแรกของเชียงตุงนั้นไม่ชัดเจน มีแต่ตำนานการสร้างเมืองว่า เมืองนี้เดิมชื่อเมืองประจันตคามหรือจัณฑคามไม่มีเจ้าเมืองปกครอง ฝูงกาได้คาบกรงไม้พาชายเลี้ยงวัวคนหนึ่งมาเป็นเจ้าเมือง ต่อมาชายคนนั้นลืมสัญญาที่ให้ไว้แก่กา กาจึงพาเขาไปทิ้งไว้ที่เกาะกลางทะเล ส่วนเมืองจัณฑคามถูกฝนตกหนักจนน้ำท่วมกลายเป็นหนองน้ำ มีฤาษีนามว่า ตุงคฤาษี เป็นบุตรพญาว้อง (จีน) แสดงอิทธิฤทธิ์ทำให้น้ำไหลออกจากเมือง เหลือเพียงหนองน้ำกลางเมืองขนาดใหญ่ เรียกว่า หนองตุง อันเป็นที่มาของชื่อ เชียงตุง (http://www.ichiangrai.co.th) และได้อพยพชาวจีนจากยูนนานมาอยู่ ต่อมาทนกับโรคภัยไข้เจ็บไม่ไหวจึงอพยพกลับไปหมด ทิ้งน้ำเต้าไว้กอหนึ่ง น้ำเต้านั้นแตกออกกลายเป็นคนซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวลัวะ ซึ่งได้อาศัยในบริเวณนั้นต่อมา

เมื่อจุลศักราช 791 (พ.ศ. 1772) พญามังรายได้เสด็จประพาสป่าและทรงไล่กวางทองมาจนถึงเมืองเชียงตุง พระองค์ทรงเล็งเห็นภูมิประเทศของเมืองเชียงตุง ก็พอพระทัยมาก จึงวินิจฉัยสั่งให้ข้าราชบริพารสลักรูปพรานจูงหมาพาไถ้แบกธนูไว้บนยอดดอยที่เห็นเมือง หลังจากนั้น พระองค์ก็เสด็จกลับมาเมืองเชียงรายแล้วทรงส่งกองทัพ มีแม่ทัพนามว่าขุนคง และ ขุนลัง ให้มาชิงเมืองเชียงตุง จากชาวลัวะแต่ก็ไม่สำเร็จ พระองค์จึงส่ง มังคุม และ มังเคียน ซึ่งเป็นชาวลัวะที่อาศัยอยู่กับพระองค์มารบอีกครั้ง ปรากฏว่าก็ได้ชัยชนะ พญามังรายจึงมอบให้ มังคุม และ มังเคียน ปกครองเมืองเชียงตุง (http://www.ichiangrai.co.th) ภายหลังเมื่อมังคุม มังเคียนสิ้นชีวิต พญามังรายจึงส่ง เจ้าน้ำท่วม ผู้เป็นราชบุตรไปปกครองเมืองเชียงตุงเมื่อ พ.ศ. 1786 เชียงตุงจึงเป็นเมือง "ลูกช้างหางเมือง" หรือ "เมืองลูกหลวง" ขึ้นกับอาณาจักรล้านนา



ตามหลักฐานทั้งหลาย ได้ระบุไว้ว่าเมืองเชียงตุงมีเจ้าฟ้าปกครองอยู่ 33 พระองค์ พระองค์สุดท้ายคือ "เจ้าจายหลวง" จากหนังสือ "ตำนานมังราย เชียงใหม่ เชียงตุง"

เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง

ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

Saturday, April 25, 2015

เปิดตัว น้ำตกผาลาด แหล่งท่องเที่ยวใหม่ รับสงกรานต์-หน้าร้อน


เปิดตัว น้ำตกผาลาด แหล่งท่องเที่ยวใหม่ รับสงกรานต์-หน้าร้อนนายอำเภอเชียงแสน พร้อม อปท.ร่วมเปิดตัว น้ำตกผาลาด แหล่งท่องเที่ยวใหม่ รับสงกรานต์-หน้าร้อน

นายพินิจ แก้วจิตคงทอง นายอำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย (http://www.ichiangrai.co.th) เป็นประธานในพิธีเปิดสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ คือ “น้ำตกผาลาด” บ้านป่าตึง ม.5 ต.บ้านแซว ที่ชาวบ้านในพื้นที่รู้จักกันมานาน แต่ถูกปล่อยปละละเลยทำให้มีสภาพเป็นป่ารกทึบ โดยมีนายคำ สุปัญโญ นายกเทศมนตรีตำบลบ้านแซว นำประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าร่วม
      
นายคำกล่าวว่า ทางเทศบาลฯ ได้เข้ามาปรับปรุงภูมิทัศน์ สร้างจุดถ่ายรูปไม้ไผ่ ซ่อมแซมห้องน้ำและระบบไฟฟ้า จัดทำป้ายเตือน และจัดให้มีพื้นที่ค้าขาย ให้ชาวบ้านในพื้นที่นำอาหารมาจำหน่ายเพื่อรองรับประชาชนและนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเดินทางมาเล่นน้ำกันจำนวนมากในฤดูร้อนนี้ รวมไปถึงในช่วงสงกรานต์ที่จะมาถึง
 
นอกจากนี้ ทางเทศบาลฯ ยังได้จัดเจ้าหน้าที่อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน เจ้าหน้าที่ตำรวจ ช่วยอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวด้วย
      
นายพินิจกล่าวว่า น้ำตกผาลาดมีความสวยงามและคงความเป็นธรรมชาติสูง ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 17 กิโลเมตร สามารถเดินทางเข้าถึงได้โดยสะดวก ซึ่งต้องชื่นชมผู้นำท้องถิ่นที่รู้จักนำเอาสิ่งที่มีอยู่แล้วดังเช่นน้ำตกแห่งนี้มาปรับปรุงสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น ส่วนนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาเที่ยวน้ำตกแห่งใหม่ได้นี้ โดยเฉพาะในฤดูร้อนและเทศกาลสงกรานต์ปีนี้
    
เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

Tuesday, March 31, 2015

ภาคเหนือ

ภาคเหนือเป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งในอดีต เป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ ที่มีศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ และการที่คนเหนือมีเชื้อสายไทยใหญ่ หน้าตา ผิวพรรณ จึงต่างไปจากคนภาคอื่น ๆ ประกอบกับความอ่อนหวาน ซื่อ บริสุทธิ์ ทำให้คนเหนือมีเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของตนเอง

นอกจากนี้ การมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทำให้เกิดธรรมชาติที่สวยงาม มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ และยังเป็นที่อยู่ของคนไทยภูเขาหลายเผ่าพันธุ์ ภาคเหนือจึงยังเป็นที่รวมของวัฒนธรรมที่หลากหลาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่งดงามเหล่านี้ได้สืบทอดกันมานานแสนนาน ภาคเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นคล้ายต่างประเทศ ไม้เมืองหนาวต่าง ๆ พันธุ์ ถูกนำมาทดลองปลูก และได้กลายเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรภาคเหนือเป็นอันมาก แต่ถึงจะสามารถปลูกพืช ผัก เมืองหนาวได้ แต่อาหารดั้งเดิมของภาคเหนือ ก็ยังใช้พืชตามป่าเขา และพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ มาใช้ในการปรุงอาหารเป็นส่วนใหญ่

โก๊ะข้าว หรือขันโตก จะทำด้วยไม้รูปทรงกลม มีขาสูงพอดีที่จะนั่งร่วมวง และหยิบอาหารได้สะดวก ชาวบ้านภาคเหนือจะจัดอาหารใส่ถ้วยแล้ววางบนโก๊ะข้าว หรือบางบ้านอาจใช้ใส่กระด้งแทน การเก็บอาหารที่เหลือ เพื่อให้พ้นมด แมลง ที่จะมาไต่ตอม ก็จะใส่กระบุง แล้วผูกเชือก แขวนไว้ในครัว เมื่อต้องการจะรับประทานก็ชักเชือกลงมา ในครัวทั่ว ๆ ไปจะมีราวไว้แขวน หอม กระเทียม

คนภาคเหนือจะรับประทานข้าวเหนียวกันเป็นอาหารหลัก ส่วนกับข้าวก็หาเอาตามท้องทุ่ง และลำน้ำ ทั้งกบ เขียด อึ่งอ่าง ปู ปลา หอย แมงยูน จีกุ่ง ( จิ้งหรีดชนิดหนึ่ง ) ไก่ หมู และเนื้อ อาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานจะได้จากส่วนผสมที่นำมาทำอาหาร เช่น ความหวานจากผัก จากปลา จากมะเขือส้ม เป็นต้น การทำอาหารก็มักจะให้สุกมาก ๆ เช่นผัดก็จะผัดจนผักนุ่ม ผักต้มก็ต้มจนนุ่ม อาหารส่วนใหญ่จะใช้ผัดกับน้ำมัน แม้แต่ตำขนุน ( ยำขนุน ) เมื่อตำเสร็จก็ต้องนำมาผัดอีกจึงจะรับประทาน ในปัจจุบันนี้ เนื้อสัตว์ที่นิยมนำมาทำอาหารจะเป็น หมู ไก่ เนื้อ และปลาตามลำดับ ปลาที่ใช้ในปัจจุบันมีทั้งปลาเลี้ยง และปลาที่จับจากแม่น้ำลำคลอง

เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

ฟ้อนแง้น


ฟ้อนแง้น
คำว่า "แง้น" หมายถึง แอ่น โค้ง หรืองอไปด้านหลัง การฟ้อนรำแล้วแอ่นลำตัวไปด้านหลังเรียกว่า "ฟ้อนแง้น"

การฟ้อนแง้นเป็นที่นิยมกันในหมู่ช่างขับซอหญิงโดยเฉพาะช่างขับซอในเขตจังหวัดน่าน แพร่ ลำปาง พะเยาและเชียงราย (http://www.ichiangrai.co.th)

รูปแบบการฟ้อนและการแต่งกาย
การฟ้อนชนิด นี้ ไม่มีรูปแบบหรือกฎเกณฑ์ใด ๆ เพียงแต่ฟ้อนให้สวยงาม แล้วแสดงความสามารถในการทรงตัวและความยืดหยุ่นของร่างกาย โดยการฟ้อนแล้วค่อย ๆ หงายลำตัวไปด้านหลังจนศีรษะถึงพื้น ผู้ชมที่ชื่นชอบก็จะวางธนบัตรให้ผู้ฟ้อนแสดงความสามารถอ่อนตัวลงคาบธนบัตร ด้วยความชื่นชม ส่วนการแต่งกายนั้นก็มิได้มีรูปแบบบังคับ แต่งตามปกติสำหรับการไปขับซอตามความเหมาะสม


ดนตรีที่ใช้ประกอบ
เนื่องจากการขับซอแบบเมืองน่าน ใช้เครื่องดนตรีเฉพาะเครื่องดีดและสีประกอบ การฟ้อนจึงอาศัยทำนองที่บรรเลงจากซึงและสะล้อเท่านั้น สำหรับจังหวะคงเป็นไปตามจังหวะของเพลงซึ่งไม่ใช้เครื่องประกอบจังหวะแต่ ประการใด

โอกาสที่แสดง
ช่างขับซอหรือ "ช่างซอ" จะฟ้อนในช่วงพักในการขับเป็นระยะ เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศและเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานคนอื่นได้พักผ่อนเป็นช่วง ๆ ไป

วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ในการฟ้อนนอกจากจะเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศแล้ว ยังเป็นการแสดงเพื่อสร้างความหลากหลายความเป็นสุนทรียรสแก่ผู้บริโภค อีกทั้งยังสร้างรายได้ให้กับคณะ นอกเหนือจากค่าสมนาคุณจากเจ้าภาพอีกด้วย ปัจจุบันการฟ้อนแง้นถูกนำมาแสดงในงานต่าง ๆ ในฐานะการแสดงประเภทฟ้อนรำ ซึ่งมีปรากฏให้เห็นโดยทั่วไป

 เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

Monday, March 30, 2015

ประเพณีปั้นกบ และ ประเพณีการตีกลองมังคละ

ข้าพเจ้ามีโอกาสได้พูดคุยกับผู้สูงอายุชาวเชียงตุงคนหนึ่ง จึงทราบมาว่า ในเมืองเชียงตุงมี ประเพณีปั้นกบ และ ประเพณีการตีกลองมังคละ ซึ่ง เป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานของบรรพบุรุษเพื่อต้อนรับเข้าสู่เทศกาลวันสงกรานต์ หรือ วันขึ้นปีใหม่ของชาวเชียงตุง (http://www.ichiangrai.co.th) ซึ่งท่านได้เล่าประวัติความเป็นมาอย่างคร่าว ๆ ให้พวกข้าพเจ้าได้ฟังว่า เมื่อปี พ.. 1771 นครเชียงตุงเกิดความแห้งแล้ง ประชาชนล้มตายเพราะอดข้าวอดน้ำ พญาแก้วมธุ เจ้าปกครองเมืองเชียงตุงในสมัยนั้น จึงเรียกหมอดูดวงชะตา ชื่อ อุตตมะ มาดูดวงเมือง จึงแนะน้าว่า ชาวเชียงตุง ต้องช่วยกันปั้นดินเป็นรูปกบคาบพระจันทร์หนึ่งดวง ถ้าถึงวันสงกรานต์ ให้ก่อเจดีย์ทรายที่ฝั่งแม่น้ำเขิน ซึ่งอยู่ทางด้านเหนือของเมืองเชียงตุงแล้วให้ขุนสงกรานต์ขี่ม้า พร้อมด้วยขบวนตีกลองมังคละเดินไปจนถึงแม่น้ำเขิน ที่ปั้นรูปกบและก่อเจดีย์ทรายไว้ เพื่อไปปล่อยรูปปั้นกบให้ไหลลงไปตามแม่น้ำเขิน หลังจากประกอบพิธีกรรมนี้ ฝนก็เทลงมาอย่างอัศจรรย์ ไร่นาชุ่มชื่น กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้งดังนั้น เมื่อถึงวันสงกรานต์ชาวเมืองเชียงตุงก็จะท้าพิธีดังกล่าวเรื่อยมาจนทุกวันนี้

พิธีตีกลองมังคละ ถูกจัดขึ้นที่บริเวณลานพิธีประจ่าเมือง (ตั้งอยู่กลางเมืองตรงข้ามกับหอบรรจุอัฐิของบรรดาเจ้าฟ้า) พิธีดังกล่าวถือเป็นการต้อนรับวันสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึงในวันรุ่งขึ้น คนตีกลองจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันตีกลองตั้งแต่ช่วงบ่ายก่อนวันงาน โดยขบวนแห่กลองจะเคลื่อนตัวไปถึงแม่น้ำเขินในช่วงบ่ายในวันรุ่งขึ้น เรียกง่าย ๆว่า ตีกันแบบข้ามวันข้ามคืนเลยทีเดียว เมื่อใกล้ถึงเวลาชาวเชียงตุง (http://www.ichiangrai.co.th) ที่แต่งกายด้วยชุดพื้นเมือง ก็เริ่มทยอยเดินทางเข้ามาร่วมพิธีด้วยหน้าตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างความประทับใจให้กับข้าพเจ้าเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันหาดูได้ยากเหลือเกินในบ้านเมืองของเรา

 เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

งานปอยหลวง

“ ปอยหลวง ” คืองานฉลองที่ยิ่งใหญ่ของคนทางภาคเหนือ “ ปอย ” มาจากคำว่า ปเวณี หมายถึง งานฉลองรื่นเริงหรืองานเทศกาลที่จัดขึ้นคำว่า “ หลวง ” หมายถึง ยิ่งใหญ่

ประเพณีปอยหลวงมัก จัดขึ้นช่วงเดือน ๕ จนถึงเดือน ๗ เหนือ ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน หรือ เดือนพฤษภาคมของทุกปี“ ปอยหลวง ” เป็นการฉลองถาวรวัตถุ

ของวัด หรือสิ่งก่อสร้างที่ประชาชนช่วยกันทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะ ประเพณีงานปอยหลวงเป็นการทำบุญเพื่อเฉลิมฉลองศาสนสมบัติต่าง ๆ เพื่อให้เกิดอานิสงส์แก่ตน


และครอบครัว ถือว่าได้ บุญกุศลแรง นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องแสดงถึงความสามัคคีกลมเกลียวของคณะสงฆ์และชาวบ้าน นอกจากการฉลองที่ยิ่งใหญ่แล้วการทำบุญปอยหลวงนิยม

ทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้พ่อแม่ปู่ย่าตายาย หรือญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ได้จากการทำบุญงานปอยหลวงก็คือการแสดงความชื่นชม ยินดีร่วมกันเพื่อความ


สนุกสนานเพลิดเพลินให้แก่คนในท้องถิ่นโดยการจัดมหรสพสมโภชเพราะนานหลายปีถึง จะได้มีโอกาสได้จัดงานประเพณีปอยหลวง


เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

Tuesday, March 17, 2015

ไทเขิน หรือไทขืน แห่งเชียงตุง




เชียงตุงเมืองเล็กๆในรัฐฉาน ประเทศเมียนมาร์  ปัจจุบันมีอายุเก่าแก่ราว 800 ปี เดิมชนพื้นเมืองบริเวณนี้เป็นชาวลั๊ว แต่ต่อมาชนเชื้อสายไตได้เข้ามาอยู่อาศัยเรียกว่า ไตขืน หรือ ไตเขิน เหตุที่เรียกว่าไตขืน หรือ ไตเขิน เพราะอาศัยอยู่ลุ่มแม่น้ำขืน ขืนแปลว่า ฝืน เพราะแม่น้ำสายนี้ไหลย้อนขึ้นเหนือ ผ่านเชียงตุง (http://www.ichiangrai.co.th) ก่อนจะไหลลงใต้ลงสู่แม่น้ำโขง ผิดจากแม่น้ำสายอื่นที่ส่วนใหญ่ไหลลงสู่ทิศใต้ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเชียงตุงนอกจากมีชาวไทเขินแล้วยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เช่น ไทใหญ่ ไทเหนือ พม่า อาข่า ลั๊ว เป็นต้น 

ในอดีตเมืองเชียงตุงเป็นรัฐอิสระ มีเอกราชปกครองโดยเจ้าฟ้าสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ มีความสัมพันทางเครือญาติกับเมืองต่างๆเชื้อสายไตด้วยกัน โดยเฉพาะเชียงใหม่ ระบบเจ้าฟ้าได้ถูกยกเลิกไปโดยรัฐบาลพม่าในช่วงปี 2446 - 2519 ชาวไทเขินมีตัวอักษร ภาษาเขียน และภาษาพูดเป็นของตัวเอง มีความใกล้เคียงกับภาษาล้านนามากที่สุด

ชาวไทเขินในเชียงตุงนับถือพุธศาสนา ซึ่งรุ่งเรืองมาหลายร้อยปี เด็กชายบวชเณรพออายุครบก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุ นอกจากให้ลูกหลานได้เล่าเรียนแล้ว ก็ให้ลูกหลานเรียนหนังสือด้วย พระสงฆ์นอกจากจะสอนพระพุธศาสนายังสอนภาษาไทเขิน วัดในเชียงตุงจึงมีบทบาทในการสืบสานอัตลักษณ์ และวิถีชีวิตของชาวไทเขินให้สืบเนื่องกันมา

ความโดดเด่นหรืออัตลักษณ์ของทางด้านวัฒนธรรมของชาวไทเขิน คือเป็นช่างฝีมือชั้นสูงชาวไทขืนได้ผลิตภาชนะสำหรับใส่ของที่ทำจากไม้ไผ่เคลือบยางรัก หรือชาติ จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วไปตามชื่อของชาวไทเขินว่า เครื่องเขิน คนทั่วไปจะพบเห็นเครื่องเขินในฐานะของงานฝีมือที่เป็นของที่ระลึกของฝากจากเชียงใหม่ แต่ถึงกระนั้นเครื่องเขินของเชียงตุง (http://www.ichiangrai.co.th) กับเชียงใหม่ ก็มีลักษณะที่แตกต่างกัน

เครื่องเขินของเชียงตุงมีการใช้ยางรักมาปั้นคลึงเป็นเส้นเล็กๆขดเป็นลาย หรือปั้นเป็นรูปร่างต่างก่อนจะลงรักปิดทองประดับ สันนิษฐานว่า ชาวเขินบางส่วนได้มาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองเชียงใหม่นับแต่สมัยพญามังราย ความสัมพันของทั้งสองเมืองผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้น ทั้งในระดับเจ้าฟ้า และสามัญชน 
             
ในช่วงสมัยราชวงค์มังราย ได้ส่งเครือญาติไปครองเมืองเชียงตุงในหลายครา แต่ด้วยเชียงตุงเป็นเมืองเล็กจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของล้านนา และพม่า อาจเป็นไปได้ว่าในสมัยพระเจ้าบุเรงนองแห่งพม่า ได้เข้ามาตีเมืองเชียงใหม่และกวาดต้อนช่างฝีมือเชียงใหม่รวมถึงช่างเครื่องเขินไปให้พม่าด้วย ชาวพม่าจึงเรียกเครื่องเขินว่า ยวนเถ่ หรือเครื่องใช้ของชาวยวน

ในสมัยพระเจ้ากาวิละได้ขับไล่พม่าออกจากล้านนา ช่วงนั้นเชียงใหม่กลายเป็นเมืองร้าง ชาวบ้านหนีภัยสงครามออกจากเมือง จึงได้ยกทัพไปทำสงครามเพื่อกวาดต้อนไพร่พลจากเมืองต่างๆ มาอยู่และสร้างเมืองเชียงใหม่ ซึ่งรวมทั้งชาวไทเขินด้วยที่มีความสามารถทางด้านช่าง ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านนันธารามชุมชนประตูเชียงใหม่ ถนนวัวลาย ตำบลหายา อำเภอเมือง ส่วนกลุ่มชาวไทเขินที่เป็นผู้ติดตามมาได้กระจายออกไปตั้งบ้านเรือนตามแหล่งพื้นที่ต่างในเชียงใหม่ ปัจจุบันอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอสันกำแพง อำเภอแม่อร อำเภอสันป่าตองเป็นต้น 

ไทเขินเชียงใหม่แม้จะจากดินแดนต้นกำเนิดมากว่า 200 ปี แต่ยังคงสืบสานวิถีไทเขิน และสำนึกถึงความผูกพันกับไทเขินเชียงตุงตลอดมา ในขณะที่ไทเขินในเชียงตุง (http://www.ichiangrai.co.th) ยังสืบสานอัตลักษณ์ของตนไว้ได้อย่างมั่นคงสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทเขินจนถึงทุกวันนี้

 เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง

ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th