Wednesday, February 11, 2015

เชียงตุง หรือ เขมรัฐตุงคบุรี



เชียงตุง หรือ เขมรัฐตุงคบุรี อันหมายถึง รัฐที่มีความเกษมสำราญ ซึ่งมีประวัติอันยาวนาน ในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของล้านนา ร่วมสมัยกับเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แพร่ และน่าน  ดังนั้นเชียงตุงก็ไม่แตกต่างจากเมืองอื่นๆ ที่กล่าวของล้านนา  คือ เจ้านายในราชสำนักเชียงตุงเป็นชนชั้นปกครอง ซึ่งเป็นเจ้านายที่สืบทอดมาครั้งยังแต่พญามังราย หรือ พ่อขุนมังราย กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ แห่งเวียงพิงค์เชียงใหม่ จนกระทั่งถึงช่วงรัตนะดกสินทร์ตอนต้น ขณะนั้นมีเจ้าฟ้าจายสาม เป็นมืองเชียงตุง และเป็นยุคเดียวกับที่ล้านนาได้เริ่มนโยบาย เก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง  เจ้าหลวงกาวิละ เมืองเชียงใหม่ได้ตีเชียงตุง บัญชาให้ให้ลูกเจ้าฟ้าชายสาม เชียงตุง ทั้งหมด 8 คน  ประกอบด้วย

1.เจ้ากระหม่อม
2 เจ้าแสนเมือง
3.เจ้ากองไต
4.เจ้าดวงทิพย์
5.เจ้ามหาพรหม
6.เจ้านางศรีแก้ว
7.เจ้านางคำแดง
8.เจ้านางงอ (สนมกษัตริย์พม่า) 

มาตั้งหลักปักฐานยังเชียงใหม่ ในบรรดาพี่น้องทั้งหมดมีเพียงเจ้ามหาขนาน (เจ้าดวงแสง) น้องชายคนสุดท้อง ไม่ยอมลงมาเชียงใหม่ไปรวบรวมผู้คนชาวไทลื้อจากเมืองเชียงแข็งซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเมืองน่านมาฟื้นฟูเชียงตุง และเป็นยกเจ้ามหาขนานเป็นเจ้าเมืองเชียงตุง เรียกว่า เจ้าฟ้าหลวงเขมรัฐมหาสิงหะบวรสุธรรมราชาธิราชกล่าวถึงเจ้ามหาขนาน (เจ้าดวงแสง) ผู้เป็นเจ้าหอคำเชียงตุงมีบุตร 7คน ลูกคนที่ 7 ชื่อเจ้าฟ้าโชติกองไท (เกิดจากเทวีเชียงแข็งจึงเป็นเจ้าฟ้าเชียงแข็ง) ได้ครองเชียงตุงสืบต่อจากพี่ชายคนโต คือ เจ้าหนานมหาพรหม ต่อมาเจ้าฟ้าโชติกองไทมีลูก 6 คน ลูกคนที่ 4 คือเจ้าฟ้าก๋องคำฟู ได้เป็นเจ้าหอคำเชียงตุงสมัยอังกฤษเข้ามาปกครองพม่า ครองเชียงตุงได้ 9 ปีก็พิราลัย ลูกคนที่ 5 ของเจ้าฟ้าโชติกองไท เกิดแม่เจ้านางสุวรรณนา คือ เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง ขึ้นเป็นเจ้าหอคำเชียงตุงสืบแทนเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง หรือ เจ้าอินแถลง (พ.ศ. 2417-2477) ซึ่งอยู่รวมสมัยกับรัชกาลที่ 5 ของไทย ปกครองเชียงตุงไม่ให้กลายเป็นเมืองอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ แต่หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์  เชียงตุงก็ตกไปอยู่ภายใต้อำนาจของอังกฤษ

จนกระทั้งในสมัยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ส่งกำลังทหารเข้าไปยึดเมืองเชียงตุง และเมืองพาน จากอังกฤษ ที่เคยเป็นของชาวสยาม โดยมีความช่วยเหลือ จากญี่ปุ่นมีข้ออ้างว่ามีประวัติ และ เชื้อชาติที่เหมือนกัน นอกจากนั้น กองทัพไทยยังเข้าไปโจมตีและปกครอง เมืองตองยี และ สิบสองปันนาอีกด้วย แต่ไทยก็มิได้ปกครองโดยตรง ญี่ปุ่นช่วยให้บริเวณเมืองเชียงตุง และ เมืองพานมาร่วมเข้ากับประเทศไทย รวมทั้งหมดนี้ทำให้จัดตั้งเป็น สหรัฐไทยเดิม แต่ก็อยู่ได้เพียงแค่ 3 ปี ก็ต้องคืนกลับให้แก่อังกฤษเหมือนเดิม เพราะว่าญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามสำหรับเจ้านายของเชียงตุงที่กล่าวมาได้รังสรรค์สิ่งปลูกสร้างตามแบบฉบับเชียงตุง คือ หอ หรือ คุ้ม (ล้านนา) หรือ วัง (สยาม) โดยเฉพาะในสมัยของเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง หอในเชียงตุงเป็นจำนวนมาก เช่น หอหลวง (สำหรับเป็นที่ประทับของเจ้าฟ้าเชียงตุง และรับแขกบ้านแขกเมือง) หอเชียงเหล็ก (สร้างขึ้นสำหรับเป็นที่ประทับของมหาเทวี) หอนางฟ้า (สำหรับนางฟ้า หรือ สนมของเจ้าฟ้าเชียงตุง) หอใหม่ และหอเจียงจันทร์ เป็นต้น (แหล่งข้อมูล : อาจารย์สมโชติ อ่องสกุล) ล้วนแล้วมีกลิ่นอายของการผสมวัฒนธรรมระหว่าง เชียงตุง พม่า อินเดีย และตะวันตก

 เช่ารถตู้เชียงราย,ทัวร์สิบสองปันนา,ทัวร์เชียงตุง-เมืองลา,ทัวร์หลวงพระบาง
ทีม งานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

No comments:

Post a Comment