Saturday, January 31, 2015

เจดีย์ชเวซิกอง แห่งเมืองพุกามหรือบากัน ประเทศพม่า

เจดีย์ชเวซิกอง แห่งเมืองพุกามหรือบากัน ประเทศพม่า
เป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้า สร้างโดยพระเจ้าอโรรธามหาราชพระองค์แรก ผู้รวบรวมชนชาติพม่าเป็นปึกแผ่นได้เป็นครั้งแรกในอาณาจักรพุกามเมื่อ 900 ปีเศษมาแล้ว ภายหลังทรงยกทัพไปตีมอญที่อาณาจักรสุธรรมวดี ได้แล้วทรงกวาดต้อนชาวมอญ ตลอดจนช่างฝีมือ นักปราชญ์ และ ราชบัณฑิตมาที่เมืองพุกาม ทำให้พม่าได้รับอิทธิพงศิลปวัฒนธรรมจากมอญมาโดยไม่รู้ตัว ดังเช่น รูปร่างของเจดีย์ชเวซิกอง ก็มีรูปทรงระฆังคว่ำแบบมอญ ก่อนที่จะมีพุทธศิลป์ สกุลช่างพุกามเกิดขึ้น "ชเวซิกอง" แปลว่า "เจดีย์ที่ตั้งอยู่บนพื้นทราย"



พระเจดีย์ซิกองเป็นที่บรรจุพระธาตุสำคัญ ๓ ส่วน คือ พระเขี้ยวแก้ว ที่กษัตริย์แห่งศรีลังกาได้นำมาถวาย พระธาตุกระดูกไหล่ ที่นำมาจากเมืองศรีเกษตร (ใกล้เมืองแปร) และพระธาตุพระนลาฏ (หน้าผาก)



เจดีย์ชเวซิกองเมืองพุกาม
พระมหาเจดีย์ที่สำคัญเป็นอันดับสองรองจาก ชเวดากอง ในกรุงย่างกุ้ง นั่นคือ.. "พระเจดีย์ชเวสิกอง" แห่ง พุกาม













เมื่อท่านเดินทางมาเชียงรายอย่าลืมใช้บริการ เช่ารถตู้เชียงราย และ เช่ารถตู้เชียงรายพร้อมคนขับ ทีมงานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง

พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง
เจดีย์ชเวดากองพระมหาธาตุเจดีย์ชเวดา กอง ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า เชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าจำนวน 8 เส้น
หนังสือ Guinness Book of Records ได้จัดให้พระเจดีย์ชเวดากองเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในโลก

มหาเจดีย์ ชเวดากอง เที่ย
สร้างไว้เมื่อปีค.ศ. 1778 หล่อด้วยปัญจโลหะ คือทอง เงิน ทองแดง ตะกั่วและสังกะสี สูง 8 ฟุต หนัก 23 ตัน ในปี ค.ศ. 1824 พม่าได้ทำสงครามกับอังกฤษเป็นครั้งแรกและอังกฤษได้ยึดเจดีย์ชเวดากองได้และ ได้ขนทรัพย์สินแก้วแหวนเงินทองไปหลายอย่าง รวมทั้งได้คิดที่จะขนย้ายระฆังใบนี้กลับไปอังกฤษด้วย แต่ระหว่างการเดินทางเรือที่ขนระฆังจมลงที่แม่น้ำย่างกุ้ง ต่อมาพม่าจึงทำการกู้ระฆังใบนี้ด้วยตนเองและนำมาติดตั้งไว้ที่เจดีย์ชเวดา กองได้เช่นเดิม ซึ่งเป็นที่ภาคภูมิใจของประชาชนพม่าโดยทั่วไปมาจนทุกวันนี้ นอกจากนั้นก็ยังมีพระพุทธรูปสลักจากหยกทั้งก้อน ซึ่งได้มาจากรัฐคะฉิ่นในปีค.ศ. 1999 ในโอกาสที่ได้สร้างฉัตรใหม่ และยังมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งได้นำเมล็ดมาปลูกจากพุทธคยาเมื่อ 79 ปีก่อน และของมีค่าอื่น ๆ อีกมากมาย



การสักการะพระเจดีย์
ทางเข้าพระเจดีย์ชเวดากองมีทั้ง 4 ทิศ แต่ทางเข้าใหญ่คือทางทิศใต้ซึ่งมีสิงห์นั่งสองตัวสูง 30 เมตรเฝ้าทางเข้าอยู่ เมื่อเข้าไปถึงที่ทำการของคณะกรรมการบริหารชเวดากอง ก็จะได้รับการเชื้อเชิญให้เข้าไปในห้องเพื่อถอดรองเท้าแล้วผู้แทนคณะกรรมการ เจดีย์ฯซึ่งจะทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ก็จะนำไปขึ้นลิฟต์ซึ่งจะขึ้นถึงลาน ใหญ่ของพระเจดีย์เลย ขณะที่ประชาชนต้องขึ้นบันไดเลื่อนไกลหน่อย เมื่อขึ้นไปถึงลาน มัคคุเทศก์ก็จะนำไปที่ศาลาเพื่อจุดธูปเทียนไหว้พระ ถวายดอก ไม้และจตุปัจจัยบำรุงเจดีย์ แล้วเซ็นหนังสือในสมุดเยี่ยม หลังจาก นั้นก็เดินพาไปดูของหรือสถานที่สำคัญต่าง ๆ รอบลาน ซึ่งจะมีวิหารใหญ่ 4 เจดีย์ชเวดากอง ตอนกลางคืนทิศ ซึ่งประดิษฐานพระพุทธรูปของพระพุทธเจ้าที่มีมาแล้วทั้ง 4 พระองค์คือ พระกักกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสปะ และพระโคตมะองค์ปัจจุบันให้ประชาชนได้กราบไหว้ทำบุญด้วยรวมถึงการไปตีระฆัง สิงคุที่เล่ามาแล้วด้วย 3 ครั้ง

นอกจากนั้นก็มีการหยุดที่ลานอธิษฐานซึ่งเชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และเท่าที่ทราบก็เคยมีคนใหญ่คนโตของไทยไปตั้งจิตอธิษฐานจนประสบความสำเร็จมา หลายท่านแล้ว และก็ยังมีอีกจุดหนึ่งบนลานซึ่งเขาทำจุดให้ยืนไว้ซึ่งจะทำให้มองเห็นประกาย เพชรบนยอดฉัตรได้ด้วยตาเปล่า ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือจะมีพระพุทธรูปและสัตว์สัญลักษณ์ประจำวันเกิด ตั้งอยู่รอบ ๆ ลานเป็นคู่ ๆ ด้วย โดยเชื่อกันว่าการสรงน้ำพระพุทธรูปและสัตว์เหล่านี้ จะสร้างความบริสุทธิ์และความสุขความเจริญแก่ผู้สรงน้ำ โดยจะรดน้ำด้วยขันเล็ก ๆ ที่มีจัดเตรียมไว้ให้เป็นจำนวนเท่าอายุ +1 แต่สำหรับ คนแก่ ๆ ที่อายุ 60-70 ไปแล้วก็อาจจะย่นย่อลง เหลือ 5 ขันก็ได้ ซึ่งหมายถึงพระรัตนะไตรรวมกับบิดามารดานั่นเอง สัตว์ประจำวันเกิดของพม่าคือ



วันอาทิตย์ - ครุฑ อยู่ที่ทิศตะวันออกเฉียง เหนือของลานเจดีย์

วันจันทร์ - เสือ อยู่ทิศตะวันออก

วันอังคาร - สิงห์ อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้

วันพุธ (เช้า) - ช้างงา อยู่ทิศใต้

วันพุธ(กลางคืน) - ช้างไม่มีงา อยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

วันพฤหัสบดี - หนู อยู่ทิศตะวันตก

วันศุกร์ - หนูตะเภา (บางคนเชื่อว่าเป็น กระต่ายหูสั้น) อยู่ทิศเหนือ

วันเสาร์ - พญานาค อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้

มหาเจดีย์ ชเวดากอง เที่ย
ที่ จริงแล้วยังมีทางขึ้นไปชั้นบนของพระเจดีย์ได้อีกและมีเจดีย์เล็ก ๆ ล้อมรอบบนชั้นต่าง ๆ ถึง 150 องค์ด้วยกัน แต่ทางขึ้นชั้นบนจะเปิดเฉพาะในวันสำคัญจริง ๆ เท่านั้น และจะอนุญาตเฉพาะผู้ชายที่กรรมการวัดเห็นชอบเท่านั้น มีข้อควรเตือนอีกประการหนึ่งสำหรับผู้ที่ประสงค์จะไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดา กองก็คือ เนื่องจากทุกคนที่ขึ้นไปจะต้องถอดรองเท้า จึงควรจะไปในเวลาไม่เช้า ๆ ก็เย็น ๆ บ่ายคล้อยแล้ว เพราะพื้นลานล้วนเป็นหินอ่อนและกระเบื้องซึ่งจะร้อนจัดมากทีเดียวในขณะที่มี แดด นอกจากนั้นพระเจดีย์ชเวดากองก็ยังเปิดจนถึง 4 ทุ่มด้วย จะอย่างไรก็ตามถึงแม้ท่านจะต้องขึ้นไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดากองในตอนเที่ยง วัน ก็ยังคุ้มค่าเพราะจะได้เห็นสิ่งที่สวยงามมากมายและที่สำคัญก็คือยังได้อิ่ม บุญอีกด้วย.

เมื่อท่านเดินทางมาเชียงรายอย่าลืมใช้บริการ เช่ารถตู้เชียงราย และ เช่ารถตู้เชียงรายพร้อมคนขับ ทีมงานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

Friday, January 30, 2015

อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก จังหวัดเชียงราย

อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอแม่จันอำเภอ เมืองอำเภอแม่สรวย และอำเภอมาลาว จังหวัดเชียงราย โดยได้รวมพื้นที่วนอุทยาน 4 แห่ง ได้แก่ วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ วนอุทยานน้ำตกห้วยแก้ว-บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม และวนอุทยานน้ำตกโป่งพระบาท มีพื้นที่ประมาณ พื้นที่ประมาณ 458,110 ไร่หรือ 732.98 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศของอุทยานแห่งชาติลำน้ำกก มีลักษณะเป็นภูเขาสูงชันสลับกับที่ราบแคบๆ บริเวณหุบเขาเป็นหย่อมเล็กๆ ตอนเหนือและตอนใต้ของพื้นที่ เป็นที่สูงลาดต่ำลงมาตอนกลางจะเป็นที่ราบลุ่มน้ำสลับกับร่องเขามีระดับความสูงตั้งแต่ 500-1,720 เมตรจากระดับน้ำทะเล มียอดดอยช้างเป็นดอยที่สูงที่สุด ซึ่งมีความสูงประมาณ 1,720 เมตรจากระดับน้ำทะเล



พื้นที่จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ในเขตมรสุมได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงฤดูฝนและมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาวแบ่งเป็น 3 ฤดูอย่างชัดเจน คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคมอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 38 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มตั่งแต่เดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 – 2543 เฉลี่ยประมาณ 1,629 มิลลิเมตรต่อปี และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์เดือนธันวาคม เป็นเดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุด เฉลี่ยประมาณ 5 องศาเซลเซียส ส่วนยอดดอยมีหมอกตลอดฤดูหนาว

สถานที่ท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติลำน้ำกก



น้ำตกโป่งพระบาท อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายไปทางทิศเหนือตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 110 (เชียงราย-แม่จัน) ระยะทาง 14 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีลักษณะแก่งหินธารน้ำใสฟูขาวสะอาด ภายใต้สภาพอากาศอันร่มรื่น สถานที่โดยรอบประกอบด้วยพรรณไม้สวยงาม เหมาะสำหรับเป็นสถานที่พักผ่อนและเที่ยวชมความงามทางธรรมชาติ




น้ำตกห้วยแม่ซ้าย เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำน้ำห้วยแม่ซ้าย ที่มีน้ำไหลในปริมาณที่สม่ำเสมอตลอดปี น้ำตกแห่งนี้มี 2 ชั้น มีความสูงประมาณ 15 เมตรและ 20 เมตร ตามลำดับแต่ละชั้นมีความสวยงามแตกต่างกันไป และสามารถสัมผัสได้กับทัศนียภาพ และความร่มรื่นของธรรมชาติโดยรอบของน้ำตกได้อีกในบรรยากาศหนึ่ง



น้ำตกห้วยก้างปลา ตั้งอยู่ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ลก,3 (น้ำตกห้วยก้างปลา) บ้านห้วยก้างปลาหมู่ 15ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ตัวน้ำตกมีความสูงประมาณ 20 เมตร สภาพโดยรอบเป็นป่าสนซึ่งสภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพ น้ำตกห้วยก้างปลา ห่างจากอำเภอแม่จันประมาณ 11กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยรถยนต์โดยสาร หรือรถส่วนบุคคลอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงบ้านลั๊วพัฒนาแล้วเลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงบ้านห้วยก้างปลา แล้วเดินทางด้วยเท้าอีกประมาณ 800 เมตร ก็จะถึงน้ำตกห้วยก้างปลา



น้ำตกขุนกรณ์ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย ประมาณ 34 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีธารน้ำที่ใสสะอาดไหลตลอดปี โดยที่ปราศจากตะกอนหินปูนมีความสูงกว่า 70เมตร เส้นทางเดินขึ้นสู่น้ำตกขุนกรณ์มีโขดหิน และแก่งต่างๆ ซึ่งมีความสวยงามรายรอบไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด สภาพป่าโดยรอบมีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีบรรยากาศร่มรื่นเหมาะสำหรับการพักหย่อนใจ

น้ำตกห้วยแก้ว อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 25 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันตกตามถนนสายเชียงราย-สี่แยกบ้านเด่นห้า เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำน้ำห้วยแก้วไหลลงสู่ห้วยโป่งน้ำร้อน และไหลลงสู่แม่น้ำกกตัวน้ำตกมีทั้งหมด 3 ชั้น แต่ละชั้นมีความสวยงามแตกต่างกันออกไปชั้นที่ 1 มีความสูงประมาณ 30 เมตร ชั้นที่ 2 เป็นชั้นที่สูงที่สุดคือประมาณ 40 เมตร และชั้นที่ 3 มีความสูงประมาณ 10 เมตร พื้นที่โดยรอบมีพรรณไม้นานาชนิด ที่หายากและแปลกตานกนานาชนิด ที่ส่งเสียงร้องเรียกให้เข้าไปค้นหาและสัมผัสน้ำไหลตลอดปี

ล่องแพลำน้ำกก ล่องแพลำน้ำกกเป็นแม่น้ำที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเชียงรายที่ไหลทอดยาวไปตามพื้นที่ราบเชิงเขาจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกโดยมีจุดเริ่มต้นจากบ้านท่าตอนตำบลท่าตอนอำเภอแม่อายจังหวัดเชียงรายไหลผ่านตัวเมืองเชียงรายแล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงรายมีระยะทางจากตำบลท่าตอนถึงอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ 80 กิโลเมตร



บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 20 กิโลเมตรบ่อน้ำร้อนแห่งนี้เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติที่เกิดจากความร้อนใต้พิภพที่มีน้ำร้อนผุดขึ้นมาตลอดเวลาเป็นที่นิยมนำไข่ไปแช่ใช้เวลานานประมาณ 30 นาทีไข่จะมีรสชาติมันและอร่อยกว่าไข่ต้มธรรมดาและบริเวณโดยรอบมีทิวทัศน์ที่สวยงามของแม่น้ำกกมีสถานที่กางเต็นท์พักแรมสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการค้างแรม

ที่ตั้ง อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก ต.ดอยฮาง  อ. เมืองเชียงราย  จ. เชียงราย   57000 โทรศัพท์ 0 5360 9238,0 53167142   อีเมล reserve@dnp.go.th

การเดินทางรถยนต์ จากจังหวัดเชียงรายไปตามถนนเชียงราย – สี่แยกบ้านเด่นห้าผ่านหน้าค่ายเม็งรายมหาราชเข้าสู่ตำบลดอยฮางจนถึงบ้านผาเสริฐระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตรแล้วเดินทางต่อไปยังที่ทำการอุทยานแห่งชาติบริเวณห้วยหมากเลี่ยมอีก 1.5 กิโลเมตรหรือจะล่องมาตามลำน้ำกกด้วยเรือหางยาวหรือแพจากสะพานลำน้ำกกในตัวเมืองเชียงรายถึงบริเวณห้วยหมากเลี่ยมประมาณ 20 กิโลเมตร

เมื่อท่านเดินทางมาเชียงรายอย่าลืมใช้บริการ เช่ารถตู้เชียงราย และ เช่ารถตู้เชียงรายพร้อมคนขับ ทีมงานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

Tuesday, January 27, 2015

"การเคลื่อนตัวของไทลื้อเข้าสู่ดินแดนล้านนา" **ตอนที่ 3

 การอพยพ ช่วงที่ 2 ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง
.. ยุคสมัยนี้ถือเป็น ยุคของการอพยพกวาดต้อนผู้คนชาวไทลื้อที่มีจํานวนมากที่สุดเข้ามาสู่ ดินแดนล้านนา อันเนื่องมาจากล้านนาที่กำลังฟื้นตัวจากภาวะศึกสงครามและขาดแคลนกําลังคน จึงถือโอกาสจากการไปทําศึกสงครามแล้วกวาดต้อนผู้คนเข้าสู่ล้านนา โดยการนําของพระเจ้ากาวิละ กษัตริย์องค์แรกของราชวงค์เจ้าเจ็ดตนแห่งล้านนา(พ.ศ.2325-2358)และพระยา อุปราชธรรมลังกา ออกไปโจมตีเมืองเล็กเมืองน้อยในรัฐฉานและแคว้นสิบสองพันนาเพื่อช่วงชิงเอา กําลังคนเหล่านี้มาไว้ที่เชียงใหม่ ลําพูน ลําปางนับตั้งแต่ระยะเวลาแรกที่ได้เริ่มขับไล่ทหารพม่าออกจากล้านนาจน กระทั้งพม่าหมดอํานาจลงในอาณาเขตของล้านนาแห่งสุดท้ายที่เชียงแสนใน พ.ศ.2347

.. ในเขตล้านนาตะวันออกในยุคนั้น เมืองน่าน เมืองแพร่ก็มีบทบาท เช่นกัน โดยเฉพาะเมืองน่านเมื่อเข้าสวามิภักดิ์กับสยามก็ได้พยายามสร้างผลงานใน ลักษณะแข่งขันกับเมืองเชียงใหม่ เมืองน่านทุ่มเทช่วยทำศึกสงครามขับไล่พม่าออกจากเชียงแสน พ.ศ. 2347 และทําความชอบโดยกวาดต้อนชาวลื้อสิบสองพันนา เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองน่าน และได้ทําการกวาดต้อนมาเรื่อยๆหลายครั้ง จนมาถึงสงครามเชียงตุงในสมัยพระเจ้าสุริยพงศ์ผริตเดช ในขณะเดียวกันทางสิบสองพันนาก็มีปัญหาภายในด้านการแย่งชิงอํานาจกันเอง แล้วเข้ามาขอความช่วยเหลือจากกษัตริย์สยาม จึงได้สั่งกองทัพใหญ่เข้าไปยึดเมืองเชียงตุงและในสงครามครั้งนี้ เมืองน่านก็ได้กวาดต้อนผู้คนในสิบสองพันนาเข้ามาอีก

ช่วงที่ 3 หลังยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง
.. ในยุคหลังนี้ พบว่ามีชาวไทลื้อเคลื่อนตัวเข้ามาสู่ดินแดนล้านนา แต่ไม่มากเหมือนในยุคที่สอง ในยุคหลังนี้ชาวไทลื้อส่วนใหญ่จะมาจากการเดินทางเข้ามาเป็นกลุ่มเล็กๆ ในลักษณะ “น้ําซึมบ่อทราย” และเข้ามาเพิ่มมากขึ้นหลัง พ.ศ. 2500 ในยุคที่จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองและเกิดการปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่ กล่าวคือ เป็นการอพยพเข้ามาเป็นกลุ่มเล็กๆ ที่ผ่านเข้ามาตามรอยต่อของชายแดน เช่น แม่สาย เชียงแสน เทิง เชียงคํา น่าน เป็นต้น

.. การอพยพครั้งหลังนั้นเกิดขึ้นจาก ปัจจัยทางด้านการค้าขายและการเสาะแสวงหาที่ทํากิน การติดตามญาติพี่น้องที่มาอยู่ก่อนแล้ว และหลบหลีกภัยสงคราม บางส่วนก็หนีติดตามจีนคณะชาติ ซึ่งเดินทางผ่านดอย ในอําเภอเชียงคํา แล้วไปน่าน และ เพื่อเดินทางออกไปสมทบกับทหารจีนคณะชาติที่เมืองเชียงฮ่อน ราชอาณาจักลาว

.. ช่วงหลัง พ.ศ. 2500 ชาวไทลื้อที่อพยพเข้ามาจากประเทศข้างเคียงเป็นคนลื้อ ที่หลบลี้หนีภัยคอมมิวนิสต์เข้ามาอาศัยประเทศไทย หลักฐานจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ชาวไทลื้อที่อพยพเข้ามาในช่วงระยะเวลาดังกล่าว มักจะขอความเห็นใจจากทางราชการให้ได้อยู่ต่อในเมืองไทยก่อน เมื่อเหตุการณ์สงบก็จะกลับออกไป และชาวไทลื้อที่หนีมาถ้าหากไม่ได้ถูกทางการ ไทยจับได้ ก็จะตั้งรกรากอาศัยอยู่ถาวรในประเทศไทยเลย

เอกสารอ้างอิง
1. ฟอลเกอร์ กราบอฟสกี้, เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง, การจัดประชุมทางวิชาการไทศึกษา:การเสวนาครั้งที่ 2, สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2536, หน้า 2.
2. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา.กรุงเทพ.อัมรินทร์, 2551.หน้า 322.
3, รัตนาพร เศรษฐกุล. ชาวไทลื้อในจังหวัดน่าน .เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยพายัพ, 2536
4. หจช.มท3.1.2.15/31เรื่องเหตุการณ์ชายแดน.2504.
5. หจช. มท 3.1.71/18 บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่อพยพมาจากประเทศข้างเคียง คนเชื้อชาติลื้อ.2504.

เมื่อท่านเดินทางมาเชียงรายอย่าลืมใช้บริการ เช่ารถตู้เชียงราย และ เช่ารถตู้เชียงรายพร้อมคนขับ ทีมงานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

Friday, January 23, 2015

"การเคลื่อนตัวของไทลื้อเข้าสู่ดินแดนล้านนา" **ตอนที่ 2

.. ในยุคของการสร้างบ้านแปงเมืองหรือยุคของการฟื้นฟูอาณาจักร กําลังคนถือเป็นสิ่ง สําคัญมากต่อการทําศึกสงคราม การทําการเกษตร เศรษฐกิจการค้า แรงงาน ทั้งยังเป็นการ ส่งเสริมอํานาจของรัฐและความชอบธรรมของชนชั้นนํา ด้วยเหตุนี้กําลังคนมี ความสําคัญมากกว่าพื้นที่หรืออาณาเขตของรัฐ

.. ปัญหาของผู้ครองรัฐหรืออาณาจักร สมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 24 คือ การขาดแคลนกําลังคน และการควบคุมกําลังคนที่กระจัดกระจายอยู่ "การทําสงคราม" เป็นวิธีการเดียวที่จะได้คนมาเป็นจํานวนมาก และจัดตั้งชุมชนบ้านเมืองโดยใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด เพราะเมื่อสงครามยุติลง กองทัพผู้ชนะจะกวาดต้อนผู้คนของฝ่ายแพ้เสมอ หรือที่เรียกว่า “เทครัว”

.. การเคลื่อนตัวของชาวไทลื้อครั้งใหญ่จากสิบสองพันนามาสู่ดินแดนล้านนา สามารถแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลาด้วยกัน คือ

.. ช่วงที่ 1 ก่อนยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง
ระยะ เวลาช่วงนี้มีหลักฐานที่พบการเคลื่อนย้ายของชาวไทลื้อ ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งตรงกับสมัยพญาสามฝั่งแกน ของล้านนา โดยเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณ ต.ลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

.. ตํานานเมืองเชียงใหม่ได้บันทึกไว้ว่า พระชายาของพญา ทั้งในระดับสูงและระดับไพร่ ผ่านความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างชาวไทลื้อสิบสองพันนากับ ชาวไทยวนล้านนาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นในรัชสมัยของพญามังราย หรือในสมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ซึ่งเป็นเจ้านายที่สืบเชื้อสายมาจากสิบสองพันนา หรือแม้กระทั่งในสมัย ของพระเจ้าติโลกราช ปรากฏในบันทึกว่าได้มีการอพยพเคลื่อนย้ายของ ชาวไทลื้อเข้ามาอยู่บริเวณบ้านสะปุ๋ง อ.ป่าซาง จ.ลําพูน ในปัจจุบัน ซึ่งเหตุการณ์ ดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างล้านนา และสิบสองพันนาในสถานะของบ้านพี่ เมืองน้องที่มีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่มีต่อกันมานานมากกว่า 750 ปี

(มีต่อ ตอนหน้า)
อ้างอิงจาก...
1. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา.พิมพ์ครั้งที่ 4 .2551.หน้า 227.
2. แสวง มาละแซม,ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคนยองย้ายแผ่นดิน การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของชาวยองในเมืองลําพูน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2540, หน้า 83.

เมื่อท่านเดินทางมาเชียงรายอย่าลืมใช้บริการ เช่ารถตู้เชียงราย และ เช่ารถตู้เชียงรายพร้อมคนขับ ทีมงานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th

Wednesday, January 21, 2015

"การเคลื่อนตัวของไทลื้อเข้าสู่ดินแดนล้านนา" **ตอนที่ 1

.. ไม่ว่าจะในยุคสมัยไหนก็ตาม ปัจจัยทางการเมืองเป็น เหตุผลสําคัญ ที่ทําให้เกิดการเคลื่อนย้ายกลุ่มชาวไทลื้อเข้าสู่ดินแดนล้านนามากที่สุด และเข้ามาใน หลายช่วงเวลาด้วยกัน

.. เนื่องจากสถานะภาพทางการเมืองของสิบสองพันนา ซึ่งเป็นรัฐชายขอบที่มีความอ่อนไหว และความที่เป็นเมืองชายขอบของรัฐขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในอาณาเขตอํานาจของ ล้านนา พม่า และจีน เมื่อรัฐใดมีความเข้มแข็ง สิบสองพันนาก็จะยอมรับอํานาจของรัฐนั้นๆ จึงมีสถานะเป็นรัฐ 2 ฝ่ายฟ้า บางช่วงก็เป็นรัฐ 3 ฝ่ายฟ้า ส่งผลให้เมืองสิบสองพันนาต้องพยายามรักษาความสัมพันธ์กับรัฐขนาดใหญ่เอาไว้ และในขณะเดียวกันเมื่อรัฐใดอ่อนแอ สิบสองพันนาก็จะตั้งตนเองเป็นรัฐอิสระจากรัฐนั้น

.. ในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ สิบสองพันนาและล้านนานั้น มี ความสัมพันธ์อันดีต่อกันมาเป็นเวลานาน   ตั้งแต่สมัยพญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งล้านนา พระองค์ก็มีพระราชมารดาเป็นธิดาของกษัตริย์สิบสองพันนา

.. วัฒนธรรมไทลื้อ(สิบสองพันนา) มีความใกล้ชิดกับวัฒนธรรมไทยวน(ล้านนา) มากกว่าไทเผ่าอื่นๆ ทั้งด้านภาษา อักษรศาสตร์ ความเชื่อทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ตลอดจนความเชื่อดั้งเดิมนั้นมีความคล้ายคลึงกันมาก ทําให้คนไททั้งสองกลุ่มดังกล่าว สามารถปรับตัวเข้ากันได้ง่าย

.. ในช่วงปลายยุคที่พม่าปกครองล้านนา พม่ากวาดต้อนชาวล้านนาไปพม่าเป็นจำนวนมาก เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน หลายเมืองกลายเป็นเมืองร้าง เมื่อล้านนาขาดแคลนกําลังคน ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงเทครัวไทลื้อเข้ามาไว้เป็นไพร่พลเมืองอย่างมาก
(**มีต่อ ตอนหน้า)

เมื่อท่านเดินทางมาเชียงรายอย่าลืมใช้บริการ เช่ารถตู้เชียงราย และ เช่ารถตู้เชียงรายพร้อมคนขับ ทีมงานไอเชียงราย คนท้องถิ่นเชียงราย สุภาพ ใจบริการเกินร้อย :: บริษัท ไอเชียงราย จำกัด :: เลข ที่ 185/8 หมู่ 4 ต. ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100 สายด่วนจองทัวร์ (หนุ่ย) 081-8854644 (ใบอนุญาตนำเที่ยวในและต่างประเทศเลขที่ 21-00512) แฟกซ์: 053-152141 อีเมล์: booking@ichiangrai.com เวบไซต์: http://www.ichiangrai.co.th


ภาพประจำตัวสมาชิก
ichiangrai
 
โพสต์: 101
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ต.ค. 15, 2014 8:15 am